กรุงเทพฯ--23 ก.พ.--สสวท.
ด้วยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดการอบรมเกี่ยวกับละครวิทยาศาสตร์ และการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (ค่ายละครวิทยาศาสตร์) ระหว่างวันที่ 6 — 8 มีนาคม 2552 ณ สสวท. หลังท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ฯ กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้ครูและนักเรียนมีทักษะด้านละครวิทยาศาสตร์และการแสดงทางวิทยาศาสตร์ เข้าใจถึงการนำเอาเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์บางเรื่องมาสอนโดยผ่านการแสดงละคร รวมทั้งสามารถ ประยุกต์ใช้ทักษะด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงละครกับการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในชั้นเรียนปกติได้ด้วย รายละเอียดดังแนบ
1. โครงการ : โครงการประชุมปฎิบัติการอบรมครูและนักเรียนด้านการแสดงละครวิทยาศาสตร์ และการแสดงทางวิทยาศาสตร์
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะกรรมการโครงการเสริมสร้างความเข้าใจวิทยาศาสตร์ฯ
2.1 หัวหน้าโครงการ นางสาวรวิวรรณ เทนอิสสระ
2.2 เลขานุการโครงการ นางสาวมาเรียม งามขำ
2.3 ผู้ช่วยเลขานุการ นางสาวรัชดา ยาตรา
3. ลักษณะโครงการ : เป็นโครงการใหม่
4. สนองพันธกิจและกลยุทธ์ของ สสวท. ปี 2550 — 2554
พันธกิจที่ 4 ส่งเสริมวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชน เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ
และตระหนักต่อบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โครงการการหลักที่ 2.2 ส่งเสริมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
5. หลักการและเหตุผล
จากการดำเนินการโครงการสร้างความเข้าใจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้
สำหรับโลกอนาคตแก่สาธารณชน โดยการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาในการจัดการเรียน
การสอนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อสร้างความตระหนัก และความเข้าใจวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้กับนักเรียนและสังคมในปีที่ผ่านมา โดยการนำการแสดงละครวิทยาศาสตร์ (Science Drama) และการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมทำให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้ควบคู่ไปกับความ
สนุกสนานตามที่สังคมในปัจจุบันต้องการ
เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมการการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่องและแพร่หลายสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในฐานะหน่วยงานระดับชาติที่พัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเห็นควรให้มีการจัดอบรม
ครูและนักเรียนให้มีทักษะทางด้านการแสดงละครวิทยาศาสตร์และการแสดงทางวิทยาศาสตร์ และเข้าใจถึงวิธีการนำเอาเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์บางเรื่องมาสอนโดยผ่านการแสดงละคร และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงละครกับการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนปกติได้ด้วย
6. วัตถุประสงค์
6.1 อบรมครูผู้สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2—4 จากโรงเรียนในพื้นที่ต่างๆ ให้รับการอบรมด้านการแสดงละครวิทยาศาสตร์และการแสดงทางวิทยาศาสตร์
6. 2 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในสถานศึกษาด้วยการแสดงละครวิทยาศาสตร์ และการแสดงทางวิทยาศาสตร์
7. เป้าหมาย
7.1 หลักสูตรอบรมครูและนักเรียนด้านการแสดงละครวิทยาศาสตร์ และการแสดงทาง
วิทยาศาสตร์ เป็นต้นแบบที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องตามความต้องการของโครงการฯ
7.2 ครูผู้สอนและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ด้านเนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงละครวิทยาศาสตร์
7.3 ครูผู้สอนและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความมั่นใจและเห็นความสำคัญที่จะนำความรู้และประสบการณ์จากการอบรมไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในสถานศึกษาต่อไป
8. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
8.1 หลักสูตรอบรมครูและนักเรียนด้านการแสดงละครวิทยาศาสตร์ มีความเหมาะสมกับ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1หลักสูตร
8.2 ครูผู้สอนและนักเรียนที่ได้รับการอบรม ร้อยละ 80 มีความพึงพอใจระดับดีขึ้นไป
8.3 ครูผู้สอนและนักเรียนที่ได้รับการอบรมร้อยละ 80 มีความพึงพอใจและมีความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้ดีขึ้นไป
9. ในกรณีเป็นโครงการต่อเนื่องให้ระบุกิจกรรมตลอดทั้งโครงการด้วยเป็นโครงการใหม่
10. ขั้นตอนการดำเนินงานเป้าหมายและระยะเวลา
10.1 ขั้นตอนการดำเนินงานและเป้าหมาย
การดำเนินงาน / กิจกรรม เป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินการ
ปริมาณงาน % ก.พ. 52 มี.ค. 52 เม.ย.52
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 จัดประชุม/วางแผนงาน 3 ครั้ง 5 5 - -
1.2 เผยแพร่ / ประชาสัมพันธ์โครงการ 1 เดือน 10 10 - -
2. ขั้นดำเนินงาน
2.1 ติดต่อประสานงานวิทยากร 3 ครั้ง 10 5 5 -
2.2 รับสมัครครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ 60 คน 10 10 - -
2.3 ดำเนินการให้การอบรมฯ (6 — 8 มี.ค. 52) 3 วัน 60 - 60 -
3. ขั้นติดตามผล
3.1 จัดทำรายงาน / ประเมินผล 1 เล่ม 5 - - 5
รวม 100 30 65 5
ลักษณะกิจกรรม
- การบรรยายและประชุมปฏิบัติการ
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- การเขียนบทเพื่อผลิตละครวิทยาศาสตร์
- การแสดงละครวิทยาศาสตร์
- การออกแบบ การสร้างอุปกรณ์และจัดพื้นที่สำหรับการแสดง
10.2 การดำเนินการเชิงคุณภาพ
การดำเนินงาน / กิจกรรม เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 จัดประชุม/วางแผนงาน คณะกรรมการร่วมประชุมวางแผนการดำเนินงาน 3 ครั้ง
1.2 เผยแพร่ / ประชาสัมพันธ์โครงการ ได้การเผยแพร่ / ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์และสื่อต่าง ๆ
2. ขั้นดำเนินงาน
2.1 ติดต่อประสานงานวิทยากร ได้วิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์
2.2 รับสมัครครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ได้ครูและนักเรียนผู้เข้ารับการอบรม 60 คน
2.3 ดำเนินการให้การอบรมฯ (6 — 8 มี.ค. 52) ดำเนินงานจัดการอบรมตามวัตถุประสงค์ 3 วัน
3. ขั้นติดตามผล
3.1 จัดทำรายงาน / ประเมินผล ได้รายงานผลการดำเนินงานและการประเมินผลโครงการ
10.3 ระยะเวลาดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 6 — 8 มีนาคม 2552 ณ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
11. การประเมินผลโครงการ
ประเมินความรู้และความพึงพอใจของครูที่ผ่านการอบรมโดยใช้
- แบบสอบถาม
- การสัมภาษณ์
- ผลงานการแสดงละครวิทยาศาสตร์ ของครูและนักเรียนที่ผ่านการอบรม
12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้น
13. การบริหารความเสี่ยง
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น คือ วิทยากรที่จะอบรมด้านการแสดงให้กับครูและนักเรียนในการจัด
กิจกรรมติดภาระงาน ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ บริหารความเสี่ยงโดยการติดต่อประสานงานวิทยากรจากหน่วยงานที่ไดลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการฯ คือ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยประสานงานล่วงหน้าเพื่อกำหนดวันเวลาที่เหมาะสมร่วมกัน
14. หน่วยงานร่วมมือ
15.1 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
15.2 วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
10.3 ระยะเวลาดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 6 — 8 มีนาคม 2552 ณ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
11. การประเมินผลโครงการ
ประเมินความรู้และความพึงพอใจของครูที่ผ่านการอบรมโดยใช้
- แบบสอบถาม
- การสัมภาษณ์
- ผลงานการแสดงละครวิทยาศาสตร์ ของครูและนักเรียนที่ผ่านการอบรม
12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้น
13. การบริหารความเสี่ยง
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น คือ วิทยากรที่จะอบรมด้านการแสดงให้กับครูและนักเรียนในการจัด
กิจกรรมติดภาระงาน ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ บริหารความเสี่ยงโดยการติดต่อประสานงานวิทยากรจากหน่วยงานที่ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการฯ คือ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยประสานงานล่วงหน้าเพื่อกำหนดวันเวลาที่เหมาะสมร่วมกัน
14. หน่วยงานร่วมมือ
15.1 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
15.2 วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ