ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552

ข่าวทั่วไป Tuesday March 17, 2009 08:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 มี.ค.--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552 และในช่วง 5 เดือนแรกปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 — กุมภาพันธ์ 2552) นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 99,279 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณรวม 324,089 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 24,603 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวมทั้งสิ้น 299,486 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนบทบาทหลักของนโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจตามเป้าหมายที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ฐานะการคลังเดือนกุมภาพันธ์ 2552 1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 80,400 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 27,809 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 25.7) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมหลักในสังกัดกระทรวงการคลังจัดเก็บได้ลดลง โดยภาษีที่จัดเก็บต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่ผ่านมาที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม อากรขาเข้า ภาษีรถยนต์ และภาษีธุรกิจเฉพาะ นอกจากนี้ในเดือนนี้ได้มีการจัดสรรรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ฯ งวดที่ 1 จำนวน 8,651 ล้านบาท (ปีที่แล้วจัดสรรไปแล้วไปเดือน ม.ค. 51 จำนวน 10,015 ล้านบาท) 1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 179,679 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 61,021 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 51.4) ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวเป็นรายจ่ายประจำจำนวน 132,739 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว โดยเป็นผลจากรายจ่ายชดใช้เงินคงคลังจำนวน 27,540 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุนจำนวน 33,830 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 217.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากได้มีรายจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. จำนวน 26,030 ล้านบาท และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 13,110 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 30.8 (ตารางที่ 1) ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 หน่วย: ล้านบาท เดือนกุมภาพันธ์ เปรียบเทียบ 2552 2551 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 166,569 108,633 57,936 53.3 1.1 รายจ่ายประจำ 132,739 97,960 34,779 35.5 1.2 รายจ่ายลงทุน 33,830 10,673 23,157 217 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 13,110 10,025 3,085 30.8 3. รายจ่ายรวม (1+2) 179,679 118,658 61,021 51.4 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 1.3 จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้นส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ขาดดุล 99,279 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 50,856 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจากการได้รับชดใช้เงินคงคลังจำนวน 27,540 ล้านบาท การออกตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 9,000 ล้านบาท และได้รับรายได้ส่วนเกินจากการออกพันธบัตรจำนวน 2,445 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 48,423 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้เงินโดยออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง จำนวน 69,530 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ชดเชยการขาดดุลเกินดุลจำนวน 21,107 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดเดือนกุมภาพันธ์ 2552 หน่วย: ล้านบาท กุมภาพันธ์ เปรียบเทียบ 2552 2551 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 80,400 108,209 -27,809 -25.7 2. รายจ่าย 179,679 118,658 61,021 51.4 3. ดุลเงินงบประมาณ -99,279 -10,449 -88,830 850.1 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 50,856 11,214 39,642 353.5 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -48,423 765 -49,188 -6,429.80 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 69,530 15,270 54,260 355.3 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 21,107 16,035 5,072 31.6 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 2. ฐานะการคลังในช่วง 5 เดือนแรกปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 — กุมภาพันธ์2552) 2.1 รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 452,348 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 82,502 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 15.4) โดยมีสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีที่สำคัญ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรขาเข้า และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมลดลง รวมทั้งการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ลดลงมาก ในขณะที่การคืนภาษีของกรมสรรพากรเพิ่มขึ้นมาก 2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 776,437 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 106,103 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 15.8) โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 706,890 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 38.5 ของวงเงินงบประมาณ (1,835,000 ล้านบาท) โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 592,977 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.8 และรายจ่ายลงทุน 113,913 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.8 และรายจ่ายปีก่อน 69,547 ล้านบาท (ตารางที่ 3) ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 หน่วย: ล้านบาท 5 เดือนแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2552 ปีงบประมาณ 2551 จำนวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 706,890 613,445 93,445 15.2 1.1 รายจ่ายประจำ 592,977 495,060 97,917 19.8 1.2 รายจ่ายลงทุน 113,913 118,385 -4,472 -3.8 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 69,547 56,889 12,658 22.3 3. รายจ่ายรวม (1+2) 776,437 670,334 106,103 15.8 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 324,089 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 24,603 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการได้รับชดใช้เงินคงคลังจำนวน 27,540 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ของรัฐบาลขาดดุล 299,486 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน รวมทั้งเพื่อเป็นการประหยัดภาระดอกเบี้ย จึงได้ชดเชยการขาดดุลดังกล่าวด้วยการออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลังจำนวน 128,530 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 170,956 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 5 เดือนแรกปีงบประมาณ 2552 หน่วย: ล้านบาท 5 เดือนแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2552 ปีงบประมาณ 2551 จำนวน ร้อยละ 1. รายได้ 452,348 534,850 -82,502 -15.4 2. รายจ่าย 776,437 670,334 106,103 15.8 3. ดุลเงินงบประมาณ -324,089 -135,484 -188,605 139.2 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 24,603 -14,443 39,046 -270.3 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -299,486 -149,927 -149,559 99.8 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 128,530 74,270 54,260 73.1 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -170,956 -75,657 -95,299 126 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ต่อ 3545 3558

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ