กรุงเทพฯ--2 มิ.ย.--แฟรนคอม เอเซีย
เวลาออกอากาศ : วันพฤหัสที่ 15 มิถุนายน เวลา 21.00 น. วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน เวลา 04.00 น. และ 21.00 นวันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน เวลา 13.00 น.และ 21.00 นวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน เวลา 02.00 น.และ 13.00 นวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน เวลา 02.00 น.
ซีเอ็นเอ็นรวบรวมกลุ่มอัจฉริยะในด้านต่างๆในยุคนี้ เพื่อเข้าร่วมงาน ‘CNN FUTURE SUMMIT: OF MAN AND MACHINE’. เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของซีเอ็นเอ็น ซึ่งจะออกอกาศในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ 2 ใน 4 ของผู้ร่วมอภิปรายในครั้งนี้มาจากหนึ่งในทีมงานทำโคลนนิ่งแกะชื่อ ดอลลี่ และหญิงที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นจิตแพทย์ด้านโรบอทคนแรกของโลก โดยผู้ร่วมอภิปรายทั้ง 4 ท่านที่ได้ถูกคัดสรรมาเป็นอย่างดีเพื่อการนี้โดยเฉพาะ จะร่วมกันสำรวจว่า การพัฒนาทางด้านพันธุวิศวกรรม การวิจัยเรื่อง Stem Cell การวิทยากรด้านหุ่นยนต์ (Robotic) และวิทยาการที่ควบคุมการสื่อสารในคอมพิวเตอร์(Cybernetics) มีส่วนในการปรับเปลี่ยนของเครื่องจักรมนุษย์อย่างรวดเร็วอย่างไร และมนุษย์จะมีปฎิสัมพันธ์ในอนาคตอันใกล้นี้อย่างไรกับการที่หุ่นยนต์จะเข้ามามีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนโลกของเรา
การอภิปรายนี้เป็นการอภิปรายครั้งแรกครั้งสำคัญที่สุดของการอภิปรายทั้งหมดจำนวน 4 ครั้งที่จัดโดยซีเอ็นเอ็น ในประเทศสิงคโปร์ ดำเนินรายการโดย ไมเคิล โฮมส์ การอภิปรายนี้ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้มีเกิดการถกเถียงกันในเรื่องของเทคโนโลยีระดับสูงที่มีผลต่อโลกในอนาคตของเรา และด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดียที่นำเสนอในเว็บไซด์http://cnn.com/futuresummit ที่เปิดกว้างแก่ผู้ชมจากทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอภิปรายผ่านทางเว็บไซด์ซึ่งผู้ชมสามารถแสดงความคิดเห็นและยังสามารถติดตามประเด็นต่างๆที่จะทำการอภิปรายได้
รีน่า โกลเด้น รองประธานอาวุโสของซีเอ็นเอ็น อินเตอร์แนชั่นเนลกล่าวว่า “ผู้ร่วมอภิปรายทั้ง 4 ที่เข้าร่วมการอภิปรายในครั้งแรกนี้จะเป็นผลของความสำเร็จในการจัดการอภิปราย CNN Future Summit ที่เป็นการรวบรวมกลุ่มคนสองกลุ่มอันได้แก่ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์และคนทั่วไปเข้าไว้ด้วยกัน เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลที่มีชื่อเสียงกลุ่มนี้ได้รับการคัดเลือกมาจากคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่นำการอภิปรายพร้อมทั้งช่วยในการจัดรูปแบบของโลกในอนาคตของเรา”
ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์ชาวเกาหลีใต้ จุนโฮโอ กับหุ่นยนต์ ฮิวโบ้ (HUBO) จะให้เกียรติมาปรากฏตัวในรายการ CNN FUTURE SUMMIT: หัวช้อ MAN AND MACHINE นี้ ฮิวโบ้เป็นหนึ่งในกลุ่มหุ่นยนต์ที่มีความเสมือนมนุษย์มากที่สุดในโลก ได้รับการออกแบบโดย ดร. โอ และสถาบัน The Korea Advanced Institute of Science & Technology ฮิวโบ้ได้รับการเปิดตัวเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคมปี 2004 โดยฮิวโบ้สามารถเคลื่อนที่ จับมือ และเต้นรำได้
ผู้ร่วมอภิปราย
อลัน โคลแมน (Alan Colman) ซีอีโอและหัวหน้ากลุ่มนักวิทยาศาสตร์ของ ESI ในสิงคโปร์ และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากงานของเขาในการทำโคลนนิ่งแกะที่ชื่อว่า ดอลลี่ในปี 1997 “ผมคิดว่าการโคลนนิ่งดอลลี่เป็นการตัวอย่างที่นำไปสู่เปลี่ยนแปลงมุมมองที่ว่า Stem Cells ที่เติบโตเต็มที่จะทำอะไรได้บ้าง” อลันเสริมว่า “วิวัฒนาการขั้นสูงในเรื่องการยีน และ การวิจัยเรื่อง Stem Cell จะนำไปสู่ “การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชิวิตที่ดีขึ้น” อย่างแน่นอน
ได้รับการขนานนามว่าเป็นจิตแพทย์ด้านหุ่นยนต์คนแรกของโลก Joanne Pranksy ได้สังเกตุพัฒนาการทางด้านหุ่นยนต์ และทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่องค์กรและบริษัททั่วโลก “เมื่อคิดถึงการที่หุ่นยนต์จะเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของเรานั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโลกของเราอย่างรวดเร็วแน่นอน” Pranksy กล่าว อัตราการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแบบยกกำลังที่เกิดขึ้นนี้หมายถึงว่าปัจจุบันอัตราเปลี่ยนแปลงเท่ากับ “ความก้าวหน้าภายใน 100 ปีสามารถทำได้ภายในเวลาเพียง 25 ปี” Pranksy เสริม “และในคริสศัตวรรษที่ 21 เราจะรู้สึกเหมือนมีการก้าวหน้าของเทคโนโลยีไปแล้วถึง 2หมื่นปี”
Daniela Cerqui เป็นนักมนุษยวิทยาด้านสังคมและวัฒนธรรมจากมหาวิทยาลัยลอซานน์ (University of Lausanne) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เชี่ยวชาญทางด้านการบรรจบกันระหว่างสังคมและเทคโนโลยี “เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ควรถูกทำความเข้าใจในลักษณะที่แยกตัวออกไป” Cerqui กล่าว “ในปัจจุบันมันถูกทำให้รวมกันเพื่อให้เกิดการปรับปรุงของมนุษยชาติ เราควรจะยืนถอยหลังออกไป 1 ก้าวและควรจะตั้งคำถามว่าสิ่งเหล่านี้มีความหมายอะไรต่อสังคม ถ้าทุกคนสามารถทดแทนส่วนต่างๆที่เสียหายล้มเหลวในร่างกายได้ และยิ่งไปกว่านั้นคือการดัดแปลงแก้ไขตัวของเราอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนั่นยอมหมายความถึงว่าเราอาจเปลี่ยนแปลงไปสู่เผ่าพันธุ์ใหม่ ที่อาจจะเป็นเผ่าพันธุ์อะไรก็ได้ที่ไม่ใช่มนุษย์!!อีกต่อไป
Jay Keasling ทำงานด้านการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบกับคนมันล้านคนทั่วโลก ด้วยการออกแบบจีนของจุลชีพใหม่ๆเพื่อใช้ในการผลิตยาสำหรับช่วยชีวิตมนุษย์ Keasling เป็นผู้อำนวยการที่ก่อตั้งแผนก Synthetic Biology ในมหาวิทยาลัย California at Berkeley นอกจากนี้ Keasling และลูกทีมของเขาได้ทำนำยีนของ 3 สปีซีส์ มาผลิต Artemisnin ที่ใช้ในการต่อสู้โลกมาเลเรีย Artemisnin นั้นสามารถพบได้ตามธรรมชาติในต้น Wormwood แต่ว่าะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากรวมถึงเวลาในการสกัด หน่วยงาน CDC (Centers of Diseases Control) ประมาณการว่าในแต่ละปี จะมีคนทั่วโลกมากถึง 2.7 ล้านคนตายเพราะมาเลเรีย ดังนั้นทางออกของ Keasling จึงช่วยเพิ่มทางเลือกของแหล่งที่มาของยาได้มากขึ้น
สามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CNN Future Summit ได้ที่ http://cnn.com/futuresummit
ซีเอ็นเอ็น อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมงชั้นนำของโลก โดยให้บริการแก่ผู้คนมากกว่า 2 พันล้านคนกว่า 200 ประเทศทั่วโลกใน 7 ภาษาที่แตกต่างกัน ซีเอ็นเอ็น อินเตอร์เนชั่นแนลได้ถูกรับชมผ่านโทรทัศน์ทั้งจากตามบ้านและโรงแรมไม่น้อยกว่า 190 ล้านเครื่อง ซึ่งรวมถึงกว่า 30 ล้านเครื่องในเขตเอเชียแปซิฟิค
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net