แอร์ นิวซีแลนด์ ทดสอบเชื้อเพลิงชีวภาพผ่านฉลุย!

ข่าวท่องเที่ยว Wednesday March 4, 2009 14:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 มี.ค.--ทาซา เซอร์เคิลส์ เมื่อเห็นสีหน้าเปี่ยมรอยยิ้ม พร้อมชูกำปั้นอย่างหนักแน่นของเหล่านักบินแล้ว จะเห็นเป็นภาพที่สามารถยืนยันให้เห็น ถึงความสำเร็จเกินคำบรรยาย หลังจากที่ได้ทดสอบเที่ยวบินพาณิชย์เที่ยวแรกของ แอร์ นิวซีแลนด์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ ร็อบ ฟายเฟ่ ผู้บริหารระดับสูงของสายการบิน ได้จับมือทักทายสองนักบินด้วยความปลื้ม และหันมาทักทายกลุ่มผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ยืนรวมกลุ่มรออยู่บริเวณรันเวย์เครื่องบิน เพื่อกล่าวย้ำอีกครั้งถึงความสำเร็จของการทดสอบที่เกิดขึ้นเช้านี้ เขากล่าวว่า “วันนี้เราภูมิใจมากที่แอร์ นิวซีแลนด์และพันธมิตรได้ร่วมมือกันทำให้เกิดความรุดหน้าไปในแนวทางใหม่ ซึ่งเป็นก้าวแรกที่จะนำอุตสาหกรรมการบินไปสู่การนำเชื้อเพลิงชีวภาพไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปพัฒนาต่อเนื่องในเชิงพาณิชย์ต่อไป” “การทดสอบครั้งนี้ จึงเปรียบเสมือนการจุดประกาย ที่จะทำให้สายการบินแอร์ นิวซีแลนด์ก้าวสู่การเป็นสายการบินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบิน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของเรา” และเมื่อสักครู่ที่ผ่านมา เครื่องบินโบอิ้ง 747-400 ได้นำพลังงานผสม ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นน้ำมันถั่วที่ได้จากต้นสบู่ดำ และอีกครึ่งหนึ่งเป็นเชื้อเพลิง เจ็ท เอวัน (Jet A1) ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันมาใช้กับเครื่องยนต์ 1 เครื่องยนต์จากจำนวนเครื่องยนต์ทั้งหมด 4 เครื่องยนต์ ได้บินลงจอดที่สนามบินนานาชาติโอ๊คแลนด์ (Auckland International Airport) หลังเสร็จสิ้นจากเที่ยวบินทดสอบการบินทั้งหมด 2 ชั่วโมง ในระหว่างเที่ยวบินทดสอบดังกล่าว เดฟ มอร์แกน หัวหน้านักบิน แอร์ นิวซีแลนด์ และคีท แพ็ตตี้ นักบินบัญชาการได้ทำการทดสอบตามลำดับขั้นตอนในระดับความสูง และความเร็วที่แตกต่างกันอย่างละเอียด เพื่อประเมินสมรรถนะของเชื้อเพลิงจากต้นสบู่ดำ และในช่วง 2-3 วันถัดมา กลุ่มวิศวกรจะได้ประเมินระบบเครื่องยนต์ และเชื้อเพลิงของเครื่องบิน เพื่อค้นหาผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพดังกล่าว เชื้อเพลิงผสมบางประเภทจะถูกส่งไปทดสอบเพิ่มเติมที่ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ และถ้าหากไม่พบปัญหาใด ก็จะดำเนินการขอเอกสารรับรองต่อไป และหลังจากนั้นก็จะนำเข้าสู่ขบวนการการผลิตที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาตรวจสอบเชื้อเพลิงทางเลือกนี้ให้ครบถ้วน และคลอบคลุมถึงความสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างยั่งยืน และนำไปพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ในเชิงพาณิชย์ เจนนิเฟอร์ ฮอล์มเกร็น ผู้จัดการทั่วไป ส่วนพลังงาน และเคมีภัณฑ์ทดแทน บริษัท ยูโอพี ฮันนีเวลล์ (Honeywell’s UOP) ซึ่งเป็นพันธมิตรธุรกิจในการริเริ่มแผนงานครั้งนี้ร่วมกับโบอิ้ง และโรลส์-รอยซ์ ได้กล่าวว่า “ครั้งนี้นับเป็นการเดินทางที่ยาวไกล นานถึง 30 ปี ซึ่งไม่ใช่การปฏิรูปที่ใช้เวลา 5 หรือ 10 ปี” ฮอล์มเกร็น กล่าวเสริมว่า มันแทบจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่การผลิตสิ่งใดก็ตามในระดับมหัพภาคจะสามารถเกิดขึ้นก่อนปี 2555 ถึงแม้ว่าเชื้อเพลิงดังกล่าวจะเป็นพลังงานทดแทนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเห็นได้ชัดว่าเชื้อเพลิงดังกล่าวสามารถนำมาเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิง เจ็ท เอวัน (Jet A1) ได้อย่างดีเยี่ยมก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีใครรู้แน่นอนว่าต้นทุนรวมทั้งหมดของการผลิตเชื้อเพลิงประเภทนี้อย่างครบถ้วนจะเป็นเท่าใด คริส ลูอิส ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อเพลิงจากโรลส์-รอยซ์ กล่าวว่า เชื้อเพลิงชีวภาพจากต้นสบู่ดำ “แท้จริงแล้วไม่สามารถแยกความแตกต่าง” จากเชื้อเพลิง เจ็ท เอวัน (Jet A1) ได้ แอร์ นิวซีแลนด์ คาดว่า จะนำเชื้อเพลิงชีวภาพมาใช้ทดแทนจำนวน 10 % ของการเผาผลาญเชื้อเพลิงทั้งหมด 9ล้านบาร์เรล ต่อปีของสายการบิน ภายในปี 2556 เพื่อช่วยลดจำนวนคาร์บอนลง ราว 400,000 ตันต่อปี ซึ่ง แอร์ นิวซีแลนด์ เป็นสายการบินแรกของโลกที่ได้มีการกำหนดเป้าหมายดังกล่าว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 477 2801 tasa

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ