เอ็มเทค สานต่อการประกวดEcoDesign 2009 ชวนเหล่านักประดิษฐ์ กระตุ้นต่อมความคิด “ลดโลกร้อน” ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ข่าวทั่วไป Thursday February 19, 2009 07:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ก.พ.--เอ็มเทค เครือข่ายการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจไทย (TGDN) ภายใต้การดูแลของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยการสนับสนุนของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) สำนักนายกรัฐมนตรี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ BSC แถลงข่าวเปิดเวทีค้นหานักประดิษฐ์ กระตุ้นต่อมความคิดลดโลกร้อน ในโครงการ ประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “ลดโลกร้อนด้วยการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ” (Reduce Global Warming with EcoDesign) ณ ห้องประชุมใหญ่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พระราม 6 มุ่งกระตุ้นสำนึกคนไทยช่วยกันแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่เพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมของมนุษย์ โดยเปิดรับความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ลดโลกร้อน ทั้งระดับนักเรียน นักศึกษา นักออกแบบภาคอุตสาหกรรม และประชาชนผู้ที่สนใจ ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล และรางวัลอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 300,000 บาท เริ่มตั้งแต่วันนี้ ถึง 3 เมษายน 2552 ดร. คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย นายรัชดา สิงคาลวณิช อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และ ผศ.ดร.กฤษฎา สุชีวะ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) เปิดงาน และนำเสนอตัวอย่างความคิดสร้างสรรค์การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจในรูปแบบของนิทรรศการและวีดีทัศน์ พร้อมไฮไลท์ของงานการพูดคุยกับ นายกงพัฒน์ ศักดาพิทักษ์ เจ้าของผลงานรวมเล่ม IDEA CAN DO และหนึ่งในผู้จัดรายการ “สหเฮ็ด”และ ดร. กิตตินันท์ อันนานนท์ หัวหน้าโครงการ ถึงแนวคิดการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจ รวมทั้งอธิบายถึงรูปแบบ กติกาการตัดสิน ดร. คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ประจำปี 2552 ครั้งนี้ เป็นโครงการที่สำคัญในการกระตุ้นจิตสำนึกให้กับคนไทยทั่วประเทศถึงปัญหาโลกร้อนที่นับวันจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วยพฤติกรรมของมนุษย์เอง ดังนั้น เราทุกคนจึงมีภารกิจที่สำคัญที่ต้องร่วมมือกัน หยุดปัญหาโลกร้อน ร่วมกับนานาประเทศ สำหรับผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ นับเป็นบุคคลากรที่สำคัญในการนำเสนอแนวคิดหลากหลายตามประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป โดยนำมาประยุกต์ให้เข้ากับความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่จริง บวกกับความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาแนวคิดที่ส่งผลต่อเทคโนโลยีในอนาคต และสร้างความก้าวหน้าในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยต่อๆ ไป ทางด้าน นายรัชดา สิงคาลวณิช อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้สนับสนุนโครงการกล่าวว่า ปัจจุบันการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Economic & Ecological Design; EcoDesign or Green Design) เป็นแนวทางในการจัดการเชิงรุกในการแก้ปัญหาโลกร้อน ดังเห็นได้จาก หน่วยงาน องค์กร บริษัท และผู้ประกอบทั่วโลก ต่างหันมาให้ความสนใจในการออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ มุ่งเน้นการลดของเสีย ยืดระยะเวลาการใช้งาน ลดปริมาณการเกิดมลภาวะในการผลิต และเพิ่มปริมาณการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียที่ตามมาภายหลังตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ดังนั้น EcoDesignมีความสำคัญอย่างยิ่งในแง่ของการค้าและการส่งออกในสังคมโลก ณ ขณะนี้ ซึ่งการประกวดฯ นี้ นับเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาแนวคิด ในการต่อยอดของการพัฒนาต่อวงการอุตสาหกรรมไทยอย่างยิ่ง ผศ.ดร.กฤษฎา สุชีวะ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) กล่าวถึงรายละเอียดของการจัดโครงการฯ ดังกล่าวว่า โครงการ EcoDesign 2009 การประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “ลดโลกร้อนด้วยการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ” (Reduce Global Warming with EcoDesign) เป็นกิจกรรมภายใต้เครือข่ายการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจไทย (TGDN) ของศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเอ็มเทค ร่วมกับ กระทรวงอุตสาหกรรมโดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชนหลายแห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมแก่ทุกภาคส่วนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือที่เรียกการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง เพื่อเป็นการส่งเสริมการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับในปีนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจ ลงทะเบียนอบรม เรื่องพื้นฐานการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ฟรี ทางระบบ e-learning ซึ่งจะเป็นการให้ความรู้ในวงกว้าง ผ่านทางเวปไซต์ www.mtec.or.th/ecodesign2009 ประเภทของผู้สมัครและหัวข้อผลงานที่ส่งเข้าประกวด ประเภทที่ 1 นักเรียนระดับมัธยมต้น / ปลาย หรือเทียบเท่า ประเภทที่ 2 นิสิต / นักศึกษาระดับอนุปริญญา ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประเภทที่ 3 นักออกแบบอิสระ ประชาชนทั่วไปที่สนใจ ประเภทที่ 4 ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม บริษัทต่างๆ ซึ่งมีที่ตั้งในประเทศไทย อนึ่ง ผู้สมัครสามารถส่งเข้าร่วมแข่งขันทั้งแบบเดี่ยว หรือแบบทีมก็ได้ โดยไม่เกินทีมละ 3 คน สำหรับนักเรียนและนิสิต/นักศึกษาต้องส่งในนามสถาบันฯ ผู้สนใจสามารถสมัครผ่านทางเวบไซต์ http://www.mtec.or.th/EcoDesign2009 ส่งข้อเสนอผลงาน (concept paper) เริ่มตั้งแต่วันนี้จนถึง 3 เมษายน 2552 ผู้เข้าประกวดสามารถสามารถลงทะเบียนและเข้ารับการอบรมและศึกษาด้วยตนเองผ่านทางwww.mtec.or.th/ecodesign2009 เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการประกวด ผ่านระบบออนไลน์ E-Learning ระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นไป ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบที่ 1 ทางเวปไซต์ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 เข้ารับการอบรมครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12-15 พฤษภาคม 2552 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ปทุมธานี (ติดกับมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต) นำเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ วันที่ 20 มิถุนายน 2552 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ปทุมธานี ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบที่ 2 ทางเวบไซต์ในวันที่ 23 มิถุนายน 2552 และจัดส่งต้นแบบระหว่างวันที่ 21-24 กรกฎาคม 2552 ณ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ โดยจะมีพิธีตัดสิน ประกาศผล และมอบรางวัล (รอบชิงชนะเลิศ) ในวันที่ 6 สิงหาคม 2552 ณ สยามเซ็นเตอร์ชั้น 1 สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ งานประชาสัมพันธ์และนิทรรศการ ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์ ประชาสัมพันธ์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ โทร 02-5646500 ต่อ 4519 มือถือ 081-6229608 อีเมลล์ prmtec@mtec.or.th หรือ ที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์โครงการ วารุณี อภิรักษ์สุขุมาล (วา) โทร 08 1867 7789 ยุวดี มุ่งเจริญ (ยุดี) โทร 08 1259 0515 อภิสรา ธรรมวิไชย (หญิง) โทร 08 7829 3922 Email: pr.ecodesign@gmail.com warunee เบอร์โทรศัพท์ : 0818677789

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ