กรุงเทพฯ--1 เม.ย.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
อินเทลเปิดตัวโปรเซสเซอร์ระดับเอ็นเตอร์ไพรส์พร้อมกัน 17 รุ่น นำโดย อินเทล? ซีออน? โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ปฏิวัติวงการมากที่สุด ของอินเทล นับตั้งแต่เริ่มทำตลาดเซิร์ฟเวอร์ด้วย อินเทล? เพนเทียม? โปร โปรเซสเซอร์ เมื่อเกือบ 15 ปี ที่ผ่านมา
ชิปรุ่นใหม่นี้สามารถปรับระดับการใช้พลังงานตามปริมาณทรานแซคชั่นของดาต้าเซ็นเตอร์และความต้องการดึงฐานข้อมูลลูกค้าได้โดยอัตโนมัติ ตลอดจนมีบทบาทสำคัญต่อการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ของบรรดานักวิจัยที่ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานในการทำวิจัย ขณะเดียวกันยังมีประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงานที่เยี่ยมยอด จึงช่วยประหยัดค่าไฟได้มาก
อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ที่มีชื่อรหัสเดิมว่า เนฮาเลม-อีพี (Nehalem-EP) เป็นรุ่นที่มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากมาย ช่วยเพิ่มความเร็วและการใช้งานที่หลากหลายของระบบอย่างเห็นได้ชัด เช่น เทคโนโลยี อินเทล? เทอร์โบ บูสต์” (Intel? Turbo Boost Technology) เทคโนโลยี อินเทล? ไฮเปอร์- เธรดดิ้ง (Intel? Hyper-Threading Technology) เทคโนโลยี อินทิเกรท พาวเวอร์ เกทส์ (Integrated Power Gates) เทคโนโลยี อินเทล เวอร์ช่วลไลเซชั่น รุ่นใหม่ (Intel Virtualization Technology : VT) ที่เพิ่มเทคโนโลยี เอ็กซ์เทนด์ เพจ เทเบิ้ลส์ (Extended Page Tables) ซึ่งจะช่วยให้ระบบสามารถปรับให้เข้ากับปริมาณงานที่หลากหลายได้โดยอัตโนมัติ
นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 คือพื้นฐานของนวัตกรรมในทศวรรษต่อไป เพราะ ชิปประมวลผลรุ่นนี้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในด้านประสิทธิภาพการทำงาน การทำ เวอร์ช่วลไลเซชั่น และการจัดการเวิร์คโหลดงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสให้เราสามารถเอาชนะความท้าทายต่างๆ ที่มีความซับซ้อนที่สุดในโลก ตลอดจนทำลายข้อจำกัดต่างๆ เพื่อการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้”
อุปกรณ์เชื่อมต่อ 15,000 ล้านชิ้น
การใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ขยายตัวในทิศทางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของอินเทลที่ต้องการให้มีอุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อกันได้ถึง 15,000 ล้านชิ้น ดังนั้น อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 จะเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนสำหรับการเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบอินเทอร์เน็ตในอนาคตอันใกล้นี้ ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมไฮเทคต่างให้การสนับสนุนเป้าหมายในการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ด้วยโปรเซสเซอร์ที่สามารถทำงานเต็มประสิทธิภาพและฮาร์ดแวร์ด้านการคำนวณ ที่พร้อมใช้งานได้ตามความต้องการที่สามารถขยายการใช้งานได้ตามปริมาณงานที่หลากหลาย การที่วิสัยทัศน์ดังกล่าว หรือที่เรียกกันว่า คลาวด์ คอมพิวติ้ง (cloud computing) จะเป็นจริงได้นั้น ต้องอาศัยความสามารถในการปรับความสามารถของระบบให้เข้ากับลักษณะของงาน สมรรถนะการทำงาน และประสิทธิภาพที่เยี่ยมยอดของ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500
ประสิทธิภาพระดับสูงแบบก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์อินเทล ซีออน1
อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ได้สร้างสถิติโลกมากถึง 30 กว่ารายการ2 ซึ่งนับเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับประสิทธิภาพการทำงานของเซิร์ฟเวอร์แบบ 2 ซ็อกเก็ต ขณะเดียวกันยังมีประสิทธิภาพสูงกว่า อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5400 รุ่นเดิมได้มากกว่าถึงสองเท่าตัว แพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ PRIMERGY* ของฟูจิตสึ สามารถสร้างสถิติใหม่ๆ จากการทดสอบโดยใช้เบนช์มาร์ก SPECint* rate base 2006 และ SPECfp* rate base 2006 ด้วยคะแนนสูงถึง 240 และ 194 คะแนนตามลำดับ เซิร์ฟเวอร์ HP ProLiant* DL370 G6 ของเอชพี มีประสิทธิภาพที่สามารถทำลายสถิติเดิม จากการทดสอบด้วยเบนช์มาร์ก TPC*-C โดยได้คะแนน 631,766 tpmC จากการใช้ Oracle 11g* Database ส่วนเซิร์ฟเวอร์ IBM System x* 3650 M2 ที่ทดสอบด้วยเบนช์มาร์ก SAP*-SD ได้สร้างสถิติใหม่ด้วยคะแนน 5100 SD users เซิร์ฟเวอร์ของซิสโก้สามารถทำผลการทดสอบ SPEComp* Mbase 2001 ซึ่งเป็น เบนช์มาร์กที่ใช้ทดสอบการคำนวณประสิทธิภาพสูง ที่ช่วยวัดระดับประสิทธิภาพของแอพลิเคชั่น OpenMP โดยสามารถทำคะแนนได้สูงกว่า อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5400 รุ่นเก่าได้ถึงร้อยละ 154 ทีเดียว นอกจากนี้ เมื่อทดสอบโดยใช้เบนช์มาร์ก SPECpower* ssj 2008 เพื่อวัดประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงานของเซิร์ฟเวอร์ พบว่าแพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ของ Verari System VB1305 ซึ่งใช้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 สามารถทุบสถิติโลกด้วยคะแนน 1943 ssj_ops/watt และเมื่อนำเซิร์ฟเวอร์หลายๆ รุ่นที่ใช้อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ไปทดสอบประสิทธิภาพด้านการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นโดยใช้ เบนช์มาร์ก VMmark* พบว่า สามารถทำได้ดีกว่าสถิติเก่าจาก อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5400 ได้ถึงร้อยละ 150 ซึ่งรวมถึง แพลตฟอร์ม Dell PowerEdge* R710 ที่ให้ผลลัพธ์ด้วยคะแนนที่สูงตลอดเวลาในส่วนของเซิร์ฟเวอร์แบบ 2 ซ็อกเก็ต โดยได้คะแนนถึง 23.55@16 tiles
อัจฉริยภาพแบบก้าวกระโดด
เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการทำงาน ทั้งสำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องทำธุรกรรมซึ่งต้องการระบบที่มีสมรรถนะสูง หรือเป็นการทำธุรกรรมจำลอง (simulations) และแม้แต่กลุ่มนักวิจัยที่มุ่งมั่นในการค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ หรือกาแลคซี่อันไกลโพ้น อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ 5500 มาพร้อมกับหน่วยความจำที่มีแบนด์วิดท์สูงกว่าโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ในรุ่นก่อนๆ ถึงสามเท่าตัว ซึ่งจะส่งทำให้แพลตฟอร์มที่ใช้โปรเซสเซอร์รุ่นนี้สามารถจัดการงานในปริมาณมากๆ ได้หลากหลาย ภายใต้สภาวะและเงื่อนต่างๆ กันได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ คุณสมบัติพิเศษใหม่ๆ อย่างเช่น เทคโนโลยี อินเทล เทอร์โบ บูสต์ ก็จะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยปรับความเร็วสัญญาณนาฬิกาของคอร์ประมวลผลแต่ละตัวได้ คือ ปรับได้ทั้งแบบหนึ่งคอร์หรือมากกว่า
อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ยังมีประสิทธิภาพเสริมด้วยระบบประหยัดพลังงานแบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากขึ้น โดยประสิทธิภาพเสริมดังกล่าวนั้น ทำให้โปรเซสเซอร์จะใช้พลังงานเพียง 10 วัตต์เท่านั้นในช่วงไม่มีงาน (Idle) ซึ่งเป็นปริมาณที่ลดลงถึง ร้อยละ 503 เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ การใช้ทรานซิสเตอร์รุ่นใหม่ที่มี “integrated power gates” ที่ใช้เทคโนโลยี High-k metal gate ยังช่วยให้คอร์ที่ไม่ได้ใช้งาน สามารถลดการใช้พลังงานลงได้เองอีกด้วย
อินเทล ซีออน โปรเซสเวอร์ ซีรี่ส์ 5500 ยังล้ำหน้าไปอีกขั้นในด้านการใช้พลังงานแบบอัจฉริยะ โดยมีสถานะการใช้งานอัตโนมัติมากถึง 15 ระดับ จึงทำให้ชิปมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นในด้านการจัดการการใช้พลังงาน โดยสามารถปรับระบบการใช้พลังงานตามปริมาณงานแบบเรียล-ไทม์ได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม
สมรรถนะที่เยี่ยมยอดต่างๆ ดังกล่าว จะทำให้เกิดความคุ้มค่าอย่างมากต่อผู้ที่ต้องการเปลี่ยนระบบการใช้งานจากเดิมมาเป็นระบบใหม่ได้อย่างราบรื่น ด้วย อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 สำหรับในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจ มีความท้าทายดังเช่นในปัจจุบัน ลูกค้าสามารถนำเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ ซีออน รุ่นเก่า มาเปลี่ยนเป็นซีออน ซีรี่ส์ 5500 รุ่นใหม่ โดยสามารถคืนทุนได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียงแปดเดือนเท่านั้น
เปิดตัว Embedded Processors รุ่นล่าสุด
อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่น L5518 และ L5508 เป็นรุ่นที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อรองรับตลาดด้านการสื่อสาร โดยสองรุ่นนี้มาพร้อมออพชั่นที่เหมาะอย่างยิ่งกับการใช้งานแอพพลิเคชั่นสำหรับเครื่องขนาดเล็ก ที่มีข้อจำกัดด้านการควบคุมอุณหภูมิแวดล้อม เช่น เบลดเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์สำหรับโครงสร้างเครือข่ายพื้นฐานด้านการสื่อสาร ความปลอดภัย จัดเก็บข้อมูล และด้านการแพทย์ รวมถึงการใช้กับเซิร์ฟเวอร์แบบแร็คที่มีเสถียรภาพสูง เซิร์ฟเวอร์รุ่นเฉพาะต่างๆ และรุ่นที่มีฟอร์มแฟคเตอร์ที่อยู่นอกเหนือแบบมาตรฐาน อาทิ โมดูลเราท์เตอร์ และเทคโนโลยีซับมารีน เป็นต้น ทั้งนี้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่น L5518 มีความเร็ว 2.13 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และใช้พลังงาน 60 วัตต์ ส่วนรุ่น L5508 มีความเร็ว 2.00 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และใช้พลังงาน 38 วัตต์ โปรเซสเซอร์แบบ embedded สำหรับการสื่อสารทั้งสองรุ่นนี้ มีอายุการให้การสนับสนุนยาวนานถึง 7 ปี และยังรองรับเทคโนโลยีในอนาคต อย่างเช่น ไวแม็กซ์ บริการ video-on-demand และการสื่อสารแบบโฮโลกราฟได้อีกด้วย
ผลิตภัณฑ์องค์ประกอบใหม่
ในโอกาสเดียวกันนี้ อินเทล ยังได้ประกาศเปิดตัวบอร์ดเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ๆ ที่มาพร้อมส่วนประกอบต่างๆ แบบเบ็ดเสร็จ อินเทลยังได้เปิดตัวอุปกรณ์ Intel 82599 10 Gigabit Ethernet Controller ที่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อ I/O ของระบบเครือข่ายในดาต้าเซนเตอร์แบบเสมือนจริง และสามารถรองรับหน่วยความจำที่มีแบนด์วิดธ์เพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มที่ใช้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ได้อีกด้วย โดยมีปริมาณการเชื่อมต่อของ I/O มากขึ้นถึงร้อยละ 250 เมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์รุ่นก่อนหน้านี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของแอพพลิเคชั่นเวอร์ช่วลไลเซชั่นได้ดีที่สุด
พร้อมกันนี้ อินเทลยังวางจำหน่ายชุดอุปกรณ์พัฒนาซอฟต์แวร์ Intel Data Center Manager ที่จะช่วยให้ผู้พัฒนาแมเนจเม้นท์ คอนโซล สามารถควบคุมการใช้พลังงานของแพลตฟอร์มได้ดีขึ้น โดยสามารถตั้งค่านโยบายการใช้พลังงานของเซิร์ฟเวอร์และดาต้าเซ็นเตอร์ได้ตลอดเวลา และตอบสนองต่อปริมาณงานของเซิร์ฟเวอร์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเซิร์ฟเวอร์จะไม่ใช้พลังงานเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้
ทางด้านแอพพลิเคชั่นต่างๆ ของเซิร์ฟเวอร์นั้น โปรเซสเซอร์มีความเร็วสูงสุดที่ 2.93 กิกะเฮิรตซ์ พร้อมด้วยหน่วยความจำ DDR3 ที่มีความเร็วสูงสุดที่ 1333 เมกะเฮิร์ซ และใช้พลังงานได้ในระดับตั้งแต่ 60-95 วัตต์ เทคโนโลยี อินเทล เทอร์โบ บูสต์ ยังสามารถเร่งความเร็วในการใช้งานได้สูงสุดถึง 3.33 กิกะเฮิรตซ์ ในบางสภาวะของการใช้งาน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปรับตั้งค่าระบบและโปรเซสเซอร์ ส่วนความเร็วของเวิร์กสเตชั่นอาจสูงได้ถึง 3.20 กิกะเฮิรตซ์ ด้วยการใช้พลังงานในระดับ 130 วัตต์ และสามารถวิ่งไปได้ถึง 3.46 กิกะเฮิร์ซ ด้วยเทคโนโลยี อินเทล เทอร์โบ บูสต์ ทั้งนี้ โปรเซสเซอร์แต่ละรุ่นจะประกอบด้วยแคช L3 ซึ่งมีความเร็วสูงสุด 8 เมกะบิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป คาดว่าจะมีการเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 รุ่นใหม่ๆ ที่มีความพิเศษแตกต่างกันไปมากกว่า 230 รุ่น โดยบริษัทผู้ผลิตกว่า 70 รายทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึงลูกค้าใหม่ของอินเทล เช่น ซิสโก้ รวมทั้งผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้แก่ เดลล์ ฟูจิตสึ-ซีเมนส์ เอชพี ไอบีเอ็ม ซัน ไมโครซิสเต็มส์ และรายอื่นๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อีกหลายรายที่ขานรับแพลตฟอร์มที่ใช้ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 เช่น ซิทริกซ์ ไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์ โนเวลล์ เรดแฮท เอสเอพี เอจี ซัน ไมโครซิสเต็มส์ และวีเอ็มแวร์ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับประสิทธิภาพอันโดดเด่นของแพลตฟอร์มจากอินเทลและบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ๆ สามารถเข้าชมได้ที่http://www.intel.com/business/software/testimonials/xeon5500.htm
อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 มีวางจำหน่ายในราคาตั้งแต่ 188 — 1,600 เหรียญสหรัฐ ในปริมาณซื้อที่ 1,000 ตัว อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 3500 แบบซ็อกเก็ตเดี่ยว วางจำหน่ายในราคาตั้งแต่ 284 — 999 เหรียญสหรัฐในปริมาณซื้อที่ 1,000 ตัว โปรเซสเซอร์แบบ embedded รุ่น L5518 และ L5508 สำหรับตลาดด้านการสื่อสารนั้น จำหน่ายในราคา 530 และ 423 เหรียญสหรัฐตามลำดับต่อปริมาณซื้อที่ 1,000 ตัว สำหรับข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับ ซีออน ซีรี่ส์ 5500 สามารถเข้าชมได้ที่ www.intel.com/xeon ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถิติโลกต่างๆ รวมถึงประสิทธิภาพที่มีการอ้างอิงถึง สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.intel.com/performance/server/xeon/summary.htm?iid=perf_server_lhn+dp_sum.