กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--อิมเมจ อิมแพค
การใช้กองเรือรบเพื่อครอบครองน่านน้ำ หรือเพื่อขัดขวางความพยายามแบบเดียวกันของข้าศึก คือองค์ประกอบสำคัญแห่งยุทธนาวีมาสองพันปีกว่าแล้ว เป้าหมายหลักของกองเรือขนาดใหญ่ที่ครองทะเลจากกลางศตวรรษที่16ถึงกลางศตวรรษที่ 19 คือการปิดล้อมและทำลายกองเรือของศัตรู — ตามที่นายพลเรือ เนลสันแห่งอังกฤษได้แสดงให้เห็นอย่างงดงามในแม่น้ำไนล์และที่ทราฟัลการ์ความเปลี่ยนแปลงขั้นพลิกผันของเทคโนโลยีเช่นการเกิดเครื่องจักรไอน้ำและปืนใหญ่พิสัยไกล ยังไม่เปลี่ยนแปลงหลักการพื้นฐานของแผนยุทธการนี้ และที่น่าประหลาดใจคือแม้แต่กำลังทางทหารที่ทันสมัย เช่นกำลังทางอากาศและกองเรือดำน้ำก็ไม่ได้ทำให้หลักการขั้นพื้นฐานนี้เปลี่ยนไปเลย สงครามทางทะเลนั้นแตกต่างจากสงครามทางบก คือต้องใช้ระยะทางไกล ค้นหาศัตรูกว่าจะพบใช้เวลาหลายเดือน แล้วเมื่อพบก็ต้องเข้าต่อตีทันที เนื้อความตอนนี้มุ่งวิเคราะห์หลักการขั้นพื้นฐานของแผนยุทธการชนิดต่างๆ พิจารณาสองตัวอย่างแตกต่างกันของการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกองเรือรบ และแสดงว่าแม้อาวุธจะก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วแต่เป้าหมายของผู้บัญชาการหน่วยรบยังคงเดิม
ที่เกาะมิดเวย์ในเดือนมิถุนายน 1942 โฉมหน้าของสงครามด้านแปซิฟิกได้ถูกพลิกไปภายในเวลาไม่ถึงห้านาที เมื่อฝูงบินดิ่งทิ้งระเบิดของสหรัฐทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินสำคัญของญี่ปุ่นได้หลายลำ ว่าด้วยความยิ่งใหญ่ของกองเรือและกุญแจสำคัญในการวางแผนยุทธการเพื่ออยู่รอดในอนาคต
และที่อ่าวเลย์เตในเดือนตุลาคม 1944 เมื่อจักรพรรดินาวีวางเดิมพันหมดหน้าตัก ในการจู่โจมด้วยหมู่เรือประจัญบานต้านการยกพลขึ้นบกของสหรัฐขึ้นชายฝั่งฟิลิปปินส์ แต่ในที่สุดกลับถูกทำลายย่อยยับด้วยกองบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ