กรุงเทพฯ--20 ม.ค.--สกว.
ปัจจุบันการรักษาโรคโดยใช้ภูมิคุ้มกัน หรือ Antibody ของมนุษย์ถือเป็นวิธีการรักษาโรคแบบใหม่ที่น่าจับตามอง เนื่องจากไม่ต้องใช้ยาในการรักษา แต่เป็นการให้ภูมิคุ้มกันกับผู้ป่วยเพื่อสร้างภูมิขึ้นมารักษาโรค ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวสามารถรักษาโรคได้ทั้งโรคติดเชื้อ เช่น โรคฉี่หนู ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่ระบาดอย่างหนักในประเทศเขตร้อน และโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้แมลงสาบซึ่งเป็นภูมิแพ้ที่คนไทยเป็นกันมาก แต่ยารักษาโรคภูมิแพ้แมลงสาบที่ผลิตจากต่างประเทศไม่สามารถใช้ได้ผลกับคนไทยเนื่องจากเป็นแมลงสาบต่างสายพันธุ์กัน นอกจากนี้การพัฒนาภูมิคุ้มกันเพื่อรักษาโรคยังนำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์การตรวจวัดระดับสารภูมิแพ้ และค้นหาสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งจะนำประโยชน์มาสู่คนไทยจำนวนมากที่กำลังประสบปัญหาโรคภูมิแพ้อยู่ในขณะนี้
อย่างไรก็ตามเพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาภูมิคุ้มกันเพื่อการรักษาโรค สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้จัดงานแถลงข่าวเรื่อง“เทคโนโลยีภูมิคุ้ม ก้าวสำคัญเพื่อการรักษาโรค” ขึ้นในวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2549 เวลา 9.30 -11.00 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 14 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(ร่าง)
กำหนดการแถลงข่าว
เรื่อง
“เทคโนโลยีภูมิคุ้ม ก้าวสำคัญเพื่อการรักษาโรค”
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2549
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 14 สกว.เวลา 9.30 — 11.00 น.
9.30 น. เปิดการแถลงข่าว
โดย ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
9.40 น. การพัฒนาเทคโนโลยีภูมิคุ้มกัน (Antibody) ก้าวที่สำคัญในการรักษาโรค
โดย ศ.ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10.00 น. “การสร้าง Antibody จากโมเลกุลของมนุษย์เพื่อใช้ในการรักษาโรคฉี่หนู”
โดย นายสันติ มณีวัชรรังสี นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)
น.ส.ยุวพร สากลวารี นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)
10.15 น. “การพัฒนาน้ำยาตรวจสารภูมิแพ้แมลงสาบ : การค้นหาสารก่อภูมิแพ้แมลงสาบ”
โดย นายนิทัศน์ สุขรุ่ง นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)
10.30 น. “การพัฒนาชุดน้ำยาแก้พิษงู”
โดย นายเกษม กุลแก้ว นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)
10.45 น. สรุป/ตอบข้อซักถาม
11.00 น. ปิดการแถลงข่าว--จบ--