ม. มหิดล วอนภาครัฐเร่งกู้ “วิกฤตยางพารา” เสนอแนวทางแก้ปัญหา ช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรมและตรงต่อความต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ

ข่าวทั่วไป Monday May 4, 2009 12:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--ม. มหิดล โลจิสติกส์ในประเทศไทยถูกใช้เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ เพื่อนำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศและถูกกำหนดเป็น “วาระแห่งชาติ” เมื่อปี 2546 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญนี้ จึงได้ริเริ่มการสร้างเครือข่ายนักวิจัยไทยด้านการจัดการโซ่คุณค่าและโลจิสติกส์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้นตั้งแต่ปี 2545 โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้สนับสนุนการเป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายนักวิจัยไทยด้านการจัดการโซ่คุณค่าและโลจิสติกส์ อีกทั้งอนุมัติให้ก่อตั้งศูนย์การจัดการโลจิสติกส์ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บริการวิชาการและมุ่งเน้นการผลิตงานวิจัยด้านโลจิสติกส์ โดยมีจุดเด่นคือ “งานวิจัยที่ผลิตนั้นต้องนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและตรงต่อความต้องการของประเทศ” รศ.ดร.ดวงพรรณ ศฤงคารินทร์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสำนักงานศูนย์การจัดการโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “งานวิจัยชิ้นเด่นปีที่ผ่านมาคือ “โครงการประเมินศักยภาพเชิงบูรณาการการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมในประเทศไทย” สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยมีแรงขับจากยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย เริ่มจากคำถามที่ว่า นโยบายที่ออกโดยภาครัฐด้านต่าง ๆ นั้น ตรงกับปัญหาของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ โดยงานวิจัยมุ่งเน้นไปที่โลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม โดยเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศขึ้นมาศึกษานั้นคือ อุตสาหกรรมยางพารา การวิจัยเริ่มจากการศึกษาการไหลของมันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยการแตกส่วนโซ่อุปทานยางพาราออกเป็น เกษตรกร พ่อค้า สหกรณ์ โรงงานแปรรูปและส่งออก งานวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษาปัญหาทั้งสายโซ่ในทุกๆส่วนจากปัญหาที่เกิดขึ้นจริงผ่านการสัมภาษณ์และระดมสมองผู้ที่อยู่ในวงการทั้งยางพาราและโลจิสติกส์ของประเทศ ปรากฏว่าปัญหาที่ได้มานั้นมากมาย มีทั้งซ้อนกันในหลายมิติ และหลายๆเรื่อง และในที่สุดพบว่าปัญหาย่อยๆ ของยางพาราในมุมมองโซ่อุปทานนั้น สามารถสกัดออกมาได้ 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ 1. การสร้างมูลค่าเพิ่ม และ 2. การเชื่อมโยงของโซ่อุปทานในชุมชน สำหรับประเด็นที่ 1 เรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่ม คือต้องเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา (และสินค้าต้นน้ำอื่นๆอีก) ของประเทศไทย มิใช่ส่งเป็นวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศอื่นๆ (เช่น จีน) กล่าวคือสัดส่วนการส่งออกยางพาราแบบยางแปรรูป ต่อ การแปรรูปในประเทศและส่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ยาง ตั้งแต่ปี 2546-2550 เฉลี่ยแล้วคือ 88 : 12 นั่นคือจากยางพารา 100 ส่วนของไทย เราแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกเพียง 12 ส่วนที่เหลือ 88 ส่วน เราส่งออกเป็นยางพาราธรรมชาติไปเป็นวัตถุดิบหมด แต่เมื่อมาดูมูลค่าที่เกิดขึ้นปรากฏว่ายาง 12 ส่วน ที่เรานำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นั้น นำมาใช้ในประเทศและส่งออก โดยมีมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ถึง 39% ของมูลค่าส่งออกรวม (มูลค่าส่งออกยางแปรรูป+มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง) ในขณะที่ยางแปรรูป 88 ส่วนที่เราส่งออกมีมูลค่า 61% ดังนั้น ในขณะที่ยางพาราราคาตก เราควรจะมุ่งหน้าสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรให้กับยางพาราไทยอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร หากคิดๆกันเหมือนที่ผ่านๆมา คงจะตั้งเป้าหมายกันไว้ว่าคงต้องแปรรูปเพิ่มปีนี้กี่เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น แต่คำถามที่เกิดขึ้นและต่อเนื่องมานาน คือ “แล้วจะแปรรูปอะไร ?” “เท่าไร?” คนอื่นๆ ที่อยู่ในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมนั้นต้องทำอะไร อย่างไรบ้าง นั่นหมายถึงว่า มิใช่เพียงประกาศว่าแปรรูปเพิ่ม แต่ถ้าหากเราสามารถระบุชนิดผลิตภัณฑ์ได้ มันจะเป็นตัวกำหนดบ่งชี้ได้หมดถึงยางต้นน้ำ เพื่อบอกเกษตรกรได้ว่าแปรรูปเบื้องต้นเป็นอะไรดีที่ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำต้องการ (และบอกต่อได้ว่าภาครัฐหน่วยงานใดต้องทำอะไรบ้าง) ซึ่งวิสัยทัศน์ยางพาราไทยปี 2552-2556 คือ เพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติในประเทศจาก 373,659 ตัน ปี 2550 เป็น 600,000 ตัน ปี 2556 และจากงานวิจัยโครงการการประเมินศักยภาพเชิงบูรณาการการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมในประเทศไทย (2550) ในปี 2555 จะมีผลผลิตยางพารารวมทั้งหมด 3,294,085 ตัน ถ้าตามผลการพยากรณ์จากสถานะปัจจุบันที่ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในปี 2552 จากยางพาราทั้งหมด 3,294,085 ตัน (100%), จะเป็นการส่งออกยางแปรรูป 2,853,467 ตัน (86.62%), และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และใช้ในประเทศ 440,618 ตัน (13.38%) แต่หากเราลองตั้งเป้าหมายว่า เราจะเพิ่มการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และการใช้ในประเทศจาก 13.38% เป็น 15% นั่นคือ จาก 440,618 ตัน เป็น 494,113 ตัน จำนวนยางพาราแปรรูปที่เพิ่มขึ้นคือ 494,113 -440,618 = 53,495 ตัน จะเพิ่มขึ้นที่อุตสาหกรรมหรือการใช้ในประเทศส่วนใด สมมติว่า 53,495 ตัน ลองนำไปเพิ่มในยางยานพาหนะที่ในปี 2555 เราพยากรณ์ว่าอุตสาหกรรมนี้จะใช้ยางพารา 230,495 ตัน ถ้าเพิ่มขึ้น 53,495 ตัน อุตสาหกรรมนี้จะต้องใช้ยางพาราเป็น 283,990 ตัน นั่นคือจะต้องเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น 23% (เพิ่มจากการคาดการณ์การเติบโตปกติ 7%) ถามว่ามีการส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ให้โตตามนั้นได้หรือไม่ หากต้องการเช่นนั้น ยางต้นน้ำ คือ ยางแท่งและยางแผ่น และอื่น ๆ ที่ใช้ทำยางยานพาหนะมีการส่งเสริมให้แปรรูปเบื้องต้นให้ feed เข้าอุตสาหกรรมยางยานพาหนะตามเป้าหมายนั้นหรือไม่ ในขณะเดียวกันยางแปรรูปเบื้องต้นที่ส่งออกปี 2555 ต้องลดลงจาก 86.62% เป็น 85% นโยบายเป็นตามนั้นหรือไม่ จากวิสัยทัศน์ยางพาราไทย นโยบายการส่งออกผลิตภัณฑ์ปลายน้ำสอดรับกับนโยบายการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และสอดรับกับนโยบายการแปรรูปยางต้นน้ำและการส่งเสริมการปลูกหรือไม่ ประเด็นที่ 2 คือ การเชื่อมโยงของโซ่อุปทานในชุมชน พบว่า สิ่งที่เกิดมากที่สุดจากชุมชนที่เราเลือกศึกษา คือ พื้นที่ปลูกใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ การที่เกษตรกรขายยางสู่ตลาดท้องถิ่น จากนั้นพ่อค้ามาประมูลซื้อและไปขายต่อให้กับโรงงานในพื้นที่ ซึ่งการไหลในโซ่อุปทานนี้เกิดมากที่สุดถึง 80% ของทั้งหมด แต่ผลที่เกิดขึ้นคือ ต้นทุนค่าขนส่งสำหรับการไหลของยางพาราจากต้นน้ำสู่โรงงานนั้นสูงที่สุดและคาดว่าในปี 2554เมื่อมีผลผลิตยางล้านไร่ออกมา ต้นทุนการขนส่งจะสูงถึง 478.12 ล้านบาท และเมื่อพิจารณากำไรในแต่ละส่วนของการไหลพบว่าเกษตรกรชอบทางเลือกคือ จากเกษตรกร" โรงงาน, พ่อค้าชอบทางเลือก จากเกษตรกร" พ่อค้า"โรงงาน, ส่วนที่โรงงานชอบคือจากเกษตรกร" ตลาด"โรงงาน โดยการไหลในปัจจุบันมากที่สุดคือ เกษตรกร" ตลาด"พ่อค้า" โรงงาน ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนขนส่งสูงสุด ดังนั้นหากต้องการให้ต้นทุนขนส่งลดลงและช่วยให้ผลประโยชน์ตกแก่เกษตรกรและโรงงานควรสนับสนุนทางเลือกคือ เกษตรกร" ตลาด"โรงงาน และ จากเกษตรกร" โรงงาน โดยทิศทางนโยบายมิใช่เพียงแค่จัดตั้งตลาดกลางและส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดท้องถิ่นสู่ตลาดกลางเพราะหากเป็นเช่นนั้น จะทำให้เกิดระบบพ่อค้าแทรกแซงและต้นทุนขนส่งสูง แต่สิ่งที่ต้องรวมเข้าไปในนโยบายคือนโยบายสำหรับกลไกและแผนปฏิบัติการเพื่อให้เกิดศูนย์รวบรวมท้องถิ่น, ศูนย์รวบรวมท้องถิ่นสร้าง contract กับโรงงานในพื้นที่ ตลอดจน ต้องมี collector ท้องถิ่นรวบรวมและจัดส่งโรงงานในพื้นที่อีกด้วย”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ