แถลงการณ์จีเอ็ม

ข่าวยานยนต์ Friday March 13, 2009 17:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--เวเบอร์ แชนวิค แถลงการณ์ของจีเอ็ม ประกอบด้วยประเด็น ดังต่อไปนี้ - ในภาพรวม - การระงับการผลิตชั่วคราว โครงการสมัครใจลาออก และการปลดพนักงาน - ความเป็นไปได้ที่จะล้มละลาย (ในสหรัฐอเมริกา) - ความเป็นไปได้ที่จะล้มละลาย (ในประเทศไทย) - ความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน เนื่องด้วยมีการรายงานข่าว และการพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับจีเอ็มอยู่บ่อยครั้งในเวลานี้ เราขอออกแถลงการณ์ชี้แจงในบางประเด็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอยู่มาก ในภาพรวม สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่เจนเนอรัล มอเตอร์ส เท่านั้น หากยังรวมถึงทุกอุตสาหกรรมทั่วโลกด้วย เกือบทุกบริษัททั่วโลกกำลังหามาตรการรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้ง การเก็บออมเงินสด การปรับโครงสร้างการดำเนินงาน รวมถึงการแสวงหาการสนับสนุนจากภาครัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เราจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการดำเนินงานของเรา เพื่อรองรับกับการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องของความต้องการซื้อสินค้าที่มีราคาสูง อย่างเช่น รถยนต์ เป็นต้น จีเอ็ม มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เรามีการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนด้วยตัวเราเองมาโดยตลอด และเราเชื่อว่า แต่ละโครงการของเรานั้น มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อประเทศไทยอย่างชัดเจน การปิดโรงงานชั่วคราว โครงการสมัครใจลาออก และการปลดพนักงาน การปลดพนักงานเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับเราเสมอ การตัดสินใจใช้มาตรการปลด พนักงานต้องผ่านการพิจารณาด้วยความเป็นธรรมอย่างแท้จริง และอยู่บนพื้นฐานหลักเกณฑ์อันเข้มงวดของฝ่ายทรัพยากรบุคคลของจีเอ็ม จีเอ็มสร้างความเชื่อมั่นแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเสมอว่า จะไม่มีการใช้มาตรการนี้ด้วยความลำเอียง หรือนำเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจนี้โดยเด็ดขาด โครงการสมัครใจลาออก และการปลดพนักงาน เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ใน ภาวะที่ความต้องการซื้อรถยนต์ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้การผลิตรถยนต์ของเราต้องปรับตัวลดลงตามไปด้วย แผนการปรับโครงสร้างการดำเนินงานของเรา ครอบคลุมถึงโครงการสมัครใจลาออก ที่เสนอค่าตอบแทนแก่พนักงานที่ร่วมโครงการสูงกว่าที่กฎหมายแรงงานไทยระบุไว้ อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะวิกฤตที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น บริษัทฯจำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นๆ ซึ่งก็ยังคงเป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานของไทยกำหนด เพื่อให้ตรงตามแผนการปรับโครงสร้างของเรา ข้อเสนอผลตอบแทนของเรานั้น สูงกว่าที่กฎหมายระบุไว้ แสดงให้เห็นถึงความพยายามดูแลพนักงานของเราอย่างดีที่สุดเรายังไม่มีแผนการปลดพนักงานเพิ่มเติมแต่อย่างใด ซึ่งตรงกันข้ามกับรายงานข่าวบางชิ้นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ด้วยวิกฤตที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และความจำเป็นที่จะต้องจัดการการใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวัง เราได้ปิดโรงงานชั่วคราวมาแล้ว 2 ครั้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมา และจะปิดอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 23-27 มีนาคม 2552 รวมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ ซึ่งมีบางรายงานแจ้งข้อมูลผิด ว่าปิดถึง 3 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการคลังสินค้า เนื่องจากความต้องการรถยนต์จากลูกค้าได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง และโรงงานจะเปิดเพื่อดำเนินการอีกครั้งในวันที่ 30 มีนาคม นี้ ความเป็นไปได้ในการล้มละลาย (สำหรับในสหรัฐอเมริกา) 1. การปรับโครงสร้างธุรกิจนอกศาลล้มละลายนั้น ยังคงเป็นหนทางแก้ไขที่ดีที่สุดสำหรับจีเอ็ม และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บริษัทได้วางแผนอย่างระมัดระวังและรอบคอบเพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจและฟื้นฟูจีเอ็ม ให้อยู่รอดต่อไปได้ในระยะยาว และจีเอ็ม กำลังดำเนินตามแผนอย่างหนักแน่น รวมถึงปฏิบัตต่างๆ ที่ได้ยื่นเสนอไปในแผนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ แผนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งนั้น เช่นเดียวกับแผนธุรกิจอื่นๆ คือจะต้องพิจารณาถึงทุกๆ สถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเชิงบวกหรืออย่างไรก็ตาม บริษัทฯเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการปรับโครงสร้างภายใต้ศาลล้มละลายจะมีความเสี่ยงมหาศาล ที่สำคัญที่สุดคือการสูญเสียรายได้ครั้งใหญ่อันเนื่องมาจากยอดขายที่ต้องลดลง อันที่จริงแล้ว จีเอ็ม ก็ยังยืนยันกับมุมมองว่าการล้มละลายไม่ใช่สิ่งที่บริษัทต้องการพิจารณาในขณะนี้ จีเอ็มกำลังดำเนินการอย่างสุดความสามารถเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางธุรกิจ และเชื่อมั่นว่าจะนำมาซึ่งการเติบโตอย่างประสบความสำเร็จในระยะยาวต่อไป ความเป็นไปได้ในการล้มละลาย (สำหรับในประเทศไทย) 1. บริษัทจีเอ็มในส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค รวมถึงประเทศไทย สามารถพึ่งพาตัวเองได้และมีความสามารถที่จะดำเนินงานได้โดยอิสระ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการดำเนินงานงานโดยอิสระจากบริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกา ทั้งในด้านของผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และเงินทุน ความคุ้มครองจากภาวะล้มละลายตามมาตรการ 11 หากมีก็เป็นเพียงนัยสำคัญต่อบริษัทแม่ในสหรัฐฯเท่านั้น ทั้งนี้จีเอ็ม อาเซียนจะยังคงมุ่งมั่นต่อพันธกิจหลักของเราที่มีให้กับลูกค้าในภูมิภาคนี้ ซึ่งก็คือการผลิตนำเสนอยานยนต์คุณภาพ บริการคุณภาพ รวมถึงเทคโนโลยีที่ดีที่สุด เพื่อการเติบโตในการดำเนินดำเนินธุรกิจของเราในระยะยาว 2. อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้ว วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ทุกอุตสาหกรรมรวมถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ต่างได้รับผลกระทบในระยะสั้น จีเอ็ม อาเซียนได้เฝ้าจับตาดู และวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาแผนการดำเนินงานที่ใช้ในการรองรับสถานการณ์อยู่เป็นระยะ ซึ่งบริษัทยานยนต์อื่นๆต่างก็เผชิญกับอุปสรรคเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แต่ละบริษัทต่างก็มีวิธีการจัดการกับปัญหาที่แตกต่างกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เหมือนกัน นั่นก็คือการผ่านพ้นวิกฤตกาณ์นี้ไปให้ได้ และพัฒนาวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ในส่วนภาคพื้นอาเซียน จีเอ็มอาเซียน เชื่อว่า เมื่อสถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นบริษัทยานยนต์ทุกบริษัทจะกลับมาฟื้นตัวและมีความสามารถในการแข่งขันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก และด้วยคุณภาพของสินค้า รวมถึงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ และเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานของเรา ท้ายที่สุดแล้วประโยชน์ก็จะตกอยู่กับผู้บริโภค 3. แท้จริงแล้ว บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ได้อยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการล้มละลาย และเราไม่มีความตั้งใจที่จะยื่นเข้าภาวะล้มละลายแต่อย่างใดทั้งสิ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับความเข้าใจของสาธารณชนที่ได้รับฟังข่าว และข้อมูลที่บิดเบือนและไม่เป็นความจริงทั้งหมด 4. ล่าสุด มีนิตยสารฉบับหนึ่งรายงานข่าวว่าบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีแนวโน้มสูงที่จะล้มละลายนั้น เราขอชี้แจงว่าข้อมูลที่ระบุในข่าวฉบับนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากตัวเลขที่ระบุในรายงานดังกล่าวมิได้พิจารณาจากตัวเลขรายได้รวมของบริษัทฯ เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดอันดับ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ - บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเพียงหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการตลาด และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด - ดังนั้น จึงเป็นการสรุปเรื่องในบทความอย่างไม่ถูกต้อง โดยการที่พิจารณาสถานะทางการเงินของบริษัทฯจากหน่วยงานดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียว โดยมิได้คำนึงถึงหน่วยงานอื่นๆที่อยู่ภายใต้บริษัทเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น ข้อสรุปดังกล่าว เป็นตัวเลขที่มาจากการพิจาณาในปี 2551 เพียงปีเดียว ในขณะที่บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2543 - โดยรวมแล้ว บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่มาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและในภูมิภาคในช่วงสามปีหลังมานี้ สร้างผลกำไรที่สมเหตุสมผล - เราได้มีโอกาสในการลงทุนเพิ่มเติมกับธุรกิจของเราในประเทศไทย ขณะที่ธุรกิจของเราสร้างผลกำไร ซึ่งการลงทุนดังกล่าว ได้รวมถึงการลงทุนในโครงการโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และ โครงการผลิตรถปิกอัพสายพันธุ์ใหม่ ก่อนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ส่งผลกระทบในทุกอุตสาหกรรม ความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน 1. จีเอ็ม ยึดมั่นในนโยบาย และกฎระเบียบเรื่องความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดที่สุด ซึ่งไม่ใช่แค่ให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงานของไทยเท่านั้น หากยังรวมถึงข้อบังคับตามกฎหมายแรงงานสากลด้วย จีเอ็มไม่เคยประนีประนอมหรืออะลุ้มอล่วยในประเด็นเรื่องความปลอดภัย 2. นอกจากนี้ เราเป็นบริษัทที่ได้รับการรองรับตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO และมีนโยบายที่เข้มงวดและชัดเจนที่จะต้องปฏิบัติตามความปลอดภัยในการดำเนินงาน การสวมผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันการสูดดมก๊าซ กลิ่น และสารเคมีที่เป็นอันตราย เป็นส่วนหนึ่งของข้อบังคับ ที่จีเอ็มไม่เคยโอนอ่อน หรืออะลุ้มอล่วยในข้อบังคับนี้ 3. นอกจากการมุ่งเน้นด้านความปลอดภัย และการคำนึงถึงสวัสดิภาพของพนักงานแล้ว เรายังมีแผนกดูแลสุขภาพตลอดเวลาที่มีการทำงานของพนักงานประจำอยู่ที่โรงงาน โดยมีพยาบาล และแพทย์ (ในบางครั้ง) ประจำอยู่ตลอดเวลาที่พนักงานปฏิบัติงานอยู่ในโรงงาน 4. จีเอ็ม ไม่เพียงแต่จะมีประวัติด้านความปลอดภัยที่ชัดเจนเท่านั้น หากเรายังมีชื่อเสียงในด้านการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ? ได้รับรางวัลสถานที่ทำงานที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมดีเด่น จากกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม 8 ปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2544 - 2551) ? ดำเนินงานได้นานถึง 43 ล้านชั่วโมง โดยปราศจากอุบัติเหตุ ? ได้รับรางวัลการจัดการคุณภาพอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมจากนายกรัฐมนตรีในปี 2547 ? ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติด้านการคุ้มครองแรงงานยอดเยี่ยมจากกระทรวงแรงงานเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2546 - 2548) ข้อชี้แจงเกี่ยวกับข่าวที่เกิดขึ้น จีเอ็ม ประเทศไทย ขอชี้แจงในประเด็นการรายงานข่าวเกี่ยวกับอดีตพนักงานของจีเอ็ม (คุณเอก ทองเอี่ยม) ที่มีรายงานออกไปอย่างไม่ถูกต้องในบางประเด็น - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมาธิการการประกันสังคม ได้ตรวจสอบความจริงและสรุปผลที่เกิดขึ้นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณเอก ไม่ได้เกิดจากความหละหลวม หรือข้อบกพร่องของจีเอ็ม รวมถึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณเอกด้วย อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับคุณเอกในโรงงานพ่นสีนั้นมีสาเหตุเกิดจากสุขภาพร่างกายของเขา ซึ่งในภายหลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์คินสัน - คุณเอก เริ่มทำงานเป็นพนักงานชั่วคราวกับจีเอ็ม (จากบริษัทจัดหางาน Manpower) ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 ในโรงงานพ่นสี ไลน์ ม้อยแซนด์ หน้าที่รับผิดชอบของเขาคือการขัดเปียกในสายการผลิต - ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2549 คุณเอก ได้รับการบรรจุให้เป็นพนักงานประจำของจีเอ็ม ประเทศไทย - ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2550 คุณเอก ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์คินสัน จีเอ็มจึงเปลี่ยนให้คุณเอกมาทำงานที่เบาลงกว่าเดิมในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสายการผลิตรถยนต์ โดยหน้าที่หลักของเขาคือการซักทำความสะอาด อบแห้ง และพับชุดที่ใช้ในโรงงานพ่นสี สำหรับข้อมูลหรือรูปภาพเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณฐิติณี จารุวิจิตรรัตนา หรือสถาปนา กาญจนประกร เวเบอร์ แชนวิค บริษัท แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 02 343 6000, 081 919 7593 อีเมล์: Thitinee@webershandwick.com, Satapana@webershandwick.com หรือ คุณศศินันท์ ออลแมนด์ ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ประจำประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 0-2791-3400 โทรสาร 0-2937-0441 อีเมล์: sasinan.allmand@gm.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ