โครงการจัดสร้างพระพุทธรูปพุทธลักษณะพระศาสดา เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ข่าวทั่วไป Friday February 20, 2009 10:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ก.พ.--อิมเมจ อิมแพค โครงการจัดสร้างพระพุทธรูปพุทธลักษณะพระศาสดา เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บันทึกหน้าใหม่ทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาโลก เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ.2550 องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเป็นแบบอย่างพุทธมามกะ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมในการปกครองแผ่นดิน ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกในฝ่ายฆราวาส เป็นลำดับที่หนึ่ง และทรงมีคุณูปการต่อองค์การ พ.ส.ล. นับแต่เริ่มก่อตั้ง ด้วยเหตุนี้องค์การ พ.ส.ล. จึงร่วมกับองค์กรเครือข่ายศูนย์ภาคี วัดบวรนิเวศวิหาร และ พุทธศาสนิกชน จัดสร้างพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย พุทธลักษณะพระศาสดา หล่อด้วยโลหะปิดทอง ขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว 19 องค์ เพื่อทูลเกล้าฯถวายและขอพระราชทานเพื่ออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัด และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาในประเทศสมาชิกที่สำคัญขององค์การ พ.ส.ล. จำนวน 19 ประเทศ และพระพุทธรูปบูชา ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว 5 นิ้ว และ 3 นิ้ว กับเหรียญ และพระผง เพื่อมอบให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์สร้างพระพุทธรูปดังกล่าว นายพัลลภ ไทยอารี เลขาธิการกิตติมศักดิ์ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) เปิดเผยว่า องค์การ พ.ส.ล. ได้รับอนุญาตให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ประดับบนผ้าทิพย์พระพุทธรูปประดับนอีกด้านหนึ่งของเหรียญและพระผง และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จไปทางเททองหล่อพระพุทธรูปดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ณ วัดบวรนิเวศน์วิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในการนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกได้ประทานพระบรมสารีริกธาตุ เพื่ออัญเชิญไปบรรจุในพระเศียรของพระพุทธรูป และประทานผงวัตถุมงคล เพื่อจัดสร้างพระผง ส่วนพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธรปนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธาน ในพิธีมหาพุทธภิเษกพระพุทธรูปดังกล่าว ตามคำกราบบังคมทูลเชิญขององค์การ พ.ส.ล. ในวันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ.2552 ที่ผ่านมา เวลา 16.00 นาฬิกา ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาดาราม ในพระบรมมหาราชวัง สำหรับประวัติพระศาสดา นั้นเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย สร้างในคราวเดียวกับพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ สมัยกรุงสุโขทัยระหว่างปีพุทธศักราช 1500 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระศาสดาเป็นพระพุทธรูปที่อยู่ที่พระอารามหลวงมาแต่โบราณ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อปีพุทธศักราช 2396 ต่อมาได้ทรงพระราชดำริว่า พระศาสดาและพระพุทธชินสีห์ เคยประดิษฐานอยู่ในพระอารมเดียวกันที่เมืองพิษณุโลก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นในวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วอัญเชิญพระศาสดาจากวัดสุทัศฯเทพวรารามไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารนั้นเมื่อปีพุทธศักราช 2406 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างพระศาสดาดังกล่าว เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ.2550 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเป็นแบบอย่างพุทธมามกะ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมในการปกครองแผ่นดิน ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่นับถือพระพุทธศาสนาและทรงครองราชย์อยู่ยาวนานที่สุดของโลกนับถึงปัจจุบัน ทรงใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาในการปกครองประเทศ และเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศ เพื่อให้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ให้ชนรุ่นต่อไปได้จดจำและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตลอดไป องค์การ พ.ส.ล. จึงได้สร้างพระพุทธรูปดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระศาสดา ทั้ง 19 องค์ ไปประดิษฐ์ฐาน ณ วัด และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ในประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกที่สำคัญขององค์การ พ.ส.ล. จำนวน 19 ประเทศ คือ สาธารณัฐเกาหลี สาธาณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย มาเลเซีย ศรีลังกา อินเดีย บังคลาเทศ สหภาพพม่า ราชอาณาจักรภูฎาน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณประชาชนจีน และประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ สร้างความสัมพันธ์นานาประเทศและเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อันยาวนานสืบไปในภายภาคหน้า ในการนี้ องค์การ พ.ส.ล. ได้เชิญชวนให้องค์กรต่างๆ และพุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ร่วมกันบริจาคปัจจัยสร้างพระศาสดาในครั้งนี้ รายได้ที่ได้รับจากการร่วมบริจาค เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดสร้างพระพุทธรูปฯ แล้ว จะนำไปเพื่อ 1. จัดพิมพ์หนังสือ เรื่อง ทศพิธราชธรรม ราชธรรมจริยาวัตร และธรรมะในพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงใช้ในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งบรรดาผู้ปกครองประเทศและสามัญชนทั่วไป ย่อมนำมาประพฤติปฏิบัติได้ โดยจะจัดพิมพ์เป็นฉบับภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และฝรั่งเศส เป็นต้น เพื่อให้ชาวโฃกได้รับรู้ถึงพระจริยาวัตรและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ทั้งยังเป็นการเผยแพร่หลักธรรมความรู้ในพระพุทธศาสนา อันเป็นภารกิจหลักขององค์การ พ.ส.ล. และเพื่อเป็นประโยชน์อันสูงยิ่งแก่ชาวโลก 2. รายได้อีกส่วนหนึ่งจะได้สำรองไว้เป็นกองทุนเพื่อใช้ในโอกาสอันจำเป็นในกิจกรรมต่างๆขององค์การ พ.ส.ล. และองค์กรเครือข่าย ศูนย์ภาคี เพื่อยังประโยชน์ให้แก่มวลมนุษยชาติ เช่น การช่วยเหลือเด็ก ผู้ด้อยโอกาส และกรณที่เกิดภัยภิบัติต่างๆ ส่วนการจัดสร้างพระพุทธรูปบูชาขนาด 9 นิ้ว 5 นิ้ว 3 นิ้ว เหรียญ และพระผง เพื่อมอบให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์สร้างพระพุทธรูปดังกล่าว ปัจจุบัน องค์การ พ.ส.ล. มีนายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานองค์การ พ.ส.ล. ภารกิจหลังของ พ.ส.ล. คือ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นและสามัคคีธรรมของชาวพุทธทั่วโลก ขณะนี้ พ.ส.ล. มีศูนย์ภาคีอยู่ 147 ศูนย์ใน 37 ประเทศในทุกทวีปของโลก ศูนย์ภาคีเหล่านี้ คือ องค์กรเผยแพร่พระพุทธศาสนาของ พ.ส.ล. ดังเช่นในประเทศไทยก็มีพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมพุทธบริษัทไทย-จีนประชา และองค์กรในประเทศไทยอีกมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นองค์กรเผยแพร่พระพุทธศาสนาและส่งเสริมการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น องค์กร พ.ส.ล. ยังได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาลไทย ผ่านทางกรมการศาสนา อีกด้วย ผู้มีจิตศัทธา ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อด้ที่ องค์การ พ.ส.ล. โทร 0-2661-1284-89 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) โทร. 0-2661-1284-9 คุณกีระณา สุนนานนท์ อีเมล์ wfb_hq@truemail.co.th หรือ บริษัท อิมเมจ อิมแพค จำกัด โทร. 0-2357-1180-3 คุณชุตินันท์ คุณะดิลก ต่อ 108 อีเมล์ chutinun@imageimpact.co.th คุณภาวินี ชนะพลชัย ต่อ 112 อีเมลล์ phavinee@imageimpact.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ