ผลวิจัยล่าสุดยืนยันว่า ยาอิมมาตินิบลดความเสี่ยงการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็งจีสต์

ข่าวทั่วไป Wednesday April 8, 2009 09:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 เม.ย.--คอร์ แอนด์ พีค วารสารทางการแพทย์แลนเซท (Lancet) พบว่าระยะเวลาหนึ่งปี การรอดชีวิตโดยปลอดการกลับเป็นซ้ำ (Recurrence-free survival) ในผู้ป่วยมะเร็งจีสต์ที่รับประทานยาอิมมาตินิบ เท่ากับ 98 เปอร์เซ็นต์ ขณะการรอดชีวิตโดยปลอดการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยที่รับประทานยาหลอก1 เท่ากับ 83 เปอร์เซ็นต์ คณะกรรมการประเมินผลความปลอดภัยด้านยาแห่งชาติยุโรป (The Committee for Medicinal Products for Human Use: CHMP) เสนอให้อนุมัติยาอิมมาตินิบในการลดความเสี่ยงการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็งจีสต์เพื่อใช้หลังการผ่าตัด โดยสามารถลดการกลับมาเป็นซ้ำได้ถึง 89 เปอร์เซ็นต์ หลังจากพิจารณาข้อมูลการศึกษาระยะที่ 3 ซึ่งทำการศึกษาโดยวิทยาลัยแพทย์ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (American College of Surgeons Oncology Group: ACOSOG) เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีข้อมูลเผยแพร่บนอินเตอร์เนทและในวารสารทางการแพทย์แลนเซท (Lancet) เดือนมีนาคม 2552 เล่มที่ 373 ฉบับที่ 9669 แสดงให้เห็นว่ายาอิมมาตินิบ เมื่อนำมาใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งจีสต์หลังจากการผ่าตัด ช่วยลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งจีสต์ที่มีผลโปรตีน Kit บวก เมื่อเทียบกับการใช้ยาหลอก ข้อมูลในการศึกษาระยะที่ 3 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ ณ ขณะนี้ ทำการศึกษาโดยวิทยาลัยแพทย์ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (ACOSOG) ผลปรากฏว่าหลังมีการตรวจสอบผลหลังการผ่าตัด หรือการรักษาเสริม ในผู้ป่วยมะเร็งจีสต์ที่ได้รับการรักษามากกว่า 700 ราย โดยผู้วิจัยพบว่า 98 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งจีสต์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาอิมมาตินิบ ขนาด 400 มิลลิกรัมต่อวัน ระยะเวลาหนึ่งปีหลังจากการผ่าตัดไปแล้ว ผู้ป่วยไม่มีเนื้องอกเกิดขึ้น นอกจากนี้การศึกษาดังกล่าวยังพบว่ายาอิมมาตินิบมีความปลอดภัยและทนต่อยาค่อนข้างดี รวมถึงมีอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์1ที่รุนแรงต่ำ มะเร็งจีสต์นั้นเป็นโรคมะเร็งทางเดินอาหารชนิดหนึ่งที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลังจากเริ่มต้นการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อนำเนื้องอกออกมา มะเร็งจีสต์ยังคงสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกในผู้ป่วยหนึ่งในสองราย2ภายในระยะเวลามัธยฐานสองปี3 “ มาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งจีสต์เริ่มแรก (Primary GIST) หลังจากการผ่าตัด จำเป็นต้องมีการสังเกตทั้งทางคลินิกและรังสีวิทยา เพราะว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดนั้นไม่ได้ผลในการรักษา และมีผลให้เกิดการกลับมาเป็นซ้ำของโรค” กล่าวโดย นายแพทย์โรนัล ดีแมททีโอ จากสถาบันโรคมะเร็งสโลนเก็ตเตอร์ริง (Memorial Sloan Kettering Cancer Center) มลรัฐนิวยอร์ก “ ปัจจุบัน วารสารทางการแพทย์แลนเซท ได้มีรายงานว่า การรักษาผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวด้วยยาอิมมาตินิบหลังจากการผ่าตัดเอาเนื้องอกเริ่มแรกออกไป พวกเราสามารถที่จะชะลอระยะการดำเนินของโรค และในผู้ป่วยบางราย เราสามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคได้ด้วย” เมื่อเร็วๆนี้ ยาอิมมาตินิบได้รับการอนุมัติให้ใช้ในการรักษาเสริม4 (Adjuvant) ในผู้ป่วยมะเร็งจีสต์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ และอีกหลายๆ ประเทศ โดยการรักษาดังกล่าวยึดตามข้อมูลจากวิทยาลัยแพทย์ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (ACOSOG) โดยการอนุมัตินี้ถือว่าเป็นข้อบ่งใช้ลำดับที่สิบของยาอิมมาตินิบในประเทศสหรัฐอเมริกา ล่าสุดคณะกรรมการประเมินผลความปลอดภัยด้านยาแห่งชาติยุโรป (CHMP) เสนอให้อนุมัติยาอิมมาตินิบในการลดความเสี่ยงการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็งจีสต์เพื่อใช้หลังการผ่าตัด โดยสามารถลดการกลับมาเป็นซ้ำได้ถึง 89 เปอร์เซ็นต์ หลังจากพิจารณาข้อมูลการศึกษาระยะที่ 3 ซึ่งทำการศึกษาโดยวิทยาลัยแพทย์ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (ACOSOG) ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจของสหภาพยุโรปในการอนุมัติใช้ยาอิมมาตินิบในการลดความเสี่ยงการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็งจีสต์ภายหลังการผ่าตัด รายละเอียดในการศึกษา การศึกษา ปิดสองทาง แบบสุ่ม หลายศูนย์ ได้ทำการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ซึ่งเป็นมะเร็งจีสต์ทั้งสิ้น 713 ราย และผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดนำเอาเนื้องอกออกไปแล้ว ทั้งนี้การศึกษาได้เปรียบเทียบ การปลอดการกลับเป็นซ้ำ (Recurrence free survival, RFS) ระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาอิมมาตินิบ 400 มิลลิกรัมต่อวัน และผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก โดยมีการติดตามผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มทันทีหลังการผ่าตัด ผลปรากฏว่า 98 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาอิมมาตินิบ ยังคงไม่มีการกลับมาเป็นซ้ำของโรคเป็นระยะเวลาหนึ่งปีหลังจากผ่าตัดเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกพบว่ามีค่า การปลอดการกลับเป็นซ้ำ เท่ากับ 83 เปอร์เซ็นต์ (P

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ