รายงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประจำปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 31, 2009 17:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 มี.ค.--ก.ล.ต. สรุปภาพรวม ในปี 2551 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2550 ทั้งในด้านมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ จำนวนนายจ้าง และจำนวนลูกจ้างที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและภาวะการลงทุน เป็นปัจจัยสำคัญที่ชะลอการเติบโตของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและจำนวนนายจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมทั้งส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกองทุนโดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในตราสารทุน นอกจากนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจยังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ทำให้นายจ้างต้องปรับลดต้นทุนของบริษัท โดยในช่วงปลายไตรมาส 4/2551 นายจ้างบางส่วนเริ่มขอปรับลดอัตราการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุน ขณะที่บางส่วนได้ปรึกษาถึงความเป็นไปได้ในการขอหยุดนำส่งเงินเข้ากองทุนเป็นการชั่วคราว แม้ว่าภาพดังกล่าวยังไม่ชัดเจนในไตรมาส 4/2551 แต่คาดว่าจะเริ่มเห็นผลกระทบมากขึ้นในช่วงต้นปี 2552 1. มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ? ปี 2551 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2550 โดย ณ สิ้นปี 2551 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 465,297 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.3% จากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวจากปีที่ผ่าน ๆ มา ? สาเหตุหลักที่ทำให้ NAV ณ สิ้นปี 2551 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากมูลค่าตราสารทุนที่ปรับลดลงมากตามภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ส่งผลให้ NAV ตั้งแต่ช่วงกลางปีเริ่มปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนตุลาคมที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับลดลงอย่างรุนแรง 2. การจัดสรรเงินลงทุน ? ณ สิ้นปี 2551 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลงทุนในตราสารหนี้มากที่สุด (77.1% ของ NAV) ตามด้วยเงินฝาก (12.7%) และตราสารทุน (7.4%) ? เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 พบว่า ตราสารหนี้ยังคงได้รับความนิยมสูงสุด ขณะที่สัดส่วนเงินลงทุนในเงินฝากต่อ NAV เริ่มปรับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ไตรมาส 3/2551 หลังจากที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2550 สำหรับสัดส่วนเงินลงทุนในตราสารทุนต่อ NAV เริ่มลดลงตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2/2551 เนื่องจากมูลค่าของตราสารทุนที่ลดลงมาก การทยอยปรับลดการลงทุนในตราสารทุนจากภาวะตลาดทุนที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน และกระจายเงินลงทุนไปในเงินฝากและตราสารประเภทอื่นมากขึ้น รายละเอียดการลงทุน ปี 2551 ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 มูลค่า (ล้านบาท) ร้อยละของ NAV มูลค่า (ล้านบาท) ร้อยละของ NAV มูลค่า (ล้านบาท) ร้อยละของ NAV มูลค่า (ล้านบาท) ร้อยละของ NAV เงินฝากธนาคาร บัตรเงินฝาก 40,943 9.0% 30,517 6.7% 47,574 10.4% 59,092 12.7% พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง ตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน 191,830 42.3% 211,786 46.5% 197,204 42.8% 198,034 42.6% ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน 63,912 14.1% 57,723 12.7% 65,892 14.3% 58,869 12.6% หุ้นกู้ 94,250 20.8% 91,037 20.0% 96,424 20.9% 101,808 21.9% หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และใบสำคัญแสดงสิทธิ 52,060 11.5% 51,677 11.3% 44,249 9.6% 34,621 7.4% อื่น ๆ 10,202 2.3% 12,653 2.8% 9,276 2.0% 12,873 2.8% รวม 453,197 100% 455,393 100% 460,619 100% 465,297 100% 3. การลงทุนในต่างประเทศ ? ณ สิ้นปี 2551 มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มียอดการลงทุนในต่างประเทศทั้งสิ้น 5 กองทุน คิดเป็นมูลค่า 1,211 ล้านบาท หรือ 0.3% ของ NAV ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหมด เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ 94.1% และหน่วยลงทุน 5.9% โดยในปี 2551 มูลค่าการลงทุนในต่างประเทศคงค้างลดลง 52.7% จากปีก่อนหน้าจากการปรับลดพอร์ตการลงทุนตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ปี มูลค่าการลงทุน (ล้านบาท) NAV รวมทั้งอุตสาหกรรม (ล้านบาท) มูลค่าเงินลงทุน / NAV (%) 2547 389 305,462 0.1 2548 348 345,896 0.1 2549 306 390,928 0.1 2550 2,561 441,710 0.6 2551 1,211 465,297 0.3 4. ผลการดำเนินงานของกองทุน (เปรียบเทียบกับตัวชี้วัดของตราสารแต่ละประเภท) ผลตอบแทน (%) 2547 2548 2549 2550 2551 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งอุตสาหกรรม* (สะสมย้อนหลัง 12 เดือน) 0.9 3.2 4.3 7.9 -0.9 SET Index -4.2 6.8 -4.7 26.2 -47.6 TBMA ZRR 2 years 0.8 0.2 5.1 6.2 8.0 TBMA ZRR 4 years 0.9 -1.0 5.7 7.6 13.8 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารประจำ 1 ปี ที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พึงได้รับวงเงิน 1 ล้านบาท เฉลี่ยของ 4 ธนาคารพาณิชย์ 0.56 1.15 4.24 2.86 2.48 หมายเหตุ: *ตัวเลขผลตอบแทนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นตัวเลขที่แสดงเพื่อให้เห็นภาพรวมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่านั้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองใดกองหนึ่งได้ เนื่องจากแต่ละกองทุนมีนโยบายการลงทุน (ประเภทหลักทรัพย์และสัดส่วนการลงทุน) ที่แตกต่างกัน ผลตอบแทนของแต่ละกองทุนจึงควรเปรียบเทียบกับ benchmark ที่จัดทำขึ้นเฉพาะกองทุนนั้น ๆ ทั้งนี้ ในปี 2551 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนิยมลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น (ไม่เกิน 2 ปี) เพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของตลาด 5. การส่งเงินและจ่ายเงินออกของกองทุน หน่วย: ล้านบาท เงินนำส่งเข้ากองทุน 2547 2548 2549 2550 2551 เงินสะสม 20,219 25,583 29,030 34,411 42,329 เงินสมทบ 24,187 35,172 34,647 40,954 49,576 รวม 44,406 60,755 63,677 75,365 91,905 % เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า 44.3% 36.8% 4.8% 18.4% 21.9% เงินจ่ายออกจากกองทุน 2547 2548 2549 2550 2551 เงินจ่ายคืนสมาชิก 22,846 27,479 28,630 39,528 53,864 เงินจ่ายคืนนายจ้าง 957 3,596 1,708 1,563 2,145 รวม 23,803 31,075 30,338 41,091 56,009 % เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า 52.7% 30.6% -2.4% 35.4% 36.3% 6. จำนวนนายจ้าง จำนวนลูกจ้าง และจำนวนกองทุน ? ณ สิ้นปี 2551 มีนายจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น 9,101 ราย เพิ่มขึ้น 11.2% จากปีที่ผ่านมา ? ณ สิ้นปี 2551 มีจำนวนลูกจ้างทั้งสิ้นประมาณ 2.1 ล้านคนเพิ่มขึ้น 7.2% จากปีที่ผ่านมา ? ณ สิ้นปี 2551 มีจำนวนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น 511 กองทุน ลดลงจากปีก่อนหน้า 2 กองทุน สาเหตุเนื่องจากการยกเลิกกองทุนเดี่ยวเพื่อเข้าร่วมกองทุนหลายนายจ้าง (pooled fund)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ