ไอบีเอ็มจับมือกับพันธมิตรโชว์นวัตกรรม RFID ในงาน Thailand RFID Summit 2006 นำเสนอโซลูชั่นครบวงจรเพื่อการพัฒนาธุรกิจออนดีมานด์

ข่าวเทคโนโลยี Monday February 20, 2006 12:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ก.พ.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย
ไอบีเอ็มประกาศความร่วมมือกับบริษัทคู่ค้า ซึ่งเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี RFID นำเสนอโซลูชั่นครบวงจร เพื่อนำธุรกิจพัฒนาสู่ยุคนวัตกรรมในรูปแบบของธุรกิจออนดีมานด์
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ร่วมกับ Asia RFID Hub จากสิงคโปร์จัดงาน Thailand RFID Summit 2006 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2549 เพื่อรวมสุดยอดผู้เชี่ยวชาญระดับสากลเพื่อแนะนำนวัตกรรมแห่งเทคโนโลยีระบบระบุอัตลักษณ์ของวัตถุโดยคลื่นความถี่วิทยุ หรือ RFID (Radio Frequency Identification) เพื่อธุรกิจแห่งอนาคต
นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายธุรกิจทั่วไปและธุรกิจอุตสาหกรรม บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า "RFID จะเข้ามาแปรสภาพระบบการบริหารจัดการซัพพลายเชนให้เป็นแบบออน
ดีมานด์ ทั้งทางด้านศักยภาพทางเทคโนโลยีและทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบ อยู่บนมาตรฐานเปิดทั้งทางด้านเทคโนโลยี กระบวนการดำเนินธุรกิจ และการบริหารจัดการข้อมูลบนมาตรฐานเดียวกัน อันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขัน และการปรับปรุงและยกระดับกระบวนการการดำเนินธุรกิจในด้านต่างๆ อันเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรธุรกิจที่ต้องปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลง”
RFID เป็นนวัตกรรมล่าสุดที่จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เทคโนโลยีนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกรรมต่างๆ ตั้งแต่การตรวจสอบกระบวนการผลิต บริหารเส้นทางการส่งสินค้า ไปจนถึงการดูแลร้านค้าปลีกไปจนถึงมือผู้บริโภค ภายในงานนี้ ไอบีเอ็มร่วมมือกับพันธมิตรสาธิตการนำ RFID มาใช้ในกระบวนการธุรกิจ อาทิ
- กระบวนการสร้างแผ่นป้ายระบุข้อมูลหรือ RFID tag ซึ่งเป็นการจำลองผ่านเครื่อง RFID
Printer ซึ่งจะเริ่มจากการเขียนข้อมูลลงบน Passive RFID tag ที่ไม่มีแบตเตอร์รี่ในตัว พิมพ์ แล้วจึงติด RFID tag ลงบนวัสดุที่ต้องการ การนำ RFID มาใช้นี้จะช่วยให้การตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น
- กระบวนการรับรองการรับสินค้า ซึ่งเป็นจำลองผ่านเครื่อง RFID Fixed Reader/Writer หรือ
เครื่องอ่านเขียน RFID แบบอยู่กับที่ ทำหน้าที่สร้างความถี่สัญญาณวิทยุ ความถี่ที่สร้างขึ้นจะมีขนาดเท่ากับที่แผ่นป้ายระบุข้อมูล สามารถตอบสนองได้ โดยอาศัยทฤษฎีการเหนี่ยวนำสัญญาณไฟฟ้า เมื่อคลื่นสัญญาณกระทบกับแผ่นป้ายระบุข้อมูล เพื่อให้แผ่นป้ายระบุข้อมูล ส่งข้อมูลของตัวเองกลับมายังเครื่องอ่านสัญญาณ จากนั้นจะแปลงสัญญาณที่ได้รับให้อยู่ในรูปดิจิตอลเพื่อใช้ประมวลผลต่อไป ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บด้วยดิจิตอลนี้ ที่ให้ RFID สามารถ Integrate
กับ Enterprise software ได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้เครื่องอ่านยังสามารถรองรับการอ่านและเขียนข้อมูลทั้ง EPC Gen 1 และ Gen 2 เพื่อปรับปรุงรายละเอียดของสินค้าเพิ่มเติมได้
- กระบวนการตรวจรับสินค้า ซึ่งเป็นการจำลองผ่านเครื่อง RFID Handheld หรือเครื่องอ่าน
เขียนแบบพกพา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานในการปฎิบัติงาน ซึ่งเครื่องแบบพกพาสามารถเก็บข้อมูลของ RFID Tag ลงใน Portable Memory Card ของเครื่อง หรือส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายไร้สายเพื่อรวมศูนย์ไปยังระบบฐานข้อมูลกลางได้ ซึ่งให้การทำงานและการยืดขยายขอบเขตของระบบ RFID มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังประกาศเปิดตัวซอฟต์แวร์ในกลุ่ม WebSphere ที่จะมาทำงานรองรับ RFID
ได้แก่ IBM WebSphere RFID Premises Server ที่ทำงานเชื่อมต่อระหว่าง RFID tags และระบบไอที
เครือข่ายของตัวอ่าน RFID แบบเรียลไทม์ ซึ่งจะช่วยบริหารงานทั้งระบบตั้งแต่หน้าร้านไปตลอดทั้งซัพพลาย
เชน นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังมี WebSphere RFID Device Infrastructure เพื่อช่วยจัดการข้อมูลในระบบ RFID ที่จุดตรวจหาข้อมูลไร้สาย (Wireless data detection)
เกี่ยวกับไอบีเอ็ม ประเทศไทย
ไอบีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น ได้เริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเป็นครั้งแรกด้วยการให้บริการด้านเครื่องประมวลผลข้อมูล และถ่ายทอดความรู้ในการสำรวจสำมะโนประชากรและการเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2491
ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ขึ้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2495 ปัจจุบัน ไอบีเอ็ม นำเสนอโซลูชัน ผลิตภัณฑ์ และการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจร ครอบคลุมฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่าย และธุรกิจบริการ เพื่อช่วยให้องค์กรและธุรกิจต่างๆ เช่น ภาครัฐบาล องค์กรขนาดใหญ่ วิสาหกิจขนาดกลาง และเล็ก รวมถึงผู้ใช้งานทั่วไป เข้าสู่ธุรกิจออนดีมานด์ยุคใหม่
เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณอรอุมา วัฒนะสุข
โทร. 02-273-4117 อีเมล์ : onumav@th.ibm.com
On-uma V. Rerkpattanapipat
Communications Specialist
IBM Thailand Co.,Ltd.
388 Phaholyothin Road, Phyathai, Bangkok 10400
Tel: 66-2-273-4117 T/L: 61-980-4117
Cell: 66-1-815-5720 Fax: 66-2-273-0182
E-mail: onumav@th.ibm.com--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ