กรุงเทพฯ--12 มี.ค.--โปรคอมมิวนิเคชั่นส์ แอนด์ คอนซัลแตนท์
คนมากขึ้น รุกป่ามากขึ้น สร้างตึกมากขึ้น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ล้วนเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน แนวคิดเพื่อสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติและมนุษยชาติ จึงเกิดขึ้นในลักษณะของการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า “ป่าชุมชน” จึงเป็นคำตอบที่ถูกทิศถูกทางมากที่สุดในการแก้ปัญหาโลกร้อนในช่วงเวลานี้
“สวนป่าเกดน้อมเกล้า” ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ หนึ่งในพื้นที่เป้าหมายของการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวของโครงการสวนกลางมหานคร ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงต้องการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวบริเวณบริเวณคุ้งบางกะเจ้า 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางน้ำผึ้ง ตำบลบางกอบัว ตำบลทรงคะนอง ตำบลบางกะเจ้า ตำบลบางกะสอบ และตำบลบางยอ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ไว้เพื่อให้เป็นปอดของคนกรุงเทพฯ
นางเปรมปรีย์ ไตรรัตน์ ประธานคณะกรรมการป่าชุมชนทรงคนอง ได้สะท้อนแนวคิดในการบริหารจัดการป่าชุมชนจำนวน 55 ไร่ ในพื้นที่หมู่ 2 และหมู่ 3 ตำบลทรงคะนอง หนึ่งในเป้าหมายของการอนุรักษ์ให้เป็นพื้นที่สีเขียวว่า “เราต้องการให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ของชุมชน เพื่อให้วิถีชีวิตของชุมชนที่อยู่ใกล้ป่า มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย ป่าชุมชน เป็นวิถีของการใช้ระบบวัฒนธรรมในการดูแลรักษาป่า” ปัจจุบันชุมชนตำบลทรงคะนองได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการใช้ประโยชน์พื้นที่ในลักษณะเป็นชุมชนดั้งเดิม ที่มีการอนุรักษ์พันธ์ไม้และวิถีชีวิตชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งมีความเป็นอยู่เรียบง่ายอย่างในอดีต มีการควบคุมสิ่งก่อสร้างอย่างเป็นระบบ รวมทั้งดูแลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
“เรามีห้องเรียนธรรมชาติ เป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับเยาวชน ใช้ศิลปะเป็นตัวดึงดูด ซึ่งทำให้เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น แล้วจะสอดแทรกเรื่องการสอนให้รู้จักพันธ์ไม้แต่ละชนิด ทำให้เด็กได้รู้จักชุมชนของตัวเอง และได้ซึมซับถึงความสำคัญของป่าชุมชน ว่าทำให้สิ่งแวดล้อมดี อากาศดี น้ำดื่มสะอาด สิ่งสุดท้ายคุณภาพชีวิตที่ดี มีปอดที่แข็งแรง เรามีเป้าหมายสูงสุดในการที่จะรักษาป่าให้อยู่รอดคือ การผลักดันให้เรื่องป่าชุมชนเข้าบรรจุในหลักสูตรท้องถิ่นของสถาบันการศึกษา ตอนนี้ทางโรงเรียนที่ตั้งอยู่ชุมชนบางกะเจ้า สนใจให้เด็กนักเรียนเข้ามาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก” นางเปรมปรีย์กล่าว
นอกเหนือจากฝันสูงสุดในการได้บรรจุในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นการรักษาป่าให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืนแล้ว นางเปรมปรีย์ กล่าวว่า “การหารายได้เพื่อมาหล่อเลี้ยงป่าชุมชน ก็เป็นเรื่องสำคัญ เราดังนั้น ชุมชนของเราจึงมองไปที่เรื่องของการท่องเที่ยว คือการจัดสวนป่าชุมชนให้สวยงาม สงบ ร่มรื่น สำหรับการเยี่ยมชมของนักท่องเที่ยวและมีกิจกรรมให้ผ่อนคลาย เช่น ขี่จักรยานชมสวน ชมวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรายได้ที่หล่อเลี้ยงป่าชุมชนแห่งนี้จะมาจากการมาทำกิจกรรมของบริษัทเอกชนที่เห็นความสำคัญว่าป่าชุมชนเมืองแห่งนี้เป็นที่สร้างปอดให้กับคนเมืองนับสิบล้านคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ และได้ทยอยมาร่วมกันปลูกป่าอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้มีพื้นที่เหลือในชุมชนทรงคนองที่ยังไม่ได้ปลูกอีกประมาณ 5 ไร่ หากบริษัทเอกชนรายใดสนใจร่วมทำกิจกรรมปลูกป่าสร้างปอดให้คนเมือง ก็ยังมีพื้นที่เหลือที่จะมาจับจองปลูกต้นไม้กันได้อีกมาก””
โดยล่าสุด กลุ่ม “ดิอาจิโอเพื่อนอาสา” จากบริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด กว่า 20 คนรวมพลังร่วมทำกิจกรรมปลูกป่าชุมชน ทั้งหมด 300 ต้น มากกว่า 10 ชนิด เช่น ต้นยางนา โกงกาง ตีนเป็ดน้ำ คูน สะเดา ขี้เหล็ก ใบยอ ใบเงิน มะยม มะขาม ฯลฯ เป็นการทดสอบความอดทนของ หนุ่มสาวคนเมือง โดย นางสุจิตรา โหตระกิตย์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงการเข้ามาร่วมปลูกป่าครั้งนี้ว่า “เราบริษัทดิอาจิโอฯ มีนโยบายว่า ในทุกประเทศที่เราเข้าไปทำธุรกิจ ชุมชนต้องอยู่ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ธุรกิจจึงจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน การตอบแทนสังคมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราตระหนักอยู่เสมอ เราต้องการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมรับรู้ ได้ร่วมสัมผัสชุมชน และทำให้เกิดจิตอาสาเองในการที่จะเข้าร่วมทำกิจกรรม ซึ่งเราต้องขอบคุณและขอชื่นชมชุมชนเป็นอย่างมาก ที่ช่วยรักษาป่าไว้เพื่อพวกเรา ” ทางด้านขณะที่ตัวแทนพนักงานหนุ่มสาวชาวของบริษัทดิอาจิโอฯ กล่าวถึงความรู้สึกว่า “เรามาวันนี้ก็เพื่อมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาปอดของเราและของคนที่เรารักรอบข้าง รู้สึกดีมากเลย ที่รู้ว่าต้นไม้ที่เราปลูกในวันนี้จะช่วยสร้างปอดให้คนเมืองนับสิบล้านคนที่อยู่ในเมือง อยากเชิญชวนเพื่อนๆ ในเมือง หรือบริเวณใกล้ๆ นี้ มาร่วมด้วยช่วยกันปลูกป่าชุมชนสวนป่าเกดน้อมเกล้าด้วยกัน เป็นการออกกำลัง และยังได้ฟอกปอดให้สะอาดกลับไปด้วย”
นายบัญชา โพธิ์แย้มจิตร สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง กล่าวว่า “ดีใจที่ทุกคน เริ่มเห็นความสำคัญของป่าชุมชนซึ่งเปรียบเสมือนบ้านของพวกเราทุกคน ทั้งในเขต กทม. และบริเวณใกล้เคียง จากแรกเริ่มเราปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ แต่วันนี้ชุมชนเราสามารถรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการป่าชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและจากความสำเร็จนี้ทำให้ได้รับบทบาทเป็นผู้นำในการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้แก่กลุ่มและองค์กรต่างๆ ที่เข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง”
การจัดการป่าชุมชนที่หลากหลายไปตามภูมิปัญญาของแต่ละแห่ง จะยังดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่นและความสัมพันธ์ของคนในชุมชนและระหว่างชุมชนเสมอ
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : บริษัท โปรคอมมิวนิเคชั่นส์ แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
โทร. 0 2158 9416-8 (อัญชลี เชื้อน้อย, อุมา พลอยบุตร์)