กรุงเทพฯ--29 ส.ค.--ปชส.จร.
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า นายเบน เบอร์นาน (Ben S. Bernanke) ประธานกองทุนเงินทุนสำรองของสหรัฐฯ กล่าวในวันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมาว่าสถานการณ์การค้าโลกน่าวิตกกังวลเป็นอย่างมาก โดยที่การค้าโลกยุคปัจจุบันหรือยุคโลกาภิวัฒน์นั้นปัจจุบันเริ่มมองไม่เห็นทิศทางและไม่มีความแน่นอน นอกจากนี้ยังมีการก่อการร้ายข้ามชาติ และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่มารุมเร้าให้การค้าโลกเกิดภาวะตึงเครียด และส่งผลต่อการผลิตของแต่ละประเทศเนื่องจากสภาวะการจ้างงานถดถอยลง ประกอบกับธุรกิจและกิจการของแต่ละประเทศต่างประสบกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมือง บางรายถึงขั้นล้มหายตายจากกันไป
ผู้กำหนดนโยบายในแต่ละประเทศปัจจุบันต้องเน้นให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง และต้องพัฒนาบุคลากรให้เกิดความรู้และประสบการณ์กับผลให้ค่าเงินของจีนต่ำกว่าความเป็นจริงและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก การที่สหรัฐฯ ขาดดุลทางการค้าถึง 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2549 ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกด้วยเช่นกัน
นายเบนให้ข้อสังเกตว่าหากเรามองการค้าระหว่างประเทศในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ 2533-2543 )
การส่งออกสินค้าในตลาดโลกมีมูลค่าร้อยละ 15 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก เทียบกับยุคปัจจุบัน (พ.ศ2543 - 2549) ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นร้อยละ 20 ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงมาก หากพิจารณาถึงแนวโน้มแล้วจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการที่ประเทศในระบบคอมมิวนิสต์ยักษ์ใหญ่ที่มีจำนวนประชากรมหาศาลซึ่งเดิมเคยเป็นประเทศปิด คือ จีนและอินเดีย ปัจจุบันได้หันมาเปิดประเทศมากขึ้น และส่งออกมากขึ้น ส่งผลให้ชาวโลกเล็งเห็นแล้วว่าการค้าระหว่างประเทศจะทวีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต และฐานการผลิตจะถูกย้ายจากประเทศพัฒนาแล้ว ไปสู่ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ภาวะการจ้างงานในประเทศพัฒนาแล้วจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ เพราะค่าแรงในประเทศพัฒนาแล้วสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนาหรือพัฒนาน้อยที่สุด และการเคลื่อนย้ายเงินทุนปัจจุบันเป็นระบบเสรีมากขึ้นและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากแนวโน้มการค้าโลกที่เพิ่มขึ้นโอกาสใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคโลกาภิวัฒน์ จะส่งผลให้มาตรฐานการครองชีพของประชาชนดีขึ้นอย่างแท้จริง
นายเบน ยังได้กล่าวถึงอีกหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นความกังวลจากการหยุดชะงักของการเจรจา WTO รอบ โดฮา การที่จีนไม่ยอมลดค่าเงินหยวนส่ง
ทั้งหมดนี้ ไทยคงมองข้ามไม่ได้ เพราะในยุคโลกาภิวัฒน์นั้นทุกประเทศจะต้องดิ้นรนและจับตามองความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานเข้ามาในรูปแบบต่างๆ หากใครที่รู้ทันก็จะฉวยวิกฤตเป็นโอกาสได้ และหากใครที่ไม่สนใจเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไกลและห่างตัวก็อาจจะสายเกินแก้หากไม่ยอมรับรู้หรือปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น สินค้าถูกจากจีนและอินเดีย และค่าเงินหยวนที่อ่อนตัวเกินความเป็นจริงนั้นได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกพอสมควร