รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า วันที่ 7 ธันวาคม 2549 เวลา 07.00 น.

ข่าวทั่วไป Thursday December 7, 2006 08:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ธ.ค.--ปภ.
1. สถานการณ์พายุดีเปรสชัน “ทุเรียน
เมื่อเวลา 04.00 น.วันนี้ (7 ธ.ค.49) พายุดีเปรสชัน ‘‘ทุเรียน” บริเวณจังหวัดชุมพรตอนล่าง ได้เคลื่อนผ่านจังหวัดระนองและลงสู่ทะเลอันดามันแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 11.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 96.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือ ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ออกห่างจากประเทศไทย ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง และคลื่นในอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลงกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
2. จากการประสานไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชัน “ทุเรียน” แล้ว ได้รับรายงานสถานการณ์ ดังนี้
1) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกิดฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอบางสะพานน้อย 5 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ ตำบลช้างแรก ไชยราช บางสะพาน ทรายทอง ปากแพรก และในเขตเทศบาลตำบลบางสะพานน้อย ระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
- อำเภอบางสะพาน มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลธงชัย บ้านตะเคียน โรงเรียนธงชัยวิทยา ทางอำเภอได้อพยพประชาชนประมาณ 20 ครอบครัวขึ้นมายังที่สูงบริเวณถนนเพชรเกษม ในขณะนี้สถานการณ์ได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
การให้ความช่วยเหลือ
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ ได้ส่งเรือท้องแบน จำนวน 3 ลำ รถยูนิม๊อค 1 คัน รถเครน 1 คัน รถบรรทุก 1 คัน พร้อมเจ้าหน้าที่ จำนวน 14 นาย ไปบริการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่อำเภอบางสะพานน้อย และอำเภอบางสะพานแล้ว
2) จังหวัดชุมพร ยังคงมีฝนตกเล็กน้อยที่อำเภอสวี และอำเภอปะทิว สถานการณ์โดยทั่วไปไม่มีรายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่
3. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่เวลา 01.00 น. วันที่ 6 ธ.ค.49 — 01.00 น. วันที่ 7 ธ.ค.49 วัดได้ดังนี้
จังหวัดชุมพร (อ.สวี) 172.5 มม. (อ.เมือง) 93.6 มม.
จังหวัดพัทลุง (อ.เมือง) 49.2 มม.
จังหวัดภูเก็ต (อ.เมือง) 41.6 มม.
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อ.เมือง) 40.7 มม.
จังหวัดสงขลา (อ.สะเดา) 22.5 มม.
จังหวัดระนอง (อ.เมือง) 17.3 มม.
4. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดลุ่มเจ้าพระยา
4.1 พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 41 จังหวัด (จ.ปทุมธานี สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มบางจุด และพื้นที่ที่ติดกับริมน้ำซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลหนุน)
4.2 ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 6 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม และนนทบุรี ในจำนวน 22 อำเภอ แยกเป็น
1) จังหวัดสระบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำของอำเภอดอนพุด ที่ตำบลไผ่หลิ่ว ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม. ระดับน้ำลดลง
2) จังหวัดอ่างทอง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (ตำบลมหาดไทย) และอำเภอวิเศษชัยชาญ (4 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.30 ม. ส่วนในพื้นที่การเกษตร ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-0.90 ม. ระดับน้ำลดลง (บางพื้นที่ เริ่มประกอบอาชีพตามปกติแล้ว)
3) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา (ตำบลลุมพลี) อำเภอผักไห่ (ตำบลลำตะเคียน) อำเภอมหาราช (3 ตำบล) อำเภอบางปะหัน (ตำบลพุทเลา) อำเภอบ้านแพรก (3 ตำบล) อำเภอลาดบัวหลวง (6 ตำบล) อำเภอวังน้อย (ตำบลบ่อตาโล่) และอำเภอบางซ้าย (2 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.45 ม.
4) จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (3 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.30 ม. อำเภอบางปลาม้า (7 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.50-0.90 ม. และอำเภอสองพี่น้อง (9 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.60-1.20 ม. ระดับน้ำลดลง
5) จังหวัดนครปฐม น้ำที่ระบายจากคลองพระยาบรรลือ คลองพระพิมล คลองบางเลน ไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน (15 ตำบล) เทศบาลตำบลบางหลวง เทศบาลตำบลลำพญา และเทศบาลตำบลบางเลน ระดับน้ำสูง 0.60-1.40 ม. อำเภอนครชัยศรี (14 ตำบล) เทศบาลตำบลนครชัยศรี (ชุมชนริมคลองบางแก้วฟ้า และชุมชนคลองเจดีย์บูชา) อำเภอพุทธมณฑล (4 ตำบล) น้ำท่วมชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ ริมคลองโยง และริมคลองทวีวัฒนา และอำเภอกำแพงแสน (1 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยม่วง หมู่ที่ 1,10) ระดับน้ำสูง 0.30-0.45 ม.
6) จังหวัดนนทบุรี น้ำยังท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอปากเกร็ด ยังมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำสูง 0.40-0.60 ม. ส่วนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำจากทุ่งเจ้าเจ็ดผ่านคลองพระยาบรรลือ และคลองพระพิมลยังมีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอ ไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางกรวย ระดับน้ำสูง 0.50-1.45 ม. ระดับน้ำลดลง (อำเภอเมืองฯ สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยังคงมีน้ำท่วมในที่ลุ่มบางจุด และพื้นที่ที่ติดกับริมน้ำซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลหนุน)
5. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลวันที่ 6 ธ.ค.49) โดยกรมชลประทาน
- เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 13,180 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 98 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 9,307 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 98 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 922 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 97 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด
6. สภาพน้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ข้อมูลวันที่ 6 ธ.ค.49) โดยกรมชลประทาน
- ปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 568 ลบ.ม./วินาที
- ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท 140 ลบ.ม./วินาที
- ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระราม 6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 16 ลบ.ม./วินาที
- ปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 911 ลบ.ม./วินาที
7. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4,11,12 จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง เตรียมการป้องกันแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาพอากาศฝนตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ในระยะ 2-3 วันนี้ (5-7 ธันวาคม 2549) เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในเขตความรับผิดชอบ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้น จัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
8. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ