กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--โครงการบีอาร์ที
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มีสัตว์น้อยใหญ่ และพืชพรรณนานาชนิด ทำให้ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลก ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกจะถดถอยมากน้อยเพียงใด แต่คนไทยก็ไม่เคยอดอยากและไม่เคยอดตาย หากเพราะเพียงเดินเข้าป่าก็จะได้ของป่า ลงน้ำก็สามารถจับสัตว์น้ำ จับปลา ให้พอได้เป็นอาหาร หรือนำไปขายได้กำไรเพียงเล็กๆ น้อยๆ ให้พออยู่พอกินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ลุ่มน้ำโขงเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะปลากว่า 1.700 ชนิด และยังมีสัตว์น้ำอื่นอีกมากมาย จึงเป็นแหล่งรายได้หลักของชุมชนต่างๆ ในลุ่มน้ำโขง หากแต่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ มีการสร้างเขื่อน และระเบิดแก่ง ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้ และยังเรื่อยมาถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง
เพื่อติดตามแนวทางการพัฒนาลุ่มน้ำโขง และการตั้งรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) จึงขอเชิญสื่อมวลชนร่วมรับฟังเสวนาเรื่อง “น้ำลด ปลาหาย ตั้งรับอย่างไรกับสภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย” ในวันพุธที่ 18 มีนาคม 2552 เวลา 10.00 — 11.30 น. ณ ห้องประชุม 513 ชั้น 5 อาคาร สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ถ.โยธี)
กำหนดการ
10.00 - 10.10 น. ลงทะเบียน
10.10 - 10.20 น. ศ. ดร วิสุทธิ์ ใบไม้ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษา
นโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT)
กล่าวเปิดเวทีเสวนา และความสำคัญของการศึกษาความสัมพันธ์ของนิเวศวิทยาในลุ่มน้ำโขง
10.30 — 11.15 น. เสวนาเรื่อง “น้ำลด ปลาหาย ตั้งรับอย่างไรกับสภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย”
โดย ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผศ.ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์
ที่ปรึกษาศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค
ศ. ดร วิสุทธิ์ ใบไม้
ผู้อำนวยการโครงการ BRT
11.15 - 11.20 น. เปิดตัวหนังสือ “แม่น้ำแห่งชีวิต” รวมเล่มความรู้จากชุดโครงการวิจัย
โดย ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ
11.20 - 11.25 น. ตอบข้อซักถาม และสรุปการเสวนา
11.25 — 11.30 น. ปิดเวทีเสวนา
ดำเนินรายการโดย รังสิมา ตัณฑเลขา, โครงการ BRT
สอบถามรายละเอียด ติดต่อที่ พลอยพรรณ จันทร์เรือง
โครงการบีอาร์ที โทร. 0-2644-8150-4 ต่อ 554 โทรสาร 0-2644-8106
e-mail: ployphan.jan@biotec.or.th