PANDAMIC มหาภัยไวรัส ระบาดโตเกียว เมื่อการแพร่ระบาดของโรค “เบลม” กระจายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น

ข่าวบันเทิง Monday May 11, 2009 17:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ค.--เจ-บิ๊คส์ ฟิล์ม ชื่อ PANDAMIC มหาภัยไวรัส ระบาดโตเกียว ประเภทหนัง : ดราม่า / ภาพยนตร์เกี่ยวกับโรคระบาด กำหนดฉายในไทย : 4 มิถุนายน 2552 เฉพาะโรงภาพยนตร์ในเครือเอเพกซ์ นำเข้าและจัดจำหน่าย : J-Bics Film co.,Ltd นักแสดง : ซาโตชิ ซึมาบูกิ (Takashi Tsumabuki), เร ดาน (Rei Dan) ผู้กำกับภาพยนตร์ : ทากาฮิซา เซเซ่ (Takahisa Zeze) บทประพันธ์ดั้งเดิม อัทซึยูกิ ชิโมดะ (Atsuyuki Shimoda) บทภาพยนตร์ : ทากาฮิซา เซเซ่ (Takahisa Zeze) ผู้อำนวยการสร้าง: ทากาชิ ฮิราโน่ (Takashi Hirano) ความยาว: 135 นาที โปรดักชั่นโน้ต เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากบทดั้งเดิม ผู้เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อเป็นเวลา 18 เดือน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริงเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง และผลร้ายที่จะเกิดตามมา ในรูปแบบดราม่า เรื่องย่อ ซึโยชิ มัทสุโอกะ ( รับบทโดย ซาโตชิ ซึมาบูกิ) เป็นนายแพทย์หนุ่มแห่งศูนย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลเจนเนอรัล มูนิซิเปิ้ลซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงโตเกียว เขาเป็นแพทย์ที่ใส่ใจคนไข้มาก วันหนึ่งขณะที่หมอซึโยชิกำลังตรวจอาการคนไข้ชื่อ มานาเบ้ ซึ่งมีอาการคล้ายป่วยเป็นไข้หวัด เขาสั่งให้ทดสอบเลือด ซึ่งผลออกมาเป็นเนกาทีฟ วันต่อมา อาการของมานาเบ้ทรุดลงอย่างรวดเร็ว คนไข้มีอาการตัวเหลือง อวัยวะทำงานล้มเหลว มีเลือดออกจากตาและจมูก มีอาการชักอย่างรุนแรง และเสียชีวิตในที่สุด และสิ่งที่ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงคือการประกาศให้ศูนย์ฉุกเฉินเป็นเขตติดเชื้อ มีการนำผู้ป่วยเข้ามาคนแล้วคนเล่า พวกเขาเหล่านี้ล้วนเสียชีวิต ขณะเดียวกัน มีการพบเชื้อไข้หวัดนกในฟาร์มเลี้ยงไก่ที่อยู่ใกล้เคียง และสื่อต่างกระจายข่าวอย่างรวดเร็ว ฟาร์มแห่งนี้กลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อ “ไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่” ความหวาดกลัวคุกคามเมืองแห่งนี้และเชื้อโรคแพร่กระจายไปทั่วประเทศ 18 มกราคม 2011 ผู้ติดเชื้อ : 4,127 ราย ผู้เสียชีวิต : 1,989 ราย แพทย์หญิง ไอโกะ โคบายาชิ ( รับบทโดย เร ดาน) ถูกส่งตัวมายังโรงพยาบาลของหมอซึโยชิ เธอเป็นเจ้าหน้าที่แพทย์ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization) และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อร้ายแรง นอกจากนี้ เธอยังเคยเป็นอาจารย์ของหมอซึโยชิที่มหาวิทยาลัย และทั้งคู่เคยเป็นคู่รักกัน แพทย์หญิงไอโกะประกาศให้โรคพยาบาลเป็นเขตกักกัน และเริ่มตั้งกฎระเบียบ เธอออกคำสั่งอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติกับคนไข้แบบทำธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ความคิดของเธอขัดแย้งกับหมอซึโยชิ และก่อให้เกิดแรงต่อต้านจากพนักงานโรงพยาบาล เมื่อเชื้อโรคแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว โรงพยาบาลกลายเป็นเขตต่อสู้โรคติดต่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 ไม่สามารถระบุจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่แน่นอน มีการห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ผู้ติดเชื้อ : ประมาณ 2.5 ล้านราย ผู้เสียชีวิต : ประมาณ 900,000 ราย เมื่อไม่มีวัคซินในการต่อสู้โรคติดต่อ หมอซิโยชิและแพทย์หญิงไอโกะ รวมทั้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ต่างต้องต่อสู้กับความตายอย่างสิ้นหวัง โรคติดต่อชนิดใหม่ในญี่ปุ่นสร้างความสนใจไปทั่วโลก และสื่อต่างประเทศต่างเรียกโรคนี้ว่า “blame” ต่อมาหมอซึโยชิเกิดความคิดขึ้น วาตานาเบ้ ซึ่งเป็นคนไข้คนแรกของเขา ล้มป่วยหลังจากพบกับคุณพ่อซึ่งอาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “หากเราไปที่นั่น เราอาจจะได้ต้นตอของเชื้อโรค” หมอโตโยชิจึงออกเดินทางไปยังอาบอนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสไข้หวัดนก หน่วยงานพิเศษซึ่งรัฐบาลจัดตั้งขึ้น ตัดสินใจที่จะประกาศให้เมืองทั้งเมืองเป็นเขตกักกันเนื่องจากไม่สามารถจำกัดเชื้อโรคได้ ทีมแพทย์ล้วนสิ้นหวังเมื่อผู้ป่วยล้มตายราวใบไม้ร่วง แพทย์หญิงไอโกะยังคงทำงานอย่างกล้าหาญ และในที่สุด เจ้าหน้าที่ต่างให้ความเคารพและพึ่งพาเธอ หมอซึโยชิเดินทางกลับจากอาบอนด้วยเชื้อตัวอย่าง ในที่สุดเขาก็สามารถค้นพบไวรัสได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ