กรุงเทพฯ--19 มี.ค.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์
อาวียองซ์ แบรนด์ความงามระดับพรีเมี่ยมของยูนิลีเวอร์ นำโดย สุชาดา ธีรวชิรกุล กรรมการผู้จัดการ ภาคธุรกิจผลิตภัณฑ์ชั้นสูง บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด สู้กระแสเศรษฐกิจถดถอย จัดสัมมนา “Change เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส” ระดมวิทยากรชั้นนำวิเคราะห์วิกฤติการณ์เศรษฐกิจและวิธีรับมือ ได้แก่ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของเมืองไทย , โชค บูลกุล นักธุรกิจผู้ฟลิกฟื้นธุรกิจฟาร์มโชคชัย และ วิสูตร เดชะภัทรวสุ อดีตผู้บริหารสถาบันการเงินกับโอกาสธุรกิจใหม่ในยุคเลย์ออฟพนักงาน ท่ามกลางผู้สนใจร่วมงานนับพันคน ณ หอประชุมมหิศร อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า
สุชาดา ธีรวชิรกุล กรรมการผู้จัดการ ภาคธุรกิจผลิตภัณฑ์ชั้นสูง บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวถึงการจัดสัมมนา Change ในครั้งนี้ว่า “เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ถดถอย ในฐานะที่ อาวียองซ์เป็นธุรกิจที่ใส่ใจผู้บริโภคมาโดยตลอด จึงเล็งเห็นว่าการรับมือ เตรียมตัวให้พร้อมกับยุคที่เสี่ยงต่อการลงทุน การเลย์ออฟพนักงาน ต้องทำอย่างไร จึงได้จัดสัมมนา Change ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยระดมวิทยากรชั้นนำของเมืองไทยทั้งด้านการวิเคราะเศรษฐกิจ , ตัวอย่างการต่อสู้พิษเศรษฐกิจ และการมองธุรกิจสำรองให้กับชีวิต ซึ่งการสัมมนา Change จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน และจัดใหญ่ไตรมาสละครั้ง”
ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ นักเศรษฐศาสตร์และคอลัมนิสต์ด้านเศรษฐกิจชั้นนำของไทย กล่าวว่า “ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณถดถอยมาโดยตลอด และเริ่มหนักในช่วงปลายปี 50 จากวิกกฤตซับไพร์มของสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลกระทบแก่เศรษฐกิจทั่วโลก และคาดว่าจะกินระยะเวลานานถึง 3 ปี (36 เดือน) แต่อย่างไรก็ตามแม้หลายสถาบันจะคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตต่ำเป็นประวัติการณ์ จน GDP ในไตรมาสแรกจะติดลบ 5-6 % ตัวเลขว่างงานในบางประเทศสูงกว่า 10% ส่วนในไทยว่างงานถึง 3.5 % ของแรงงานทั้งหมด แต่วิกฤตนี้ยังรุนแรงน้อยกว่ายุคฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 จึงเชื่อว่าจะสามารถผ่านพ้นไปได้ ในอีกประมาณ 21 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตามในวิกฤตก็ยังมีโอกาสเสมอ จากสัญญาณที่เริ่มดีขึ้น เช่น ธนาคารรายใหญ่ 3 แห่งของสหรัฐคาดว่าจะมีกำไรขึ้นในปีนี้ , ดัชนีค้าปลีกสหรัฐติดลบน้อยลง , การบริโภคและการท่องเที่ยวของไทยเริ่มกระเตื้องขึ้น , การเมืองเริ่มเข้าที่เข้าทาง โดยรวมแม้จะดูไม่ค่อยดี แต่ไม่ใช่เสียทุกอย่าง ดังนั้น ผู้ที่อยากทำธุรกิจจึงต้องศึกษาและเลือกบริษัทหรือผู้ร่วมทุนด้วยที่มีเครือข่ายมั่นคง เป็นแบรนด์ที่ได้รับความเชื่อมั่น และคาดว่าหลังเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วจะเกิดการแข่งขันสูง”
โชค บูลกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท ฟาร์มโชคชัย กล่าวถึงวิกฤตธุรกิจที่ฝ่าฟันมาสำเร็จว่า “เข้ามาสานต่อธุรกิจฟาร์มโชคชัยในช่วงวิกฤต มีหนี้สินกว่า 500 ล้าน เชื่อมั่นว่าการเกษตรเป็นธุรกิจที่ประเทศไทยสั่งสมประสบการณ์มานาน จึงได้เพิ่มประสิทธิภาพกับธุรกิจที่มีด้วยการท่องเที่ยวลงไป โดยตั้งใจให้เป็นธุรกิจที่มาจากดินไปสู่ภูมิปัญญา โดยเริ่มพัฒนาจุดแรกเริ่มที่คนของเราก่อน ให้เขามีความภูมิใจในหน้าที่ แต่งกายดูดี เต็มที่กับการทำงานในฐานะตัวแทนของฟาร์ม ต่อมาเป็นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจให้มากขึ้น สำหรับผมคือนักท่องเที่ยวทุกคน ซึ่งจะบอกต่อความประทับใจสู่คนอื่นๆ ฉะนั้น การให้บริการจึงสำคัญที่สุด ต้องทำให้ดีเหนือความคาดหมาย และให้คนมีส่วนร่วมด้วยจึงจะน่าจดจำ โดยใช้หลักคิดแบบเด็ก ทำแบบผู้ใหญ่ จินตนาการไปในสิ่งที่อยากทำ แล้วค่อยๆ เอาประสบการณ์มาใส่สร้างให้เป็นจริง เช่น ไอศกรีม เวิร์คช็อป เป็นสิ่งที่เด็กถึงผู้ใหญ่ก็ชอบ เรามีวัตถุดิบพร้อม และเน้นสร้างความจดจำด้วยการให้ลงมือทำเอง และเอากลับบ้านได้ ทั้งนี้ การทำธุรกิจจะต้องมองให้รอบด้าน หาช่องทางที่ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด บนความเข้าใจความสามารถและการบริหารความเสี่ยงของตัวเอง และหา Role Model หรือฮีโร่ในใจเพื่อเป็นแรงผลักดันจากภายใน เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่อยากเป็นไม่ใช่เปลี่ยนแต่ภายนอก ยิ่งในช่วงวิกฤตนี้ หากวางแผนมาดี มีระบบ จะเหมาะอย่างยิ่งในการรุก “
วิสูตร เดชะภัทรวสุ อดีตผู้บริหารสถาบันการเงินมากว่า 20 ปี กับโอกาสทางธุรกิจที่ค้นพบ กล่าวว่า “จากงานประจำด้านการวิเคราะห์ธุรกิจการเงินเพื่อสินเชื่อมากว่า 20 ปี เล็งเห็นว่าการมองหาระบบสำรองของชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในยุคเศรษฐกิจขาลงที่ส่งผลทั้งลูกจ้าง พนักงาน จนกระทั่งเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการก็ได้รับผลกระทบมากน้อยต่างกันไป ทั้งนี้ ธุรกิจที่มองหาไว้เป็นรายได้เสริมหรือรายได้หลักในอนาคต อาจเป็นได้หลายลักษณะ ซึ่งมีข้อดี ข้อด้อย แตกต่างกัน เช่น ธุรกิจ SME ต้องผ่านประสบการณ์การเรียนรู้มากพอควร แม้จะเล็กแต่ก็ใช้เงินลงทุนมาก มักประสบปัญหาขาดทุนในช่วง 3-5 ปีแรก ยิ่งช่วงหลังนี้มีการแข่งขันสูง เช่น ร้านกาแฟสด สปา ที่มีมากเกลื่อนเมือง การจะดูโดดเด่นจึงต้องอาศัยความพิเศษด้วยนวัตกรรมที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่มากขึ้น และแบรนด์ที่สำเร็จต้องอาศัยการสร้างแบรนด์เป็นเวลานาน , ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์ ดีตรงที่มีความสำเร็จรูปทุกอย่างทั้งระบบ วัตถุดิบ ความน่าเชื่อถือ แต่ก็หมายถึงต้องใช้เงินซื้อมาทั้งนั้น อีกทั้งยังมีค่าแรกเข้า ค่ารายเดือน (Loyalty Fee) ค่าการตลาด (Marketing Fee) และขยายสิทธิ์ต่อไม่ได้ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงทำให้หลายคนยังไม่ได้เริ่มทำธุรกิจ เนื่องจากไม่มีเงินทุน ไม่มีเวลา หรือยังไม่เจอธุรกิจที่ตรงความต้องการ สำหรับผมแม้จะทำงานอยู่ในระดับผู้บริหารที่มั่นคง แต่ไม่เคยประมาท และมองหาระบบสำรองให้ชีวิตอยู่เสมอ จนมาพบธุรกิจขายตรง ซึ่งแต่ก่อนนี้ถูกชักชวนและปฏิเสธมาแล้วถึง 2 ครั้ง แต่เมื่อได้มาศึกษาจริงจึงพบข้อดีที่แตกต่าง คือ เป็นธุรกิจที่ต้นทุนต่ำ เหมาะกับคนมีงบประมาณน้อย หรือคนอยากทดลองเป็นอาชีพเสริมเงินค่าสมัครก็ไม่เสียหายอะไรมาก มีระบบการทำงานที่ชัดเจนจากบริษัท คาดการณ์ความสำเร็จได้ มีพลังทวี เพิ่มพูน และเติบโตได้อย่างไร้ขีดจำกัด และยังถ่ายทอดเป็นมรดกสู่ลูกหลานได้ และสถิติการเติบโตโดยรวมก็เจริญขึ้นเป็นเท่าตัวจากปี 2006 -2007 สวนทางเศรษฐกิจขาลง สามารถทำยอดขายทั่วโลกสูงถึง 114,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4 ล้านล้านบาท และมีจำนวนผู้เข้าร่วมธุรกิจขายตรงรวมกว่า 62 ล้านคนทั่วโลก ในกว่า 170 ประเทศ ผู้ที่กำลังมองหาโอกาสทางธุรกิจ ขายตรงก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตนี้ที่ได้เปรียบด้านการเข้าถึงลูกค้าได้เหมือนเดิม ยิ่งช่วงนี้ผู้บริโภคไม่ทดลองสินค้าพร่ำเพรื่อ แต่เลือกใช้แต่ของคุณภาพเท่านั้น การบอกต่อคุณภาพจากบุคคลถึงบุคคลก็มีผลให้ตัดสินใจซื้อง่ายขึ้นด้วย”
ในวิกฤตยังมีโอกาสอยู่เสมอ เตรียมตัว วางแผน จัดการระบบของตัวเอง ก็พร้อมยิ้มสู้เศรษฐกิจถดถอยได้อย่างสบายๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
บริษัท แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ จำกัด โทร.0-2434-8300
คุณสุจินดา , คุณแสงนภา , คุณชินนารี