กรุงเทพฯ--30 มี.ค.--อิมเมจ อิมแพค
การตีโต้เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่นการฉกฉวยโอกาสที่คาดไม่ถึงในช่วงเวลาวิกฤติของการรบ การวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อตอบโต้ระหว่างการรบดำเนินไปและสามารถคาดคะเนความคิดของศัตรูได้ และการวางแผนยุทธการตามปกติเมื่อการจู่โจมของข้าศึกเป็นที่คาดเดาได้และวางแผนรับมือ
ในประวัติศาสตร์มีตัวอย่างมากมายที่กองทัพจำนวนด้อยกว่า สามารถพลิกสถานการณ์ให้กลับมาเป็นฝ่ายตีโต้ได้ ด้วยการวางแผนยุทธการเพื่อตีโต้อันชาญฉลาด แต่ในทำนองเดียวกันฝ่ายที่เหนือกว่ากลับล้มเหลวในการตอบโต้และพ่ายแพ้ เนื้อความตอนนี้เล่าถึงรายละเอียดของการตีโต้แตกต่างกันสามรูปแบบที่ประสบความสำเร็จ และการวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่แผนเหล่านี้ได้ผล
การตีโต้ครั้งสำคัญที่เมืองทันเนนแบร์กเมื่อปีค.ศ.1914 ซึ่งทำลายสองกองทัพของรัสเซียแตกพ่าย เป็นการวางแผนของพลเอกเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กและเอริค ลูเดนดอร์ฟ หนึ่งในคู่ขุนศึกผู้โด่งดังแห่งประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นทั้งด้านการวางแผนยุทธการอย่างเป็นระบบ และสุดยอดแห่งการปรับเปลี่ยนพลิกแพลง การตีโต้ของรัสเซียต่อฝ่ายเยอรมันในยุทธการบาร์บารอสซาของฮิตเลอร์ ที่รักษากรุงมอสโกไว้ได้ในฤดูหนาวของปีค.ศ.1941
เทียบได้กับกรณีเหนือความคาดหมายในปีค.ศ. 1973 เมื่ออิสราเอลละเลยบางกฎเกณฑ์ของการวางแผนยุทธการเพื่อการตีโต้การโจมตีอันคาดเดาได้ของฝ่ายอียิปต์ ข้ามคลองซูเอซในสงครามยอมคิปปูร์ ซึ่งอิสราเอลใกล้จะพ่ายแพ้แล้วและรอดได้เมื่อฉกฉวยโอกาสอันเหนือความคาดหมายไว้ได้ เพื่อตีโต้เป็นครั้งที่สอง