ผลการบริหารจัดการหนี้สาธารณะภาครัฐ ประจำเดือนมีนาคม 2552 และรายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552

ข่าวทั่วไป Monday April 27, 2009 11:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 เม.ย.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนมีนาคม 2552 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ดังนี้ ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ 1. การปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ 1.1 เดือนมีนาคม 2552 ? หนี้ในประเทศ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ โดยทำการ Roll Over หนี้เดิม วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท 1.2 ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2552 ? หนี้ในประเทศ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้าง หนี้ในประเทศ วงเงินรวม 49,999.20 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในส่วนของ FIDF1 และรัฐวิสาหกิจได้ ทำการ Roll Over หนี้เดิมรวม 21,387 ล้านบาท หมายเหตุ: *แผนการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศได้นับรวมการ Roll over ตั๋วเงินคลัง ที่ใช้เพื่อบริหารเงินสดในการรองรับการทำธุรกรรมการใช้จ่ายของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2552 โดยมียอดวงเงินตั๋วเงินคลังยกมา ณ ต้นปีงบประมาณ 2552 จำนวน 147,000 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังจะทำการ Roll over ตั๋วเงินคลังที่ครบกำหนดทุก 28 วัน 91 วัน และ 182 วัน ตามอายุของตั๋วเงินคลังในแต่ละรุ่น 2. การกู้เงินภาครัฐ ? เดือนมีนาคม 2552 กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศเพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณ วงเงินรวม 87,000 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 39,000 ล้านบาท และออกตั๋วเงินคลัง วงเงิน 48,000 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศ วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีการกู้เงินรวม 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินบาทสมทบ 900 ล้านบาท และกู้เพื่อทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ 1,100 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกู้เพื่อดำเนินกิจการทั่วไป 1,000 ล้านบาท อนึ่ง รัฐบาลได้ลงนามในสัญญากู้เงินกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น จำนวน 63,018 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 23,134.41 ล้านบาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนขายถัวเฉลี่ยของเงินบาทกับเงินเยนญี่ปุ่น ณ วัน ลงนามในสัญญา คือ 36.7108 บาทต่อ 100 เยน ) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2552 ? ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2552 ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 277,780 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินของกระทรวงการคลัง 146,000 ล้านบาทและของรัฐวิสาหกิจ 131,780 ล้านบาท รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 2 3. การชำระหนี้ภาครัฐ ? เดือนมีนาคม 2552 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณรวม 30,650 ล้านบาท โดยเป็นการชำระคืน เงินต้น 13,065 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 17,585 ล้านบาท ? ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2552 กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 82,095 ล้านบาท 2. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและขาย 3. ตัวเลขในตารางเป็นตัวเลขเบื้องต้น (Preliminary) และไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน 23,999.90 ล้านบาท ที่รัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร สัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถ. แจ้งวัฒนะ รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 มีจำนวน 3,598,395 ล้านบาท หรือร้อยละ 39.93 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,286,942 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,014,820 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 182,430 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 110,520 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 3,683 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 73,777 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้น 78,445 ล้านบาท และ 12,698 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 14,366 ล้านบาท และ 3,000 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของ หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นสุทธิ 78,445 ล้านบาท รายการที่สำคัญเกิดจากการออกตั๋วเงินคลัง จำนวน 88,000 ล้านบาท โดยเป็นการใช้วงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ 2552 จำนวน 39,000 ล้านบาท ประกอบกับรัฐบาลได้ทำการออกพันธบัตรรัฐบาล และออก ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 17,030 ล้านบาท และ 13,500 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้รัฐบาลได้ดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 9,999.20 ล้านบาท และนำเงินที่ได้จากการประมูลไปชำระคืนเงินในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังที่ใช้เป็น Bridge Financing ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในส่วนของ FIDF1 วงเงินรวม 49,999.20 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นสมทบกับเงินในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (FIDF1 และ FIDF3) มาทดรองจ่ายไปก่อน จากนั้นจึงดำเนินการทยอยออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม 2551 — เดือนกุมภาพันธ์ 2552 เพื่อทยอยชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นและเงินในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังดังกล่าวข้างต้น สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้นสุทธิ 12,698 ล้านบาท รายการที่สำคัญ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้เบิกจ่ายเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 8,000 ล้านบาท และออกพันธบัตร วงเงิน 5,000 ล้านบาท สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 14,366 ล้านบาท ที่สำคัญเกิดจากการลดลงของหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันในส่วนของหนี้ต่างประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสุทธิของหนี้ต่างประเทศในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อแปลงเป็นเงินบาทลดลง 10,522 ล้านบาท หนี้สาธารณะ 3,598,395 ล้านบาท แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 392,699 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.91 และหนี้ในประเทศ 3,205,696 ล้านบาท หรือร้อยละ 89.09 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,315,790 ล้านบาท หรือร้อยละ 92.15 และหนี้ระยะสั้น 282,604 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.85 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 5 และ 6 ตามลำดับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ