กรุงเทพฯ--7 เม.ย.--เวเบอร์ แชนวิค
การบุกเบิกพัฒนาเทคโนโลยียนตกรรมระบบขับเคลื่อนใหม่ของจีเอ็มนั้น ประกอบด้วย
สร้างสรรค์ยานยนต์ปราศจากมลพิษ เพิ่มประสิทธิภาพและความประหยัดอย่างมหาศาลในการใช้เชื้อเพลิง แสวงหาพลังงานอื่นมาทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง
เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย ประกาศแผนเดินหน้าพัฒนาพลังขับเคลื่อน มุ่งลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และลดต้นทุนด้านพลังงาน เป็นไปตามแผนงานที่จีเอ็มวางไว้เพื่อใช้ทั่วโลก
มร.สตีฟ คาร์ไลส์ ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เซาท์อีสต์เอเชีย โอเปอเรชั่นส์ จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนาระบบพลังขับเคลื่อนของจีเอ็มว่าจะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ ระหว่างการสัมมนาพลังงานทางเลือก และยานยนต์แห่งอนาคต ของออโตโมทีฟ เอเชีย ฟอรัม 2009
ด้วยความต้องการใช้พลังงานและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทวีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศตลาดใหม่ สถานการณ์ทางการเมือง ความวิตกกังวลด้านสิ่งแวดล้อม และปัญหาการขาดแคลนศักยภาพการผลิต ความคิดริเริ่มของจีเอ็ม นับเป็นคำตอบที่อุตสาหกรรมยานยนต์ต้องการ ซึ่งสามารถลดการพึ่งพาน้ำมันที่มีการผลิตที่จำกัดของวงการยานยนต์
“วิสัยทัศน์สำหรับสร้างความยั่งยืนของเรา คือ การสร้างยานยนต์ที่ปราศจากมลพิษ พัฒนาการใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และการแสวงหาแหล่งพลังงานอื่นมาทดแทนน้ำมัน” มร.สตีฟ คาร์ไลส์ กล่าวในงานสัมมนาครั้งนี้ ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงในแวงวงยานยนต์ อุตสาหกรรมน้ำมัน และก๊าซ รวมถึงเจ้าหน้าที่จากภาครัฐ เอ็นจีโอ เข้าร่วมงานมากมาย
อย่างไรก็ตาม ไม่มีหนทางใดที่ง่ายดาย และแก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจน ยุทธศาสตร์ของจีเอ็ม คือการเตรียมผลักดันกรอบการพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งในส่วนของระบบขับเคลื่อน เทคโนโลยีเชื้อเพลิง ระบบส่งกำลัง และโดยเฉพาะพลังงานทางเลือก ซึ่งแต่ละยุทธศาสตร์ยังได้รับการแบ่งการดำเนินงานออกเป็นขั้นตอน
ในอนาคตอันใกล้นี้ จีเอ็มจะยกระดับประสิทธิภาพของเครื่องยนต์และระบบไฮบริด ให้มีความล้ำหน้า รวมถึงการแสวงหาพลังงานทางเลือกอย่าง E85 เอธานอล ขณะที่แผนการระยะยาว จีเอ็มจะมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่อย่างเชฟโรเลต โวลต์ ที่ขับเคลื่อนได้ระยะไกล หรือ E-REV และรถพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงหรือฟิวเซล
เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพล้ำหน้านั้น จะได้รับการพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีเดิม ทั้ง ระบบการทำงานของลูกเบี้ยว การควบคุมการทำงานของพอร์ทไอดีไอเสีย การจุดระเบิดไดเรค อินเจคชั่น เทอร์โบชาร์จ และระบบวาล์วแปรผันที่ทำงานร่วมกับลูกเบี้ยว การพัฒนาทั้งหมดนี้ยังรวมถึงระบบสันดาปแบบใหม่ล่าสุด ที่รวมถึงระบบการจุดระเบิดรุ่นล่าสุด หรือ HCCI - homogeneous charge compression ignition
“HCCI เป็นระบบจุดระเบิดที่ทำงานควบคู่กับเทคโนโลยีวาล์วแปรผัน ระบบไดเรคอินเจคชั่น วาล์วขับเคลื่อน 2 ระดับ และการตรวจจับแรงดันการเผาไหม้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ให้ดียิ่งขึ้นถึง 15%
“ในปีนี้ เราจะดำเนินแผนการครั้งสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีไดเรค อินเจคชั่น ซึ่งระบบการทำงานตามชื่อ นั่นก็คือ การฉีดน้ำมันเข้าสู่ลูกสูบโดยตรง ซึ่งจะผสมผสานกับอากาศ เมื่อกลายเป็นไอในลูกสูบนั้น จะมีความเย็น ทำให้สามารถใช้แรงอัดสูงได้ เสริมประสิทธิภาพความประหยัด และสมรรถนะ” มร.สตีฟ คาร์ไลส์ กล่าว
จีเอ็ม มีเป้าหมายจะมีเครื่องยนต์ไดเรค อินเจคชั่นทั้งหมด 8 แบบ สำหรับใช้ในรถ 38 รุ่น ซึ่งมีสัดส่วนเท่ากับ 14% ของจำนวนรถยนต์ทั่วโลก ให้ได้ภายในปี 2553
แต่ทั้งหมดทั้งปวงนี้จะเสียเปล่า หากระบบเกียร์หรือระบบส่งกำลังนั้น ไม่สามารถ่ายทอดพละกำลังลงพื้นถนนได้อย่างเต็มที่
“เราใช้การออกแบบและเครื่องมือวิเคราะในการออกแบบที่ล้ำหน้า ตัวอย่างเช่น Computational Fluid Dynamics (CFD) ที่ช่วยคำนวณการเคลื่อนตัวของของเหลว มาใช้ออกแบบรูปร่างของใบพัดของชุดเปลี่ยนถ่ายแรงบิดและทิศทางการไหลของแรงบิด ขณะที่เทคโนโลยี Active Thermal Management ก็มีหน้าที่รักษาอุณหภูมิของน้ำมันเกียร์ และระบบเกียร์อัตโนมัติแบบ 6 สปีด เพื่อเพิ่มอัตราความประหยัดน้ำมัน โดยไม่สูญเสียสมรรถนะ” มร.คาร์ไลส์ กล่าว
ระบบเกียร์ธรรมดานั้นก็จะได้รับการพัฒนาเช่นกัน ทั้งระบบหล่อลื่นใหม่ ชิ้นส่วนมีน้ำหนักเบากว่าเดิม ลดการเสียดสีของชิ้นส่วนภายใน ปรับอัตราส่วนเกียร์ ทำให้ช่วงเปลี่ยนเกียร์สั้น สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้เร็วกว่าเดิม
เทคโนโลยีเสริมสมรรถนะเครื่องยนต์ และการประหยัดน้ำมันของจีเอ็มนั้น มีความพร้อมที่จะใช้งานในปัจจุบัน เราต้องการผสมผสานเทคโนโลยีให้ใช้ร่วมกันในฐานเดียวกัน( platform) เราจะต้องมองไปที่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวทั่วโลก นั่นคือ เชฟโรเลต ครูซ ด้วยเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร และ 1.8 ลิตร พร้อมระบบวาล์วแปรผัน และระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด จะได้รับการพัฒนาให้รองรับเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ CNG ด้วย
คำถามคือ ยานยนต์ของเชฟโรเลตจะใช้เชื้อเพลิงใด
“เราเชื่อว่าเชื้อเพลิง E85 เอธานอลนั้น จะได้รับความนิยมในเอเชียแปซิฟิค โดยเฉพาะในประเทศไทย เอธานอลเป็นหนึ่งในทางออกที่ดีที่สุดในการลดการพึ่งพาน้ำมัน เหมือนกับในประเทศบราซิล E85 เอธานอลช่วยลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากข้อมูลของแล็ปวิจัยอาร์กอนน์ เอธานอลที่ทำจากอ้อยนั้นสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 56% ซึ่งเอธานอลชนิดนี้ มีในประเทศไทย นอกจากข้อดีด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว เอธานอล E85 ยังจะช่วยเสริมสมรรถนะเพราะมีค่าออคเทนสูงกว่าน้ำมันทั่วไปด้วย” มร.คาร์ไลส์ กล่าว
มร.คาร์ไลส์ ยังกล่าวเสริมอีกว่า “ประเทศไทยนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอ้อยและมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นทรัพยากรหลักสำหรับผลิตเอธานอล ราคาของเอธานอลนั้นสูสีกับราคาน้ำมัน และเรารู้สึกยกย่องพัฒนาการของประเทศไทยในการให้ความรู้เรื่องเอธานอลต่อสาธารณะชน ทั้งการแนะนำพลังงาน E10 และ E20 รวมถึงศูนย์บริการพลังงาน E10 ที่มีอยู่ทั่วประเทศ และศูนย์บริการพลังงาน E20 ซึ่งมีอยู่จำกัดในกรุงเทพฯ เรากำลังพยายามโน้มน้าวรัฐบาลให้สนับสนุนการใช้พลังงาน E85 อย่างเป็นทางการ”
และเพื่อแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุน จีเอ็มจะเปิดตัวรถเอสยูวี เชฟโรเลต แคปติวา 2.4 ลิตร ที่ใช้ E20 ได้ ปลายปี 2552 นี้ และจะเปิดตัวรถรุ่นที่ใช้ E85 ได้ ภายในปีหน้า
นอกจากเอธานอลแล้ว จีเอ็มยังมุ่งมั่นพัฒนาแหล่งพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้แหล่งอื่นๆ อีกด้วยเช่น ไบโอ-ดีเซล ซึ่งผลิตมาจากน้ำมันพืชธรรมชาติ ก๊าซ CNG เป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่มีความแพร่หลายมาก ซึ่งรถเชฟโรเลตหลายรุ่นได้เปิดตัวรถ CNG ไปแล้ว เช่น โคโลราโด, ออพตร้า และออพตร้า เอสเตท
มร. คาร์ไลส์ ยังแสดงความเห็นเกี่ยวกับรถพลังงานทางเลือกรุ่นต่างๆ ในอนาคตอีกด้วย ซึ่งบางรุ่นนั้น ได้มีการเปิดตัวไปแล้ว เช่น รถเอสยูวี (SUV) แซเทิร์น (Saturn) วิว กรีน ไลน์ (Vue Green Line) และ รถ ออร่า กรีน ไลน์ (Aura Green Line) ที่อเมริกา และรถ บูอิค ลาครอส อีโค ไฮบริด (Buick LaCrosse Eco-Hybrid) ที่ประเทศจีน
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีอันน่าตื่นตาตื่นใจต่างๆ ยังปรากฏให้เห็นในรถรุ่นที่จะมีการเปิดตัวเร็วๆ นี้ อาทิ เชฟโรเลต โวลต์ ซึ่งได้รับการจัดอยู่ในประเภทรถพลังงานไฟฟ้า หรือ E-REV แตกต่างจากรถไฮบริดรุ่นปัจจุบัน ซึ่งใช้พลังงานผสมระหว่างแบตเตอรี่และพลังงานไฟฟ้า โวลต์ใช้พลังงานจากไฟฟ้าตลอดเวลาและทุกย่านความเร็ว เครื่องผลิตไฟฟ้าขนาดกะทัดรัดได้รับการติดตั้งเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขณะขับเคลื่อน แต่จะไม่ได้ใช้เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับรถ ดังนั้น อัตราการเผาผลาญพลังงานจึงเกือบเท่ากับศูนย์ โวลต์นั้นยังตอบคำถามจากนักวิจารณ์ที่กล่าวว่ารถพลังงานไฟฟ้านั้นมีข้อจำกัดตรงที่ระยะทาง
เทคโนโลยีการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาของจีเอ็ม รุ่นสุดท้าย (ณ ตอนนี้) คือ พลังงานไฮโดรเจน ซึ่งโครงการ “โปรเจกต์ ไดรฟ์เวย์” นั้นได้เปิดตัวไปพร้อมๆ กับเทคโนโลยีนี้
“นี่คือการทดสอบทางตลาดของรถฟิวเซลที่ใหญ่ที่สุด ณ ตอนนี้ เราเรียกมันว่า ‘โปรเจกท์ ไดรฟ์เวย์’ เพราะเรานำรถพลังงานไฟฟ้าเหล่านี้มาในการทดสอบของทั้งประชาชนธรรมดาและเหล่าดารามีชื่อเสียง และเราให้พวกเขาได้ทดลองขับ” มร คาร์ไลส์ กล่าว
รถพลังงานไฟฟ้า ฟิวเซล เชฟโรเลต อิควินอกซ์ กว่า 100 คัน ได้ออกวิ่งบนถนนที่อเมริกา เยอรมัน จีน เกาหลี และ ญี่ปุ่น ผู้ทดลองขับเหล่านี้จะให้ผลตอบรับอันมีค่ามหาศาลแก่จีเอ็ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าจะเป็นอย่างไรหากใช้รถ อิควิน็อกซ์ ในชีวิตประจำวันของพวกเขา
“กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ได้มาจากเพียงศูนย์การวิจัยและพัฒนาของเราเท่านั้น แต่ยังมาจากความร่วมมือกับฝ่ายเอกชนและกึ่งเอกชนอีกด้วย เราได้สร้างสรรค์ศูนย์ความชำนาญด้านพลังงานยานยนต์ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านพลังงานทางเลือกในประเทศกลุ่มอาเซียน เรายังมีความสัมพันธ์อันดีกับปตท. เพื่อการพัฒนาพลังงานทางเลือกต่อไป ในขณะเดียวกัน เรายังมอบการสนับสนุนอย่างเต็มกำลังแก่การสนับสนุนแนวทางพลังงานทางเลือกของรัฐบาลไทย รวมถึงการดำเนินแผนการผลิตพลังงาน E85 ในประเทศอีกด้วย” มร คาร์ไลส์ กล่าว
มร. คาร์ไลส์ ยังย้ำอย่างหนักแน่นว่าจีเอ็ม ต้องการแรงสนับสนุนจากรัฐบาลไทยในการมอบแรงจูงใจรวมถึงพลังงานและเทคโนโลยีใหม่ๆ จนกว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น ซึ่งจะทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น การสนับสนุนจากรัฐบาลนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากในการรับประกันความก้าวหน้าของโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น ศูนย์อำนวยความสะดวก และ ศูนย์การวิจัยและพัฒนา มร. คาร์ไลส์ ยังเชื่อว่าประเทศไทยนั้นจะได้รับผลประโยชน์มหาศาลจากการนำมาตรฐานระดับนานาชาติสำหรับข้อจำกัดทางพลังงาน และการเผาผลาญพลังงานรถยนต์ ซึ่งดีกว่าการกำหนดมาตรฐานจำเพาะของตนเอง
มร คาร์ไลส์ กล่าวว่า “การสนับสนุนจากรัฐบาลไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างงานกว่า 700,000 ตำแหน่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศเท่านั้น ในระยะยาวจะสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศในฐานะที่เป็นผู้นำกลุ่มประเทศอาเซียนด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ และด้านพลังงานทางเลือกอีกด้วย”
เชฟโรเลต แบรนด์หลักของจีเอ็ม เป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ได้หยัดยืนอยู่แถวหน้าเป็นผู้นำยุทธศาสตร์เทคโนโลยีการขับเคลื่อนอันล้ำหน้าต่อไปในอนาคต
สำหรับข้อมูลหรือรูปภาพเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณฐิติณี จารุวิจิตรรัตนา หรือสถาปนา กาญจนประกร
เวเบอร์ แชนวิค
บริษัท แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 02 343 6000, 081 919 7593
อีเมล์: Thitinee@webershandwick.com, Satapana@webershandwick.com
หรือ
คุณศศินันท์ ออลแมนด์
ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ประจำประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2791-3400 โทรสาร 0-2937-0441
อีเมล์: sasinan.allmand@gm.com