ผลการบริหารจัดการหนี้สาธารณะภาครัฐ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552 และรายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 25, 2009 12:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 มี.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2552 ดังนี้ ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ 1. การปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ 1.1 เดือนกุมภาพันธ์ 2552 ? หนี้ในประเทศ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศโดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในส่วนของ FIDF1 วงเงิน 9,999.20 ล้านบาท และนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรดังกล่าว ไปชำระคืนเงินในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังที่ใช้เป็น Bridge Financing ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ โดยทำการ Roll Over หนี้เดิม วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท 1.2 ช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2552 ? หนี้ในประเทศ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้าง หนี้ในประเทศ วงเงินรวม 49,999.20 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในส่วนของ FIDF1 และรัฐวิสาหกิจได้ทำการ Roll Over หนี้เดิมรวม 20,387 ล้านบาท ที่ใช้เพื่อบริหารเงินสดในการรองรับการทำธุรกรรมการใช้จ่ายของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2552 โดยมียอดวงเงินตั๋วเงินคลังยกมา ณ ต้นปีงบประมาณ 2552 จำนวน 147,000 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังจะทำการ Roll over ตั๋วเงินคลังที่ครบกำหนดทุก 28 วัน 91 วัน และ 182 วัน ตามอายุของตั๋วเงินคลังในแต่ละรุ่น 2. การกู้เงินภาครัฐ ? เดือนกุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศเพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 69,530 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 17,030 ล้านบาท ออกตั๋วเงินคลัง วงเงิน 39,000 ล้านบาท และออกตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงิน 13,500 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศ วงเงินรวม 14,000 ล้านบาท โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีการกู้เงินรวม 6,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินบาทสมทบ 1,346 ล้านบาท และกู้เพื่อทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ 4,654 ล้านบาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกู้เพื่อดำเนินกิจการทั่วไป 5,000 ล้านบาท และการกู้เพื่อลงทุนในโครงการของการเคหะแห่งชาติ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย วงเงิน 2,000 ล้านบาท และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ ? ช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2552 ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 257,310 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินของกระทรวงการคลัง 128,530 ล้านบาทและของรัฐวิสาหกิจ 128,780 ล้านบาท รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 2 3. การชำระหนี้ภาครัฐ ? เดือนกุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณรวม 21,535 ล้านบาท โดยเป็นการชำระคืน เงินต้น 8,140 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 13,395 ล้านบาท ? ช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2552 กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 51,445 ล้านบาท รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 3 2. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและขาย 3. ตัวเลขในตารางเป็นตัวเลขเบื้องต้น (Preliminary) และไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน 23,999.90 ล้านบาท ที่รัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร สัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถ. แจ้งวัฒนะ รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2552 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2552 มีจำนวน 3,542,858 ล้านบาท หรือร้อยละ 39.31 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,208,497 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,047,427 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 169,731 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 113,520 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 3,683 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 71,514 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้น 73,762 ล้านบาท 164 ล้านบาท และ 25,793 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐลดลง 23,394 ล้านบาท และ 4,811 ล้านบาท ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของ หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นสุทธิ 73,762 ล้านบาท รายการที่สำคัญเกิดจากการปรับเพิ่มระดับตั๋วเงินคลัง จำนวน 65,000 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับฐานะดุลเงินสดของรัฐบาลในเดือนดังกล่าว ประกอบกับรัฐบาลได้ทำการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 19,000 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลได้ดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 20,000 ล้านบาท และนำเงินที่ได้จากการประมูลไปชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้นและเงินในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง จำนวน 21,913.83 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในส่วนของ FIDF1 วงเงินรวม 49,999.20 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นสมทบกับเงินในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (FIDF1 และ FIDF3) มาทดรองจ่ายไปก่อน จากนั้นจึงดำเนินการทยอยออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม 2551 — เดือนกุมภาพันธ์ 2552 เพื่อทยอยชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นและเงินในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังดังกล่าวข้างต้น สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้นสุทธิ 25,793 ล้านบาท รายการที่สำคัญ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้เบิกจ่ายเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 28,000 ล้านบาท สำหรับหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 23,394 ล้านบาท ที่สำคัญเกิดจากการซื้อคืนพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน หนี้สาธารณะ 3,542,858 ล้านบาท แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 412,543 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.64 และหนี้ในประเทศ 3,130,315 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.36 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,304,188 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.26 และหนี้ระยะสั้น 238,670 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.74 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 5 และ 6 ตามลำดับ ส่วนประสานสัมพันธ์นักลงทุน สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5510

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ