คำอธิบายและวิเคราะห์งบการเงิน ธ.ไทยพาณิชย์ ประจำปี 2548

ข่าวทั่วไป Friday January 20, 2006 11:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ม.ค.--ธ.ไทยพาณิชย์
คำอธิบายและวิเคราะห์งบการเงิน ประจำปี 2548 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548
ผลประกอบการประจำปี 2548 ก่อนการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอิสระของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์จำนวน 18,883 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 18,487 ล้านบาทในปี 2547 เมื่อพิจารณากำไรจากการดำเนินงานหลัก (ก่อนสำรองและภาษีเงินได้ และไม่รวมกำไรจากเงินลงทุน) มีจำนวน 19,841 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,482 ล้านบาทหรือร้อยละ 29.2 จากจำนวน 15,359 ล้านบาทในปี 2547
2548 2547 % yoy
กำไรสุทธิ 18,883 18,489 2.1%
หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ 1,200 4,900 -75.5%
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 607 24 2429.2%
กำไรจากเงินลงทุน 848 8,054 -89.5%
กำไรจากการดำเนินงานหลัก 19,841 15,359 29.2%
รายละเอียดผลประกอบการที่สำคัญสำหรับปี 2548 มีดังต่อไปนี้
1. รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิในปี 2548 มีจำนวน 24,989 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,243 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.5 จากปีก่อน เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิที่เพิ่มขึ้นมากกว่าค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย โดยในไตรมาส 4/2548 ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 6,409 ล้านบาท ลดลง 293 ล้านบาทเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ เพิ่มขึ้น 495 ล้านบาทเมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2547
(ล้านบาท)
2548 2547 % yoy
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล 31,542 26,718 18.1%
- เงินให้สินเชื่อ 25,869 21,631 19.6%
- รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน 1,846 965 91.2%
- เงินลงทุน 3,828 4,122 -7.1%
ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย 6,553 5,972 9.7%
- เงินฝาก 5,330 4,878 9.3%
- รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน 306 95 221.8%
- เงินกู้ยืมระยะสั้น 274 102 169.0%
- เงินกู้ยืมระยะยาว 643 897 -28.3%
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 24,989 20,746 20.5%
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ 3.33% 2.80%
ในปี 2548 ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยรับจากเงินให้สินเชื่อจำนวน 25,869 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,238 ล้านบาทจากปีก่อนจากการขยายตัวของสินเชื่อและการปรับอัตราดอกเบี้ย สำหรับรายได้ดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร มีจำนวน 1,846 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 881 ล้านบาทจากอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารที่ปรับสูงขึ้นและธุรกรรมตลาดเงินที่เพิ่มขึ้น ส่วนรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลรับจากเงินลงทุนมีจำนวน 3,828 ล้านบาทลดลง 294 ล้านบาทจากปีก่อน จากการบริหารสภาพคล่อง
ดอกเบี้ยจ่ายของธนาคารในปีนี้มีจำนวน 6,553 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 581 ล้านบาทหรือร้อยละ 9.7 จากปีที่ผ่านมา โดยดอกเบี้ยจ่ายสำหรับเงินฝากเพิ่มขึ้น 452 ล้านบาท จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแบบมีระยะเวลาของธนาคาร ส่วนดอกเบี้ยจ่ายรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินเพิ่มขึ้น 211 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณธุรกรรมในตลาดเงินที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น 172 ล้านบาท จากการออกตราสารหนี้ระยะสั้น ในขณะที่ดอกเบี้ยเงินให้กู้ระยะยาวลดลง 254 ล้านบาท จากการแปลงสภาพหุ้นกู้อายุต่ำกว่า 1 ปี เป็นเงินกู้ระยะสั้น
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลที่ปรับตัวดีขึ้นมากขณะที่ดอกเบี้ยจ่ายปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.80 ในปีก่อน เป็นร้อยละ 3.33 ในปีนี้ สำหรับไตรมาส 4/2548 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิเท่ากับร้อยละ 3.35
2. รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย
ในปี 2548 ธนาคารมีกำไรจากเงินลงทุน จำนวน 848 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2547 มีจำนวนสูงถึง 8,054 ล้านบาท เมื่อไม่รวมกำไรจากเงินลงทุนดังกล่าว รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่มาจากธุรกิจหลักของธนาคาร มีจำนวน 13,772 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,749 ล้านบาทหรือร้อยละ 24.9 สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในปีนี้มีจำนวน 14,620 ล้านบาท ลดลง 4,457 ล้านบาทหรือร้อยละ 23.4จากปีก่อน
- รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการมีจำนวน 9,717 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,942 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.0 เป็นการเพิ่มขึ้นในทุกบริการ โดยเฉพาะธุรกิจบัตร ธุรกิจ Bancassurance ธุรกิจตลาดทุนและบริการบริหารเงินเพื่อธุรกิจ (Business Cash Management) และค่าธรรมเนียมสินเชื่อและการค้าต่างประเทศ
- กำไรจากการปริวรรตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 447 ล้านบาทเป็น 1,934 ล้านบาท ตามปริมาณธุรกิจที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกรรมลูกค้าธุรกิจ
- ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อย/ร่วมของธนาคารมีจำนวน 1,001 ล้านบาท ลดลง 402 ล้านบาทจากปีก่อน ส่วนใหญ่จากรายได้ที่ลดลงของบริษัทในเครือตามสภาวะตลาด
- รายได้อื่นมีจำนวน 1,119 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 761 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องมาจากกำไรจากการขายสินทรัพย์รอการขายและมีการกลับรายการสำรองเผื่อการด้อยค่าจากการตีราคาที่ดินและอาคาร และสำรองค่าใช้จ่ายในการขายสินทรัพย์รอการขาย
(ล้านบาท)
2548 2547 % yoy
ค่าธรรมเนียมและบริการ 9,717 7,775 25.0%
- การรับรอง รับอาวัล และค้ำประกัน 799 708 12.8%
- อื่นๆ 8,918 7,067 26.2%
กำไรจากการปริวรรต 1,934 1,487 30.0%
ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อย/ร่วม 1,001 1,403 -28.6%
รายได้อื่น 1,119 358 212.5%
รวมรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากธุรกิจหลัก 13,772 11,023 24.9%
กำไรจากเงินลงทุน 848 8,054 -89.5%
รวมรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 14,620 19,077 -23.4%
3. ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย
ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยในปี 2548 มีจำนวน 18,920 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 หรือ 2,510 ล้านบาทจาก 16,410 ล้านบาทในปีก่อน โดยมีรายการสำคัญดังนี้
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่ และอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจำนวน 747 ล้านบาทหรือร้อยละ 21.3 จากการขยายเครือข่ายการให้บริการและระบบงานต่างๆ ของธนาคาร
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานเพิ่มขึ้น 729 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.4 จากการตั้งค่าใช้จ่ายตามโครงการ Deferred Bonus การปรับเพิ่มเงินเดือนประจำปีและจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้น
- ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น 609 ล้านบาทตามปริมาณธุรกิจที่เพิ่มขึ้น และการใช้บริการจากบุคคลภายนอกเพิ่มขึ้น
- ค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มขึ้น 230 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจบัตรเครดิตและค่าใช้จากทางการตลาด
- ค่าภาษีอากรเพิ่มขึ้น 135 ล้านบาท
(ล้านบาท)
2548 2547 % yoy
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 6,619 5,890 12.4%
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ์ 4,248 3,501 21.3%
ค่าภาษีอากร 1,334 1,199 11.2%
ค่าธรรมเนียมและบริการ 2,238 1,629 37.4%
ค่าตอบแทนกรรมการ 79 69 14.3%
เงินสบทบกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 2,510 2,459 2.0%
ค่าใช้จ่ายอื่น 1,892 1,662 13.8%
รวมค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย 18,920 16,410 15.3%
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงาน 48.8% 51.7%
สำหรับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนที่ร้อยละ 51.7 เป็นร้อยละ 48.8 ในปีนี้ เนื่องจากรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเร็วกว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
4. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ธนาคารมีการตั้งสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ จำนวน 1,200 ล้านบาท ลดลงจาก 4,900 ล้านบาท ในปีก่อน เนื่องจากในปีก่อนธนาคารตั้งสำรองเพิ่มสำหรับลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 48 เดือนและธนาคารยังไม่ได้ฟ้องคดีจำนวนมาก และตั้งสำรองเผื่อความเสียหายของสินเชื่อจากธรณีพิบัติภัย
งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548
1. สินเชื่อและเงินฝาก
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ธนาคารมียอดสินเชื่อจำนวน 603,812 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48,362 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.7 จากสิ้นปี 2547
สินเชื่อทั่วไป (Good Bank) ของธนาคารเพิ่มขึ้นสุทธิจากสิ้นปี 68,878 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.7 ขณะที่สินเชื่อกลุ่มจัดการทรัพย์สิน (Bad Bank) ลดลง 20,516 ล้านบาทหรือร้อยละ 23.3
สินเชื่อของธนาคารยังขยายตัวได้ดีในทุกกลุ่ม กล่าวคือสินเชื่อบุคคลเพิ่มขึ้น 40,067 ล้านบาทหรือร้อยละ 25.7 จากสิ้นปี 2547 สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 15,346 ล้านบาทหรือร้อยละ 7.2 และสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและย่อมเพิ่มขึ้น 13,464 ล้านบาทหรือร้อยละ 13.7
(ล้านบาท)
เงินให้สินเชื่อ 31 ธ.ค. 48 31 ธ.ค. 47 % yoy
สินเชื่อทั่วไป (Good Bank) 536,372 467,494 14.7%
- ธุรกิจขนาดใหญ่ 228,970 213,624 7.2%
- ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 111,493 98,029 13.7%
- สินเชื่อบุคคล 195,909 155,841 25.7%
สินเชื่อกลุ่มจัดการทรัพย์สิน (Bad Bank) 67,440 87,956 -23.3%
รวมเงินให้สินเชื่อ 603,812 555,450 8.7%
เงินฝาก ณ สิ้นปี 2548 มีจำนวน 622,431 ล้านบาท ลดลงจำนวน 2,287 ล้านบาท (ร้อยละ 0.4) จากสิ้นปี 2547 โดยเงินฝากประจำโดยรวมลดลงร้อยละ 12.8 ถึงแม้ว่าเงินฝากระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 ในขณะที่เงินฝากที่เพิ่มขึ้นเป็นเงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7) และเงินฝากประเภทออมทรัพย์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9)
(ล้านบาท)
เงินฝาก 31 ธ.ค. 48 31 ธ.ค. 47 % yoy
จ่ายคืนเมื่อทวงถาม 29,443 27,085 8.7%
ออมทรัพย์ 348,518 317,201 9.9%
จ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา 244,471 280,432 -12.8%
- ไม่ถึง 6 เดือน 165,708 196,544 -15.7%
- 6 เดือนไม่ถึง 1 ปี 21,086 17,241 22.3%
- 1 ปีขึ้นไป 57,677 66,647 -13.5%
รวมเงินฝาก 622,431 624,718 -0.4%
สัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝาก 97.0% 88.9%
สัดส่วนเงินให้สินเชื่อ (หลังหักสำรอง) ต่อเงินฝาก 89.1% 79.1%
ณ 31 ธันวาคม 2548 สัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝาก เท่ากับร้อยละ 97.0 สัดส่วนเงินให้สินเชื่อ (หลังหักสำรอง) ต่อเงินฝาก เท่ากับร้อยละ 89.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 79.1 เมื่อสิ้นปี 2547 จากการเติบโตของสินเชื่อที่สูงกว่าเงินฝาก
2. เงินลงทุนในหลักทรัพย์
เงินลงทุนในหลักทรัพย์มีจำนวน 112,366 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.1 จากสิ้นปี 2547 โดยเงินลงทุนชั่วคราวสุทธิลดลง 9,578 ล้านบาท และเงินลงทุนระยะยาวสุทธิลดลง 8,513 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากการขายเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของธนาคาร ส่วนเงินลงทุนในบริษัทย่อย/ร่วมลดลง 311 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลจากการขายบริษัทเงินทุน บุคคลัภย์ จำกัด (มหาชน)
(ล้านบาท)
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ 31 ธ.ค. 48 31 ธ.ค. 47 % yoy
- เงินลงทุนชั่วคราวสุทธิ 20,545 30,123 -31.8%
- เงินลงทุนระยะยาวสุทธิ 73,426 81,939 -10.4%
- เงินลงทุนในบริษัทย่อย/ร่วม 18,395 18,706 -1.7%
รวมเงินลงทุนในหลักทรัพย์ 112,366 130,768 -14.1%
3. เงินกู้ยืม
เงินกู้ยืมมีจำนวน 27,694 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,484 ล้านบาทหรือร้อยละ 70.8 จากสิ้นปี 2547 โดยเงินกู้ยืมระยะสั้น เพิ่มขึ้น 18,791 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากการออกหุ้นกู้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 180 วันจำหน่ายภายในประเทศในช่วงเดือนธันวาคม ในขณะที่เงินกู้ยืมระยะยาว ลดลง 7,306 ล้านบาท จากการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้ด้อยสิทธิเป็นหุ้นสามัญ
4. ส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนของผู้ถือหุ้นของธนาคาร ณ 31 ธันวาคม 2548 มีจำนวน 97,732 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าตามบัญชี 28.75 บาทต่อหุ้น (จำนวนหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ ณ สิ้นปี 2548 รวม 3,399.2 ล้านหุ้น) เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2547 จำนวน 15,699 ล้านบาท จากรายการสำคัญดังนี้
- กำไรประจำปีจำนวน 18,882 ล้านบาท
- ส่วนเกินมูลค่าหุ้นมีจำนวน 11,124 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,074 ล้านบาทจากสิ้นปี 2547 จากการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้ด้อยสิทธิแปลงสภาพ
- ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดินและอาคาร เพิ่มขึ้น 3,271 ล้านบาท
ทั้งนี้มีการจ่ายเงินปันผลจากกำไรประจำปี 2547ในเดือนเมษายนในอัตรา 2 บาท/หุ้น จำนวนรวม 6,718 ล้านบาท
เงินกองทุนตามกฎหมาย
เงินกองทุนตามกฎหมาย (ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2) ณ 31 ธันวาคม 2548 มีจำนวน 91,791 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 15.1 ของสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งเป็นส่วนของเงินกองทุนชั้นที่ 1 จำนวน 72,084 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 11.9
สินเชื่อด้อยคุณภาพ
ธนาคารมีสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) ซึ่งประกอบด้วยเงินให้สินเชื่อจัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐานลงมา ตามคำนิยามของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 จำนวนทั้งสิ้น 57,122 ล้านบาทหรือร้อยละ 9.3 ลดลง 16,825 ล้านบาท จากจำนวน 73,947 ล้านบาท (ร้อยละ 13.1) ณ 31 ธันวาคม 2547 สาเหตุหลักจากการปรับโครงสร้างหนี้ การตัดหนี้สูญและการจำหน่ายสินทรัพย์ ทั้งนี้ สินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารรวมบริษัทบริหารสินทรัพย์ จตุจักร จำกัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 มีจำนวนรวม 59,765 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.7 ลดลงจาก 75,382 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.3 ณ สิ้นปี 2547
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ณ 31 ธันวาคม 2548 มีจำนวน 49,523 ล้านบาท ลดลง 11,888 ล้านบาท จาก 61,411 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2547 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการตัดหนี้สูญและการขายหนี้ด้อยคุณภาพ ทั้งนี้ธนาคารมีอัตราส่วนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพร้อยละ 86.7 ณ 31 ธันวาคม 2548 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 83.0 ณ สิ้นปี 2547
(ล้านบาท)
31 ธันวาคม 2548 31 ธันวาคม 2547
จำนวน ค่าเผื่อหนี้ จำนวน ค่าเผื่อหนี้
สินเชื่อจัดชั้น สงสัยจะสูญ สินเชื่อจัดชั้น สงสัยจะสูญ
สินเชื่อจัดชั้นและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ปกติ 546,718 7,541 481,305 6,511
กล่าวถึงเป็นพิเศษ 8,252 164 9,086 71
ต่ำกว่ามาตรฐาน 6,092 337 5,838 504
สงสัย 7,187 1,386 5,458 2,375
สงสัยจะสูญ 43,843 20,496 62,651 32,196
รวมตามเกณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย 612,092 29,924 564,338 41,657
สำรองที่ตั้งเป็นการทั่วไปและเฉพาะรายเพิ่มเติม 19,764 19,959
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญรวม 49,688 61,616
สินเชื่อด้อยคุณภาพ (ชั้นต่ำกว่ามาตรฐานและต่ำกว่า)57,122 73,947
% ต่อสินเชื่อรวม (รวมเงินให้สินเชื่อสถาบันการเงิน) 9.3% 13.1%
หมายเหตุ: สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) หมายถึง สินเชื่อจัดชั้นตั้งแต่ชั้นต่ำกว่ามาตรฐานลงมา รวมเงินให้สินเชื่อสถาบันการเงิน แต่ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับและสินทรัพย์อื่น
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
วัฒนี สมจิตต์
Wattanee Somchit
สำนักงานบริหารงานกรรมการและสื่อสารองค์กร
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
Tel : (02) 544-4502 , Fax : (02) 937-7454
email : wattanee@scb.co.th
www.scb.co.th--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ