ไอเอ็นจีเผยผลสำรวจภาวะการลงทุนไตรมาส 1/2552 ดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในไทยไตรมาส 1/2552 เพิ่มขึ้น 10% สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นในภูมิภาคเอเชียที่ปรับตัวสูงขึ้น นำโดยจีนและอินเดีย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 22, 2009 11:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 เม.ย.--อาซิแอม เบอร์สัน — มาร์สเตลเลอร์ ไอเอ็นจี กรุ๊ป สถาบันการเงินระดับโลก เผยข้อมูลจากรายงานการสำรวจภาวะการลงทุนรายไตรมาสว่า ความเชื่อมั่นของการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 10% มาอยู่ที่ 65 ในไตรมาส 1/2552 จาก 59 ในไตรมาส 4/2551 แต่ลดลง 50% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยยังคงจัดอยู่ในระดับต่ำ (Pessimistic) ขณะที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีดัชนีความเชื่อมั่นของการลงทุนในระดับต่ำที่สุด (Very Pessimistic) ในภูมิภาคเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในไตรมาส 1/2552 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในภูมิภาคเอเชียโดยรวม (ยกเว้นญี่ปุ่น) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 85 ในไตรมาส 1/2552 จากที่ระดับ 73 ในไตรมาสก่อน (4/2551) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินอย่างต่อเนื่องของโลก ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนมีการปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีดังกล่าวในไตรมาส 3/2550 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของการลงทุนได้ปรับตัวจากระดับต่ำ (Pessimistic) กลับสู่ระดับปานกลาง (Neutral) การสำรวจภาวะการลงทุนไอเอ็นจี อินเวสเตอร์ แดชบอร์ด (ING Investor Dashboard) เป็นการสำรวจดัชนีการลงทุนรายไตรมาสในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) เป็นรายแรก โดยเป็นการชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนในภูมิภาคนี้ทั้ง 13 ประเทศ ได้แก่ ไทย ฮ่องกง จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ส่วนดัชนีภาครวมของเอเชียจะรวมทุกตลาด ยกเว้น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ พร้อมทั้งเสนอภาพรวมของตลาดการลงทุนและทัศนคติของนักลงทุน โดยสามารถใช้ดัชนีความเชื่อมั่นประจำไตรมาสของไอเอ็นจี กรุ๊ป ในการอ้างอิง ทัศนคติของนักลงทุนไทย นักลงทุนไทยยังคงมีทัศนคติในเชิงลบ โดยนักลงทุนไทย 21% มีความเห็นว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะซบเซา และ 47% ระบุว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะตกต่ำ สรุปโดยรวม นักลงทุนไทยยังคงมีทัศนคติในเชิงลบต่อระบบเศรษฐกิจไทยและสถานะการเงินส่วนบุคคล ทัศนคติของนักลงทุนไทย ไตรมาส 1/2552 ไตรมาส 4/2551 เศรษฐกิจไทยตกต่ำลง 76% 88% สถานะการเงินส่วนบุคคลตกต่ำลง 41% 52% สำหรับในไตรมาส 2/2552 คาดว่า นักลงทุนไทยยังคงมีทัศนคติในเชิงลบอย่างต่อเนื่อง ทัศนคติของนักลงทุนไทย ไตรมาส 1/2552 ไตรมาส 4/2551 เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะอยู่ในภาวะตกต่ำ 57% 77% สถานะการเงินส่วนบุคคลคาดว่าจะตกต่ำลง 38% 38% ประเด็นความวิตกกังวลที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนไทย ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ตกต่ำลง (13%) และสภาวะเศรษฐกิจไทย (61%) โดยนักลงทุนไทย 63% มีความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในหน้าที่การงานของตน ซึ่งเพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2551 ด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยซึ่งบ่งชี้สภาวะตลาดโดยรวมของประเทศ มีดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนลดลงเพียงเล็กน้อยในไตรมาส 1/2552 โดยนักลงทุนไทย 60% เชื่อว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักอาศัยจะลดลงในไตรมาส 2/2552 บ่งชี้ถึงความแปรปรวนของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อไป นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในไตรมาส 1/2552 นักลงทุนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และอาจสั่นคลอนได้หากสภาพเศรษฐกิจในอนาคตยังคงตกต่ำลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการลดการจ้างงาน และการมีรายได้จากต่างประเทศลดลง สืบเนื่องจากการทรุดตัวของธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของเงินตราต่างประเทศและการจ้างงาน นอกจากนี้ นักลงทุนไทยก็มิได้มีความเชื่อมั่นสูงมากนักว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถรักษาระดับความเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่คลี่คลายชัดเจน ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค" กลยุทธ์ของนักลงทุนไทย นักลงทุนไทยยังคงใช้กลยุทธ์การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำต่อจากไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่ 52% มีความเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันนั้นต่ำมากเกินไป ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนที่ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากนักลงทุนไทย ได้แก่ เงินสด ทองคำ หุ้นไทย และอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักอาศัยในไทย ? 99% ของนักลงทุนไทย มีการถือครองเงินสดในไตรมาสที่ 1/2552 ? 45% ลงทุนในทองคำในไตรมาส 1/2552 เทียบกับ 50% ในไตรมาสที่ 4/2551 ? 39% ลงทุนในหุ้นไทยในไตรมาส 1/2552 เพิ่มขึ้นจาก 20% ในไตรมาส 4/2551 ? 8% ลงทุนในเงินตราต่างประเทศในไตรมาส 1/2552 ซึ่งเป็นตัวเลขที่เท่ากับไตรมาส 4/2551 ? 37% ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักอาศัยในไทย (เป็นการซื้อเพื่อการลงทุน) ในไตรมาส 1/2552 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 7% ในไตรมาสก่อน ก้าวเข้าสู่ไตรมาส 2/2552 นักลงทุน 11% กล่าวว่า จะมีการถือครองเงินสด/เงินฝากมากขึ้น ขณะที่นักลงทุน 5% เผยว่า จะลงทุนในทองคำมากขึ้น และ 2% ประกาศลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักอาศัยในไทย เพราะคาดว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ในไทยจะลดต่ำลงอีก นายมาริษ ท่าราบ เผยต่อไปว่า “ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ไอเอ็นจีเสนอต่อตลาดในช่วงครึ่งปีแรกนี้ จะมุ่งเน้นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนเปิด “ไอเอ็นจี ไทย ไอเอสเอฟ 12M1” และ “ไอเอ็นจี ไทย ไอเอสเอฟ 12M2” ซึ่งลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรรัฐวิสาหกิจของเกาหลีใต้ โดยมีการประกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาท และคาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากประจำ 1 ปี ของธนาคารทั่วไปในไทย ทั้งนี้ “ไอเอ็นจี ไทย ไอเอสเอฟ 12M1” เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้จองซื้อระหว่างวันที่ 16 -23 เมษายน 2552 ส่วน “ไอเอ็นจี ไทย ไอเอสเอฟ 12M2” เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้จองซื้อระหว่างวันที่ 23 -30 เมษายน 2552” จีนช่วยขับเคลื่อนดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในภูมิภาคเอเชียเพิ่มสูงขึ้น จีนและอินเดียเป็นสองประเทศที่ผลักดันการเติบโตในภูมิภาคเอเชีย โดยขับเคลื่อนความเชื่อมั่นการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ด้วยค่าดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในประเทศของตนที่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในไตรมาส 1/2552 แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในจีนลดลงจากไตรมาส 1/2551 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 1/2552 บ่งชี้ว่า นักลงทุนจีนมั่นใจว่า ระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของจีนจะช่วยสนับสนุนการลงทุนท่ามกลางภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก ประเทศ ดัชนีไตรมาส 1/2552 ดัชนีไตรมาส 4/2551 ดัชนีไตรมาส 1/2551 จีน 124 103 136 (สำหรับไตรมาส 1/2552 ไอเอ็นจีคาดการณ์ GDP ของจีนที่ 7%) นักลงทุนจีน 71% ระบุว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4 ล้านล้านหยวนของรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างการเติบโตของประเทศจีนและตอบสนองความต้องการภายในประเทศ ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจจีนโดยรวม ส่งผลให้นักลงทุนมีทัศนคติที่ดีต่อภาวะการลงทุนในไตรมาส 1/2552 และยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อสภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 2/2552 ทัศนคติของนักลงทุนจีน ไตรมาส 1/2552 ไตรมาส 4/2551 สภาวะเศรษฐกิจของจีนฟื้นตัวดีขึ้น 42% 22% ผลตอบแทนการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น 53% 29% สภาวะเศรษฐกิจของจีนจะฟื้นตัวดีขึ้น ในไตรมาส 2/2552 56% 50% มร. อลัน ฮาร์เด็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอเอ็นจี อินเวสท์เม้นท์ แมเนจเม้นท์ เอเชีย/แปซิฟิก กล่าวว่า “จีนและอินเดียเป็นตลาดที่มีการขับเคลื่อนสำคัญของเอเชีย โดยมีการคาดการณ์ว่า รัฐบาลจีนจะยังคงเข้ามาช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจจีนในกรณีที่จำเป็นต่อไป และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมาของจีน นับเป็นแม่แบบการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ดียิ่ง และเมื่อผนวกกับตลาดหลักทรัพย์อันแข็งแกร่งของจีน จึงส่งผลให้ความเชื่อมั่นการลงทุนในจีนเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด นอกจากนี้ การปล่อยสินเชื่อในจีนได้ขยายตัวอย่างมาก โดยมีดัชนี PMI (Purchasing Managers’ Index) เพิ่มขึ้นสู่ระดับที่สูงกว่า 50 ซึ่งเราเชื่อว่าผู้บริโภคยังคงซื้อบ้าน ซื้อรถ ทั้งหมดนี้ คือ ปรากฏการณ์เชิงบวกและตอกย้ำว่า ตลาดจีนมีการเติบโตอย่างสดใส” ทัศนคติเชิงบวกของนักลงทุนในจีนดูเหมือนจะส่งผลดีต่อไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลจีนและไต้หวันที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนของไต้หวันเพิ่มขึ้น 25% มาอยู่ในที่ระดับ 95 ในไตรมาส 1/2552 จากที่ระดับ 76 ในไตรมาส 4/2551 “วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ลำพังเพียงจีนและอินเดียจะสามารถแก้ไขได้ ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียจึงได้ริเริ่มมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับวิกฤติดังกล่าว ซึ่งภูมิภาคเอเชียต้องมีแนวทางพัฒนาตลาดอย่างรอบคอบ จนกว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะฟื้นตัว” มร. ฮาร์เด็น กล่าวปิดท้าย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ