สรุปผลการประชุม ASEAN Finance and Central Bank Deputies’ Working Group Meeting (AFDM-WG)

ข่าวทั่วไป Thursday April 9, 2009 10:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 เม.ย.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง การประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance and Central Bank Deputies’ Working Group Meeting: AFDM-WG) ได้จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2552 ณ โรงแรมมิลเลนเนียม รีสอร์ท ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังทำหน้าที่ประธานการประชุมและมีประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ เข้าร่วมการประชุม โดยสรุปสาระสำคัญผลการประชุมได้ ดังนี้ 1. ความคืบหน้าของการดำเนินงานภายใต้ Roadmap for Monetary and Financial Integration ซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานในส่วนความรับผิดชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย 1.1 Roadmap for Capital Market Development 1.2 Roadmap for Liberalization of Financial Services 1.3 Roadmap for Capital Account Liberalization ซึ่งในการประชุมแต่ละปีประธานการประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวง การคลังและธนาคารกลางอาเซียนจะสรุปรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการตามแผนงานแต่ละโครงการเพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนรับทราบ และ/หรือให้ความเห็นชอบ (ความคืบหน้าของทั้ง 3 Roadmap ปรากฏตามเอกสารแนบ) 2. ความคืบหน้าของความร่วมมือด้านการเงิน เช่น การส่งเสริมความร่วมมือด้านการประกันภัยอาเซียน ความร่วมมือด้านศุลกากร มาตรการต่อต้านการก่อการร้าย การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้าย ซึ่งประธานคณะทำงาน ฯ การประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียนจะสรุปรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการแต่ละโครงการ 3. ความคืบหน้าผลการศึกษาในด้านต่าง ๆ อาทิ 3.1 การศึกษาเรื่อง “แผนการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาตลาด ทุนสู่การรวมตลาด: The ACMF’s Implementation Plan” เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนสู่การรวมตลาดและนำเสนอต่อที่ประชุมให้ผลักดันแผนฯ ให้มีการดำเนินการอย่างจริงจังต่อไป 3.2 การศึกษาเรื่อง Finance Landscape in ASEAN เพื่อเป็นแนวทางในการเปิดเสรีการบริการด้านการเงิน ซึ่งกำลังศึกษาและขอความเห็นชอบในเดือนเมษายน และคาดว่าผลการศึกษา มีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2553 3.3 การศึกษาการสนับสนุนกลไกทางการเงินแก่โครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Infrastructure Financial Mechanism: AIFM) เพื่อสนับสนุนการเงินด้านโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคอาเซียน โดยแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ 1. การสนันสนุนการจัดตั้งกองทุน (ASEAN Infrastructure Fund) และ 2. และมาตรการในการอำนวยความสะดวกในการลงทุน(facilitation measures) โดยได้รับการสนันสนุนจาก World Bank 4. การจัดตั้งหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค สำนักเลขาธิการอาเซียนได้รายงานความคืบหน้าถึงการจัดทำ ASEAN Surveillance Report เพื่อเป็นรูปแบบตารางการจัดทำฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกัน และจัดตั้ง Strengthening of the Finance and Macroeconomic Surveillance Unit (FMSU) of ASEAN Secretariat โดยมีการนำเสนอโครงสร้างของ FMSU เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรและ ให้มีการจ้าง Chief Economist โดยให้จัดจ้างผู้ที่มีประสบการณ์เพื่อปฏิบัติงานในหน่วยงานนี้ สำหรับหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมานี้จะต้องมีความเป็นอิสระจากสำนักงานเลขาธิการอาเซียนเพื่อความเป็นกลางในการวิเคราะห์ข้อมูล และให้มีการสนับสนุนด้านการเงินจากประเทศสมาชิก 5. การจัดงาน ASEAN Investment Day (AID) ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพในการจัดงานที่ประชุม The 42th ASEAN Development Bank (ADB) Annual Meeting ในระหว่างวันที่ 2-5 พฤษภาคม 2552 ณ เมืองบาหลี และในระหว่างการจัดประชุมดังกล่าวจะมีการจัดงาน AID ในระหว่างการประชุม ADB ในครั้งนี้ โดยในงาน AID จะมีกิจกรรมได้แก่ การจัดเวทีเสวนา นิทรรศการ การเป็นผู้สนับสนุนการจัดงาน และกิจกรรมทางวัฒนธรรม วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์นักลงทุน การท่องเที่ยว ข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ในภูมิภาคอาเซียนให้แก่นักลงทุนที่จะเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ จำนวนประมาณ 8,000 คน จาก 80 ประเทศทั่วโลก เอกสารแนบ 1. การพัฒนาตลาดทุน (ASEAN Capital Market Development: CMD) สิงค์โปร์ในฐานะประธานคณะทำงาน (WG-CMD) กล่าวถึงการดำเนินงานของคณะทำงานฯ ว่าในการพัฒนาให้ตลาดทุนให้มีความเข้มแข็งนั้นจำต้องมีปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่ 1. การมีการวางแผนการจัดการที่ดี 2. การเสนอทางเลือกที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับระดับการพัฒนาของประเทศนั้น ๆ และ 3. ควรมีการเตรียมความพร้อมของตลาดทุนในแต่ละประเทศก่อนมีการรวมกันของตลาดทุน ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้เห็นชอบและสนับสนุน “แผนการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาตลาดทุนสู่การรวมตลาด” ของ ASEAN Capital Market Forum (ACMF) ซึ่งมีเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เป็นประธาน โดยเห็นควรร่วมผลักดันแผนดังกล่าวให้มีการดำเนินการอย่างจริงจังต่อไป 2. การเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน (Liberalization of Trade in Financial Services: FSL) อินโดนีเซียในฐานะประธานคณะทำงาน(WG-FSL) รายงานสถานะการให้สัตยาบันสำหรับ การเปิดเสรีการค้าด้านการเงินในครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ว่าในครั้งที่ 3 ทุกประเทศได้ดำเนินการให้สัตยาบันแล้ว และครั้งที่ 4 ประเทศไทย บรูไน ลาว กัมพูชา และเวียดนามมีการบังคับใช้พิธีสารแล้ว ส่วนประเทศอินโดนีเซีย พม่า มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2552 ก่อนการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 13 (13th ASEAN Finance Ministers’ Meeting: AFMM) สำหรับการศึกษาเรื่อง Financial Landscape in ASEAN เพื่อเป็นแนวทางในการเจรจาการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินในรอบที่ 5 มีกรอบระยะเวลาการดำเนินการขอความเห็นชอบใน TOR ในเดือนเมษายน 2552 ในการประชุม 13th AFMM ซึ่งผลการศึกษามีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2553 ทั้งนี้ การเจรจาในรอบที่ 5 มีกำหนดเสร็จสิ้นในปี 2553 และคาดว่าจะมีการลงนามในการเปิดเสรีทางการเงินรอบที่ 5 ในการประชุม AFMM ครั้งที่ 15 สำหรับประเด็นการศึกษามี 2 ประเด็น 1. Context of the Study’s TOR ซึ่งสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)ได้รวบรวมและแก้ไขเพื่อให้ประเทศสมาชิกและคณะทำงานฯ พิจารณาอีกครั้งก่อนเสนอในที่ประชุม 13th AFMM ในเดือนเมษายน 2552 เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป 2. การสนับสนุนเงินทุนในการจัดทำการศึกษาฯ จะได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก ADB จำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งในการศึกษาดังกล่าวจะต้องมีการควบคุมกำกับดูแลและตรวจสอบจาก ทุกประเทศจากภาครัฐ ธนาคารกลาง และเอกชน ถึงความเป็นกลาง และการมีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท ที่ปรึกษา และให้เสนอให้ WC-FSL และคณะทำงานอื่นๆ พิจารณาก่อนนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังอาเซียนเห็นชอบสำหรับกรอบการศึกษา นอกจากนั้น ASEAN Secretariat เสนอให้มีการจัดทำ Pre-agreed Flexibilities สำหรับการบริหารการเงินที่ประชุมให้อินโดนีเซียและมาเลเซียไปศึกษาแนวทางการจัดทำและนำมาเสนอต่อที่ประชุมเพื่อพิจารณาต่อไป 3. การเปิดเสรีบัญชีการเคลื่อนย้ายเงินทุน (Capital Account Liberalization: CAL) ประเทศอินโดนีเซียในฐานะประธานคณะทำงาน(WG-CAL) ได้รายงานการเปิดเสรีCurrent Account ตาม Article 8 ของ IMF ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่รับพันธะดังกล่าวแล้ว ซึ่งจะเหลือเพียง 2ประเทศ คือ ลาว และพม่า ซึ่งประเทศลาวได้รายงานว่าการดำเนินการของลาวจะแล้วเสร็จภายในปี 2552 แต่ประเทศพม่ายังไม่รับ Article 8 ของ IMF 4. Coordination of RIA-FIN Committees and Other ASEAN Finance Working Group and Committees สำนักเลขาธิการอาเซียนเห็นควรให้มีการประสานงานกันและต้องการให้มีการศึกษา ASEAN Financial Landscape และควรมีการหารือเกี่ยวกับ key issue ซึ่งหัวข้อก็จะเกี่ยวกับขั้นตอนกระบวนการที่จะนำพาองค์กรไปสู่การปฏิบัติได้ และจะต้องมีการกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ชัดเจนของคณะทำงาน ที่สามารถสนับสนุนการทำงานให้สามารถทำงานได้และการศึกษา ASEAN Financial Landscape จะศึกษาเสร็จภายในปีนี้ ประมาณเดือนตุลาคม ทั้งนี้ เพื่อให้มีการประสานงานกันและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันมากขึ้นประชุมฯ เห็นควรให้มีการประชุมฯ มากกว่าปีละ 2 ครั้ง 5. ระบบระวังภัยเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Surveillance Process: ASP) สำนักเลขาธิการอาเซียนในฐานะคณะทำงานได้รายงานความคืบหน้าการจัดทำASEAN Surveillance Report และ Strengthening of the Finance and Macroeconomic Surveillance Unit (FMSU) of ASEAN Secretariat ดังนี้ 1. ASEAN Surveillance Report สำนักเลขาธิการอาเซียนได้เสนอรูปแบบตารางการจัดทำฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันโดยได้ให้คณะทำงานฯ และประเทศสาชิกอาเซียนช่วยกันพิจารณาและแก้ไขข้อบกพร่องและให้ส่งคืนให้คณะทำงานฯ ได้ทำการแก้ไขอีกครั้ง 2. Strengthening of the Finance and Macroeconomic Surveillance Unit (FMSU) of ASEAN Secretariat การนำเสนอโครงสร้างของ FMSU นั้น เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรและให้มีการจ้าง Chief Economist โดยให้ ASEAN Secretariat จัดจ้างผู้ที่มีประสบการณ์เพื่อปฏิบัติงานในหน่วยงานนี้ สำหรับหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมานี้จะต้องมีความเป็นอิสระจาก ASEAN Secretariat เพื่อความเป็นกลางในการวิเคราะห์ข้อมูล และให้มีการสนับสนุนด้านการเงินจากประเทศสมาชิก 6. ความร่วมมือด้านประกันภัย (Cooperation in Insurance Matters) ประเทศบรูไนในฐานนะประธานคณะทำงานรายงานเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านการประกันภัยอาเซียน ซึ่งรวมถึงเรื่องการให้หน่วยงานกำกับดูแลนำหลักการปฏิบัติของ (International Association of Insurance Supervisors: IAIS) เพื่อเป็นแนวทางหน่วยงานกำกับธุรกิจประกันภัยในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจประกันภัยให้มีความสอดคล้องกันและเป็นไปในทางมาตรฐานสากล ขณะนี้ได้ดำเนินการอยู่ในการผลักดันในเรื่องการดำเนินการเปิดตลาดการประกันภัยอาเซียน การพัฒนากฎระเบียบ และกิจกรรมการอบรมด้านการประกันภัยของอาเซียน และการจัดทำหลักสูตรการควบคุมการประกันภัยในกัมพูชาและมาเลเซีย สำหรับความก้าวหน้าของ Protocol 5 ของแผนการเปิดเสรีในด้านประกันภัยการขนส่งประเทศไทย ลาว และเวียดนามจะมีการเซ็น MOU ระหว่างกันเพื่อสามารถขนส่งสินค้าระหว่างกันได้สะดวกขึ้น และไทยยังได้เชิญประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกันเซ็น MOU ด้วย สำหรับการประชุมในครั้งต่อไปลาวจะเป็นผู้จัดประชุมในเดือนพฤศจิกายน 2552 สถานที่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง 7. ความร่วมมือด้านศุลกากร (Cooperation in Customs) ประเทศลาวในฐานะประธานคณะทำงานได้รายงานว่าASEAN Customs ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์สำหรับพัฒนาศุลกากร (Strategic Plan of Customs Development: SPCD) และรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. การดำเนินการผลักดันให้มีการรวมตัวทางศุลกากร 2. การรายงานความคืบหน้าของการจัดทำขั้นตอนศุลกากรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน (ASEAN Single Window) เช่น การนำเสนอรูปแบบของกระบวนการขนส่งสินค้าระดับภูมิภาค การตรวจปล่อยของอาเซียนและแบบฟอร์มใบขนส่งสินค้าของอาเซียน (ASEAN Customs Declaration Document: ACDD)และที่สำคัญควรมีการส่งเสริมให้มีการร่วมมือกันให้มากกว่านี้ ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ และเน้นความร่วมมือของศุลการกรระหว่างภูมิภาค รัฐต่อรัฐ รัฐต่อภาคธุรกิจให้มากขึ้น 8. การพัฒนาตลาดทุนในภูมิภาค (ASEAN Capital Market Forum: ACMF) ประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)ได้นำเสนอผลการศึกษาที่มี ADB เป็นที่ปรึกษาเรื่องแผนปฏิบัติการ (The ACMF’s Implementation Plan) ให้ที่ประชุมได้ทราบผลการศึกษาเพื่อที่จะเสนอให้ Implement Plan ต่อ AFMM รับรองผลการศึกษาเพื่อจะได้มีผลในทางปฏิบัติต่อไป สำหรับเรื่องที่ตลาดหลักทรัพย์ได้ดำเนินการเชื่อมโยงตลาดหลักทรัพย์เข้าหากัน ซึ่งจะเริ่ม Implement ระบบ ASEAN Common Exchange Gateway (ACE) ในปี 2009 ซึ่งอาเซียนได้รับการสนับสนุนจาก ADB ในการศึกษา ขณะนี้มาเลเซีย สิงค์โปร์ และไทยได้มีการนำเอามาตรการที่ได้ตกลงกันไว้มาใช้ adopt standards ASEAN and Plus Standards of disclosure(for equity and debt securities offerings) กฎระเบียบและประกาศใช้ ส่วนประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ 9. การจัดการด้านการก่อการร้ายและการฟอกเงิน Countering Terrorism Financing and Anti-Money Laundering สำนักงานเลขาธิการอาเซียนได้รายงานต่อที่ประชุมเกี่ยวกับการร่วมมือระหว่าง Asia-Pacific on Money Laundering (APG) Secretariat และสำนักเลขาธิการอาเซียนในการต่อต้านการก่อการร้าย และการฟอกเงิน ซึ่งได้มีการดำเนินการและมีกิจกรรมร่วมกันในหลายๆ ด้าน เช่น การประชุมร่วมกัน การช่วยเหลือ ในด้านข่าวสารข้อมูล การทำโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้รายงานผลข้อมูลด้านการเงิน การก่อการร้าย และการฟอกเงิน ซึ่งเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)ของไทยได้เสนอเพิ่มเติมให้มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ที่มีความผิดในมูลฐาน การฟอกเงิน การก่อการร้าย การค้ามนุษย์ การพนัน ฯลฯ ให้เหมือนทางยุโรป อเมริกาเพื่อความสะดวก ในการติดตาม ตรวจสอบและง่ายต่อการประสานงานกัน และในการดำเนินการดังกล่าวต้องไม่เป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน 10. การสนันสนุนกลไกทางการเงินแก่โครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Infrastructure Financial Mechanism: AIFM) มาเลเซียในฐานะประธานคณะทำงาน AIFM ได้นำแนวทางในการสนันสนุนกลไกทางการเงินแก่โครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคอาเซียน โดยแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ 1. การสนับสนุนการจัดตั้งกองทุน (ASEAN Infrastructure Fund) และ 2. มาตรการในการอำนวยความสะดวกในการลงทุน(facilitation measures) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากWorld Bank สำหรับ AIFM Task Force ให้ความสำคัญกับ proposal ของภาคเอกชน โดยWorld Bank จะสนับสนุนช่องทางสำหรับภูมิภาคอาเซียนสำหรับรัฐบาลกลางผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานของรัฐบาล และกฏระเบียบ รัฐบาลท้องถิ่น และภาคเอกชนในการร่วมแชร์ประสบการณ์ และแนะนำทางแก้ไข รูปแบบการนำเสนอเพื่อช่วยให้ภูมิภาคอาเซียนสามารถดำเนินการจัดตั้งกองทุน ASEAN Infrastructure Fund อีกทั้งจะช่วยสนันสนุนด้านการเงินในการจัดประชุม การอบรม และมีการจัดทำ workshop และ มีการสนันสนุนด้านการเงินแก่โครงการโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน ซึ่งประเทศสมาชิกได้เสนอว่า ในการศึกษาในเรื่องดังกล่าวควรให้ World Bank เสนอแนะแนวทางในการดำเนินการ แนวทางในการแก้ไขปัญหา และกระบวนการทำงานควรเป็นอย่างไรซึ่งจะเป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริง 11. Preparation for 13th AFMM and Related Meeting ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 13 13th ASEAN Finance Ministers’ Meeting: AFMM and Related Meeting แจ้งกำหนดการประชุมฯ ที่จะมีขึ้นในเดือนเมษายนในระหว่างวันที่ 6-9 เมษายน 2552 12. ASEAN Finance Ministers’ Retreat Issues ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพการจัดประชุมฯ ได้เสนอหัวข้อ ASEAN Finance Ministers’ Retreat Issues 2 หัวข้อ ดังนี้ 1.การจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนกลไกทางการเงินแก่โครงสร้างพื้นฐาน ของภูมิภาคอาเซียน 2. เรื่องภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก 13. ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar อินโดนีเซียรายงานผลการประชุม ASEAN Finance Ministers Investor Seminar (AFMIS) ครั้งที่ 5 ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ในวันที่ 8 ตุลาคม 2551 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรี การคลังอาเซียนเข้าไปร่วมงานด้วย จุดประสงค์ในการเข้าร่วมเพื่อเป็นการแสดงการลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่าง ASEAN และกลุ่มประเทศรอบอ่าว การร่วมมือกันระหว่างภูมิภาคทั้งสองทำให้มีการเปิดตลาดใหม่สำหรับการลงทุนและการแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นหุ้นส่วนในการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยได้ชี้ให้เห็นถึงจุดแข็งจุดอ่อนของการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน 14. ASEAN Investment Day (AID) ประเทศอินโดนีเซียได้รายงานต่อที่ประชุมว่าจะเป็นเจ้าภาพการจัดประชุม The 42th ASEAN Development Bank (ADB) Annual Meeting ในระหว่างวันที่ 2-5 พฤษภาคม 2552 ณ เมืองบาหลี และในระหว่างการจัดประชุมดังกล่าวจะมีการจัดงาน AID ในระหว่างการประชุม ADB ในครั้งนี้ โดยในงาน AID จะมีกิจกรรมได้แก่ การจัดเวทีเสวนา นิทรรศการ การเป็นผู้สนับสนุนการจัดงาน และกิจกรรมทางวัฒนธรรม สำหรับรายละเอียดในด้านต่าง ๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถดูลายละเอียดได้ที่ www.adb.org or IOC website: www.adbbali09.org 15. Date and Venue of next Meeting ประเทศเวียดนามในฐานะเจ้าภาพการจัดประชุมในครั้งต่อไปได้แจ้งในที่ประชุมว่ายังไม่ได้กำหนดเวลา และสถานที่ในการจัดประชุมครั้งต่อไปในปี 2010 โดยเวียดนามจะขอกลับไปพิจารณาสถานที่ในการจัดประชุมและจะแจ้งให้ที่ประชุมทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ