กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์
สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ กับความเปลี่ยนแปลงตลอด 80 ปี
ในปี 2549 นี้ ท่ามกลางความดีใจของประชาชนชาวไทย ที่ได้จัดงานอันเป็นมหามงคล ในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี และอีกหนึ่งราชวงศ์สำคัญของโลกที่ได้มีการ เฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสพิเศษอย่างนี้เช่นกันคือ ราชวงศ์วินเซอร์ โดย สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ ที่สอง ทรงมีพระชนมายุ ครบ 80 พรรษา ประชาชนชาวอังกฤษได้สดุดี เทิดพระเกียรติอย่างยิ่งใหญ่ ติดตามชมพระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ ที่สอง สมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ซึ่งมีประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ และเกรียงไกร พิเศษกับสารคดีชุดยิ่งใหญ่ ใหม่ล่าสุดจากบีบีซี ลอนดอน เรื่องราวพระราชกรณียกิจ ชีวิตส่วนพระองค์ พร้อมเรื่องเล่าชวนประทับใจจากผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ในวาระมหามงคลพระชนมายุครบ 80 พรรษา ที่รายการ จอโลก Biography วันพุธที่ 16 และวันพุธที่ 23 สิงหาคม 2549 เวลา 20.30 น. ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี
ตลอดระยะเวลา 80 ปี ทรงเป็นทั้งพระชนนี พระชายา และราชินีในองค์เดียว ทรงเป็นสตรีที่น่าทึ่ง หลายปีมาแล้วกับการทรงงานอยากหนัก และไม่เคยหยุด ทรงเห็นการเปลี่ยนแปลงของชีวิตรอบด้าน ตั้งแต่ การที่พระองค์ไม่คาดคิดเรื่องชีวิตวัยเด็กของพระองค์ ท่านไม่ได้ประสูติในวัง เพื่อขึ้นเป็นราชินี แต่นี่คือความรู้สึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มาจากครอบครัว ทรงเป็นเด็กร่าเริง เปิดเผย ซุกซน จนกระทั่งพระบิดาต้องทรงสืบราชบัลลังก์โดยกะทันหัน ทำให้พระองค์เลิกไปโรงเรียน ไม่มีเพื่อน หันไปสนใจการขี่ม้าและมีสุนัขเป็นเพื่อน พระองค์เติบโตโดยเฝ้ามองดูพระบิดา ผู้ซึ่งเอาชนะความประหม่า อาย และเป็นตัวแทนของจักรวรรดิช่วงสงคราม อีกการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของชีวิตพระองค์คือ การได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟิลลิป แห่งเอดินเบอระราชวงศ์กรีก ณ โบสถ์เวสต์มินสเตอร์ เป็นงานที่ยิ่งใหญ่หรูหรางานแรกภายหลังสงคราม จากนั้น 1 ปีต่อมา ก็ได้มีพิธีรับศีลโอรสน้อยเจ้าชาย รัชทายาทผู้จะสืบราชบัลลังก์ ทรงพระนามว่า ชาร์ลส
ปี 1953 เมื่อพระองค์ต้องก้าวขึ้นครองบัลลังก์สืบต่อจากพระบิดา ด้วยวัยเพียง 27 พรรษา นี่คือความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชีวิต ภาระอันยิ่งใหญ่การเป็นผู้นำของประชาชนกว่า 125 ล้านคน ปกครองอังกฤษ นิวซีแลนด์ และแคนาดา และรวมถึงประมุขของรัฐในเขตปกครองตนเอง 14 แห่ง ที่มีพลเมืองเกิน 1 ใน 3 ของประชากรโลก ทรงดำเนินการปกครองโดยได้แบบอย่างจากพระบิดา ในการจัดการทุกอย่างให้เหมาะสม ทรงมีคติประจำใจที่บรรพบุรุษยึดถือ เป็นคติอันสูงส่งว่า “ฉันขอประกาศต่อหน้าพวกท่านทั้งหลายว่า ตลอดชีวิตของฉัน ไม่ว่าจะยาวนานหรือสั้น จะขออุทิศแด่การรับใช้พวกท่าน รับใช้ครอบครัวใหญ่ของพวกเราทั้งประเทศ” และทรงจำคำสอนของพระบิดาที่ว่า ทุกคนที่เราพบ เราจะต้องจดจำวินาทีนั้นไว้ ไม่ทำอะไรที่เป็นการสร้างความเจ็บปวด หรือโกรธเคือง เพราะฉะนั้นพระองค์จึงอยู่ต่อหน้าสาธารณชนด้วยสำนึก ในการเป็นผู้รับใช้พสกนิกรเสมอ และยังกล่าวอีกว่า “ประมุขต้องทันสมัย ตามโลกปัจจุบันด้วย” และทรงตระหนักว่าส่วนหนึ่งที่สำคัญ ก็คือการไม่ห่างหายจาก พสกนิกรและปรับตัวตามกาลเวลา ทำให้พระองค์ทรงเป็นราชินีที่รักของทั่วหล้า
ผ่านช่วงของความน่าปิติยินดี พระองค์ยังต้องพบความเศร้าโศกครั้งใหญ่ ในปี 2002 เมื่อพระชนนีสวรรคต ด้วยพระชนมายุ 101 ปี และพระขนิษฐาเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต ก็สิ้นพระชนม์อีกในปีเดียวกัน ทำให้พระองค์ทรงหันมามุ่งแต่พระราชกรณียกิจ ทรงประทานความหมายใหม่แก่ระบอบกษัตริย์ และนำไปสู่จุดที่ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้น ระบอบกษัตริย์ก็ยังคงอยู่ ทรงใช้วิธีปกครอง แต่ไม่ครอบงำ และในทางปฏิบัติทรงไม่ลังเล ที่จะออกความเห็น ทั้งยังทรงรับฟังด้วยความอุตสาหะ ทรงพระปรีชาในการเข้าถึงเบื้องลึกของสิ่งที่เกิดขึ้น รับรู้ได้ถึงนัยยะที่แฝงอยู่
ชีวิตในช่วงเริ่มต้นของปีที่ 80 ของราชินี ทรงมีพระราชกรณียกิจไม่ว่างเว้น ส่วนใหญ่จะเป็นงานประจำที่มาพร้อมกับความเป็นประมุขของประเทศ ทรงมีความเป็นกษัตริย์โดยตลอด ทรงเป็นผู้นำคริสตจักร ผู้นำกองทัพ ทรงคิดว่าสิ่งที่ทำเป็นชีวิตมากกว่าจะเรียกว่างาน ซึ่งในภาวะคับขัน มงกุฎและพระราชินี คือปราการสุดท้ายที่จะต่อต้านเผด็จการ ระบอบกษัตริย์จะยังคงอยู่ ยิ่งระบอบกษัตริย์ในปัจจุบันมั่นคงยิ่งกว่ายุคไหน ๆ เพราะบทบาทอันเหมาะสมของระบอบกษัตริย์ ที่มีความรูสึกอันแรงกล้าต่อหน้าที่ เช่นการเยือนต่างประเทศ เป้าหมายของราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งพระองค์ได้แยกประเด็น ในเรื่องความขัดแย้งเป็นหน้าที่ของนายกฯ ส่วนพระราชกรณียกิจ คือการเป็นตัวแทนของทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังมีงานสังคม 378 งานในอังกฤษ และต่างประเทศ 48 งาน ว่ากันว่าพระองค์ตั้งใจจะทรงเสด็จ 9 ใน 10 ของงานใหญ่ โดยกำหนดการจะประทับแค่ 20 นาที แต่พระราชินีประทับยืนเกือบชั่วโมงครึ่ง ทรงมีรอยยิ้มละไม ไม่เห็นร่องรอยของความเหน็ดเหนื่อยเลย
ตลอดชีวิตของพระองค์มีเรื่องราวที่สั่นคลอนระบอบกษัตริย์ และองค์ราชินี อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเมื่อชีวิตสมรสของเจ้าฟ้าชายชาร์ลสและเจ้าหญิงไดอาน่า มาถึงจุดจบและลงเลยแบบไม่ได้สวยงามเท่าที่ควรนัก แม้ชีวิตสมรสของลูกจะแตกหัก และคนส่วนใหญ่ของอังกฤษยกย่องไดอาน่า ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความหมายของความเป็นอังกฤษยุคใหม่ พระราชินีทรงระงับความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยความอดทน และแล้วเมื่อเจ้าหญิงไดอาน่า ทรงสวรรคตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ และพระองค์ก็ทรงยอมรับในพลังของไดอาน่า ในพระราชพิธีศพเกิดเหตุไม่คาดฝัน เมื่อโลงพระศพเคลื่อนผ่าน พระองค์ทรงค้อมพระเศียรเป็นการแสดงความเคารพ ซึ่งเป็นการแสดงอิริยบถที่ยอดเยี่ยม พระองค์ทรงรู้จักสื่อถึงความเศร้าโศก แยกออกจากเรื่องส่วนตัว ทรงไม่โปรดที่จะพูดถึงปัญหาในราชวงศ์ในที่สาธารณะ แต่ถ้าเป็นปัญหาของพสกนิกรจะแสดงออกอย่างรวดเร็ว อีกเหตุการณ์สำคัญ และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อังกฤษ ที่ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์อภิเษกกับหญิงสามัญชน คู่รักสูงวัยที่สุขุม เจ้าฟ้าชายชาร์ลส และคามิลล่า ปาร์คเกอร์ โบว์ล ทั้งคู่รับโอวาทที่คมคายจากพระองค์โดยทรง “เปรียบโอรสดั่งม้าที่ข้ามอุปสรรค โดยปลอดภัยและมาถึงหลักชัย” ทรงรู้ซึ้งว่าการอภิเษกที่อื้อฉาวนี้ ได้พลิกโฉมระบอบกษัตริย์ยุคใหม่ เหตุการณ์หลาย ๆ อย่างทำให้พระองค์ทรงเข้าใจว่า ราชวงค์ยุคใหม่ ต้องเปิดเผยชีวิตส่วนพระองค์ต่อสาธารณะในฐานะเป็นคนสำคัญ เป็นที่สนใจของประชาชน จึงทรงแสดงพระองค์อย่างคนธรรมดา ทำตัวเรียบง่าย ทุกครั้งที่พระองค์ออกพบประชาชน ทรงเป็นศูนย์รวมพลังใจ ทรงสนใจผู้คน ทรงมองตาพวกเขา ทรงสัมผัสมือ และรับรู้เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ของพวกเขาทุกอย่าง
ตลอดระยะเวลา 50 กว่าปี แห่งการปกครองพระองค์ทรงยืนหยัด เป็นราชินีที่มุ่งมั่น ทรงตัดสินพระทัย แน่วแน่ว่า พระองค์เป็นใคร และจะทำอะไร พระองค์ไม่เคยถอยหนี หรือซวนเซ แม้ประเทศต่าง ๆ โดยรอบจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่เคยแสดงให้เห็นถึงพลังที่ลดน้อยถอยลง สำหรับพระองค์ในวัย 80 ปี ทรงงดงามสมวัย และทรงทำหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยม สมกับตำแหน่งกษัตริย์ของชาวอังกฤษ ติดตามชมสารคดีใหม่ล่าสุดจากบีบีซี ลอนดอน ที่รายการจอโลก Biography วันพุธที่ 16
และวันพุธที่ 23 สิงหาคม 2549 เวลา 20.30 น. ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
บริษัท แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ จำกัด
โทร. 0-2434-8300
สุจินดา, แสงนภา, ชลธิชา
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net