สหรัฐฯ ขานรับข้อเสนออลงกรณ์ ร่วมผลักดันลงทุนโลจิสติกส์ลุ่มน้ำโขง ต่ออายุภาษีจีเอสพีไทย

ข่าวทั่วไป Friday March 13, 2009 10:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--นิโอ ทาร์เก็ต นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการพบหารือกับ ส.ส. จิมส์ แมคเดอม๊อด นางบาร์บาร่า ไวเซิล และนายสแตนฟอร์ด แม็คคอย ผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ตลอดจนองค์กรภาคประชาชน เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2552 ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่า ได้แจ้งให้นายแมคเดอม๊อด ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์อาวุโสของสหรัฐฯ ที่เป็นพันธมิตรของไทยมานาน และสนับสนุนการใช้ CL ตลอดจนให้สหรัฐฯ ต่อการต่ออายุ GSP ให้แก่ไทย ได้เข้าใจ และเชื่อมั่นในสถานการณ์การเมืองของไทยที่กลับคืนสู่ประชาธิปไตย ซึ่งนายแมคเดอม็อดขานรับว่าจะสนับสนุนไทยต่อไป ทั้งในเรื่อง GSP การขยายการค้าการลงทุนระหว่างกัน ตลอดจนสนับสนุนให้สหรัฐฯ ถอดไทยจากบัญชี PWL ซึ่งนายอลงกรณ์จะได้มีจดหมายแจ้งให้ ส.ส. และ ส.ว. ของสหรัฐฯ ได้ทราบความคืบหน้าเรื่องการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย เพื่อขอเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. และ ส.ว. อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ นายแม็ดเดอม็อดประเมินว่า สหรัฐฯ น่าจะปลดไทยออกจากการจัดสถานะตามมาตรา 301 พิเศษได้ สำหรับการหารือกับนางบาบาร์รา ผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ได้มีการหารือเรื่องความสัมพันธ์ทางการค้าของสองประเทศ เช่น โครงการไทยแลนด์โมเดล ที่จะดึงให้นักลงทุนสหรัฐฯ ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าแบรนด์เนม และขอบคุณที่ USTR ช่วยผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามผลการพิจารณาของ WTO เรื่องการยกเลิกมาตรการzeroing กับ c-bond กับสินค้ากุ้งแช่แข็งส่งออกของไทย และสนับสนุนการต่ออายุสิทธิพิเศษทางภาษี GSP ให้สินค้าไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ เช่น เม็ดพลาสติก กระเบื้องปูพื้น ธัญพืช ทั้งนี้ USTR ให้ความสนใจในนโยบายของอาเซียน โดยเฉพาะปีนี้เป็นปีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ทำให้ไทยมีบทบาทสำคัญการดำเนินการเพื่อผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2015 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งสหรัฐฯ ได้ให้ความสนใจในเรื่องโลจิสติกส์ของอาเซียน โดยเฉพาะการเชื่อมเส้นทางโทรคมนาคมในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง คือ พม่า จีน ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย เพื่อให้ภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางโทรคมนาคมขนส่งและธุรกิจต่อเนื่อง นายอลงกรณ์ยังได้ชี้แจงให้สหรัฐฯ ทราบถึงนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นนโยบายแห่งชาติ โดยรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการนโยบายด้านการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมี รมช. เป็นรองประธาน ซึ่งได้ดำเนินการปราบปรามการละเมิด IP อย่างต่อเนื่องและจริงจังมาตลอด 2 เดือนที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาทำงาน จึงขอให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ พิจารณาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ และถอดไทยจากบัญชี PWL ต่อไป ซึ่งนางบาร์บาราผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เห็นว่าไทยมีความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหา และเห็นว่าทั้งสองฝ่ายน่าจะมีการหารือร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ โดยตนจะเดินทางไปเยือนไทยในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2552 เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างกันต่อไป นอกจากนี้ นายอลงกรณ์ยังได้พบกับองค์กรภาคประชาชนของสหรัฐฯ เช่น องค์กรเคอีไอ (Knowledge Ecology International) Essential Action และมหาวิทยาลัยอเมริกัน เป็นต้น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนไทยและประเทศกำลังพัฒนาให้ใช้ CL แก่ปัญหาการเข้าถึงยา ซึ่งตัวแทนองค์กรดังกล่าวได้ชื่นชมประเทศไทยพร้อมชี้ว่ารัฐบาลโอบามาให้ความสำคัญกับการเข้าถึงยามาก ขอให้กระทรวงพาณิชย์มีบทบาทมากขึ้นในการเจรจาเวที WHO องค์กรภาคประชาชนยังชี้ว่ามีแนวโน้มใหม่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ เพื่อแก้ไขปัญหาราคายาสูงส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพและธุรกิจภาคอื่นๆ คือ การส่งเสริมนวัตกรรมในอุตสาหกรรมยาควบคู่ไปกับการเข้าถึงยาในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป (Innovation + Access Paradigm) โดยมีสูตรคำนวนการชดเชยค่า R&D ฝ่ายไทยได้ขอให้องค์กรภาคประชาชนเหล่านี้ช่วยไทยไม่ให้ตกเป็นเป้า หรือถูกกดดันจากสหรัฐฯ ในเรื่อง CL แต่ฝ่ายเดียว โดยขอให้ช่วยทำหนังสือแจ้งความเห็นให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ประเมินปรับสถานะและถอดไทยจากบัญชี PWL ด้วย นายอลงกรณ์ยังได้มอบนโยบายให้กับหัวหน้าสำนักงานของส่วนราชการต่างๆ ที่ประจำอยู่ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ให้หาแนวทางใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มการส่งออกไทยไปสหรัฐฯ เช่น โครงการ Thailand Model การร่วมลงทุน การตั้งศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น กรมทรัพย์สินทางปัญญา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-631-2290 บริษัท นิโอ ทาร์เก็ต จำกัด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ