กรุงเทพฯ--14 พ.ค.--มหาวิทยาลัยศรีปทุม
สกู๊ปข่าวกระแสดิจิทัล แรง!!… ผู้คร่ำหวอดในวงการสื่อสารมวลชน และนักวิชาการเตรียมเพาะพันธุ์ต้นกล้า (นักวารสารฯ ใหม่) ป้อนตลาด ชูแนวคิดดิจิทัลเป็นเครื่องมือผลิตเนื้อหาข่าว พร้อมชี้เทรนด์ผู้เสพข่าว กลายพันธุ์ เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับสารในเวลาเดียวกันยุคข่าวสารท่ามกลางกระแสดิจิทัล ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคข่าวเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนิยม เสพข่าวที่มีเนื้อหายืดยาว ให้รายละเอียดของข่าวในเชิงลึก กลับกลายลดความนิยมลง ขณะข่าวที่มีเนื้อหาสั้น กระชับ และรวดเร็วแบบ กำลังมาแทนที่ นายภัทระ คำพิทักษ์ บรรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ แสดงวิสัยทัศน์ผ่านเวทีเสวนา "Change….to Digital Communication" ปั้นนักสื่อสารมืออาชีพป้อนตลาดยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยศรีปทุมว่า เครื่องมือการสื่อสารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด ดิจิทัลเข้ามามีอิทธิพลกับผู้ส่งสารและผู้รับสารมากขึ้น ซึ่งผู้รับสารเองก็มีความรู้ ความสามารถเท่าทันกับผู้ส่งสาร และสามารถเลือกรับสารได้หลากหลาย แทนที่จะเลือกรับเฉพาะสื่อดั้งเดิมอย่างโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ แต่อินเทอร์เน็ต ดาวเทียม คล
ิ ปจากโทรศัพท์มือถือ เอสเอ็มเอส ฯลฯ กลับเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจยุคนี้ต้องยอมรับว่า ผู้เสพข่าวสารไม่ได้รับสารอย่างเดียว แต่สามารถจะเป็นผู้ส่งสารได้ด้วย รวมถึงแสดงความเห็นจากข่าวที่พวกเขาเสพเข้าไปได้เช่นกันผ่านเว็บบล็อก นอกจากนี้ยังเป็นผู้ทำหน้าที่คนข่าว หรือเป็นนักข่าวได้อีกด้วยผ่านคลิปวีดีโอเผยแพร่ออกไปในวงกว้าง จะเห็นว่า ภูมิศาสตร์ด้านการสื่อสาร ตั้งแต่ ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร สาร และเครื่องมือสื่อสารกำลังเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากผู้ส่งสารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่จบนิเทศศาสตร์ หรือวารสารศาสตร์ แต่ใครก็สามารถเป็นผู้ส่งสารได้ อีกทั้งคนรับสาร ขณะที่เครื่องมือสื่อสาร เทคโนโลยี อาทิ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป โดยดูได้จากบางประเทศ เห็นได้ว่า เทรนด์ใหม่ของหนังสือพิมพ์ทั้งขนาด เนื้อหาล้วนเล็กลง และกระชับขึ้น หรือในประเทศไทย โทรทัศน์ตื่นเช้ามาก็มีพูดมาสับข่าวหรือเล่าข่าวให้ได้รับฟัง ได้รู้ “ผมคิดว่า การที่คณะนิเทศศาสตร์ ศรีปทุม เปิดหลักสูตรวารสารสนเทศขึ้น ถือว่าเป็นการดี เพราะไม่มีใครทราบว่าในอนาคตทำงานด้านไหนจะเจริญก้าวหน้า แต่ขณะนี้รู้แน่ชัดแล้วว่าอนาคตนั้น สื่อดิจิทัลต้องมาอย่างแน่นอน อีกทั้งคนที่ทำข่าวในอนาคตนั้น 1 คน ต้องสามารถกระทำได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เขียนข่าวหนังสือพิมพ์ เป็นผู้จัดการรายการวิทยุ หรือเป็นพิธีกรในทีวี” นายภัทระ กล่าวด้านนางสาวอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ อนุกรรมการฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ มองว่า เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ปิดช่องว่าง การสื่อสารไร้พรมแดน เพราะมาถึงผู้รับสารรวดเร็ว สมัยก่อนตอนทำข่าวยังใช้พิมพ์ดีด ใช้แฟกซ์ และโทรศัพท์ส่ง ทำให้ข้อมูลข่าวสารล่าช้า เมื่อเทียบกับสมัยนี้แล้วการสื่อสารผ่านเครื่องมือดิจิทัล โดยเฉพาะอีเมล์ เอสเอ็มเอส รวดเร็วอย่างมาก ซึ่งเชื่อมั่นว่าดิจิทัลจะกลายเป็นเครื่องมือการสื่อสารยุคที่สอดรับกับผู้บริโภคยุคนี้ได้เป็นอย่างดีสำหรับนายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล อนุกรรมการมีส่วนร่วม ทีวีไทยและนักวิชาการอิสระ มองว่า บุคลากรด้านสื่อสารมวลชน ต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ๆ อย่างสื่อดิจิทัลที่อิทธิพลต่อผู้รับสาร และ การนำเสนอข่าวสารยังต้องการสร้างความแตกต่างทางด้านคอนเทนต์เครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ ไม่ว่า
ใครก็สามารถใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร ซึ่งแตกต่างทางด้านคอนเทนต์จะเป็นสิ่งที่ทำให้นักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่ก้าวไปข้างหน้าอีกขั้นหนึ่ง เราต้องทำใจก่อนว่า ยุคนี้เป็นยุคของโลกออนไลน์ ทุกคนก็ใช้อินเทอร์เน็ตและเข้าถึงสื่อดิจิทัล ผู้รับสารเองพยายามเปรียบเทียบการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น Read o?nly Internet และเว็บบล็อก ทำให้ นักสื่อสารยุคใหม่ต้องมองให้กว้างขึ้น เข้าใจผู้รับสารยุคนี้ว่า เขาไม่ได้อ่านอย่างเดียว หรือเสพข้อมูลที่ส่งมาให้เท่านั้น หากแต่สามารถเขียนโต้ตอบกลับมาได้ โดยผ่านเครื่องมือดิจิทัล"ต้องเข้าใจก่อนว่า ยุคนี้เป็นยุคของโลกออนไลน์ ทุกคนใช้อินเทอร์เน็ตและเข้าถึงสื่อดิจิตอล ผู้รับสารเองพยายามเปรียบเทียบการสื่อสาร นักสื่อสารยุคใหม่ต้องมองให้กว้างขึ้น เข้าใจผู้รับสารยุคนี้ ไม่ได้อ่านอย่างเดียว หรือเสพข้อมูลที่ส่งมาให้เท่านั้น แต่สามารถเขียนโต้ตอบกลับมาได้โดยผ่าน“เว็บบล็อก” นายอาทิตย์ กล่าว จุดเปลี่ยนของนักสื่อสารเดิมกับนักสื่อสารที่เรียกว่าพันธุ์ใหม่แตกต่างในเรื่องของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนเร็ว อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีเหล่านี้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร การรู้เท่าทันเทคโนโลยีและสื่อใหม่จะทำให้ผู้ใช้ก้าวอีกขั้น การที่มหาวิทยาลัยศรีปทุมเปิดหลักสูตรใหม่เพื่อสร้างนักนิเทศศาสตร์แนวใหม่ เป็นการสร้างจุดเปลี่ยนให้กับวิชาชีพให้กับวงการ ให้เกิดมูลค่าเชิงลึก และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด อันจะเป็นโอกาสที่ดีของบัณฑิตจบใหม่ในสายงานวิชาชีพสื่อสารมวลชนขณะที่นายปรเมศร์ มินศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์ จำกัด เจ้าของเว็บไซต์กระปุกดอทคอม ให้ความเห็นว่านักสื่อสารมวลชนที่เรียกว่าพันธุ์ใหม่มีความแตกต่างจากนักสื่อสารมวลชนแบบเดิม คือ คอนเทนต์และช่องว่างในการส่งสารไปยังผู้รับสาร โดยเครื่องมือการสื่อสารใหม่ๆ ที่ใช้ส่งไปยังผู้รับสารว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม 3G รวมถึงสื่อดิจิตอลต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานการใช้สื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ให้การบูรณาการสูงสุด คอนเทนต์เป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสารที่จะเกิดขึ้นได้จากผู้บริโภคเอง และจากแหล่งข่าวที่เกื้อหนุนกัน บูรณาการให้ตอบโจทย์ผู้รับสารได้สูงสุด สิ่งหนึ่งที่นักนิเทศศาสตร์รุ่นใหม่ต้องจับตาอีกประการหนึ่ง คือพฤติกรรมของผู้เสพสื่อ เครื่องมือการสื่อสารแบบใด ประเภทใดที่เหมาะสมหรือสามารถเข้าถึงใจของผู้เสพข่าวได้
ลึกซึ้งและดีที่สุด เพราะผู้บริโภคมีหลากหลาย และมีความเป็นเฉพาะตัวมากขึ้นมีความเป็นเฉพาะตัวมากขึ้น (Customization) นักสื่อสารฯเองต้องมีการพิจารณา และวิเคราะห์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด และนักสื่อสารมวลชนเองต้องมีการพิจารณา และวิเคราะห์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด” ฝั่งนักวิชาการอย่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา มีศิลปวิกภัย คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ว่า ปัจจุบันตลาดสาขาวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนมีความต้องการบุคลากรที่มีคุณสมบัติเพิ่มมากขึ้นจากเดิมจึงจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยี ความเป็นมืออาชีพของนักสื่อสารมวลชนต้องมีความรู้ครบถ้วนทั้งด้านความรู้ในหน้าที่มีความเข้าใจและมีภูมิคุ้มกันทางสังคมเศรษฐกิจ การเมือง สังคมในโลกอินเทอร์เน็ต ยิ่งไปกว่านั้นยังต้องรู้จักเครื่องมือการสื่อสารใหม่ ทันสมัย เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้ให้กับผู้รับสาร ด้วยเครื่องมือและเทคนิคใหม่ๆ ที่มีมาให้เรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลาให้ได้ชื่อว่านักสื่อสารพันธุ์ใหม่สู่การเปลี่ยนแปลง To Digital Communication Era ทาง
มหาวิทยาลัยศรีปทุมจึงเล็งเห็นว่า ช่องว่างที่เราน่าจะสร้างบุคลากรที่มีความสามารถรอบด้านเพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้น จึงพัฒนาหลักสูตรวารสารสนเทศขึ้นมาเพื่อตอบรับกับความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง” ปิดท้ายด้วย อาจารย์จันทิกา สุภาพงษ์ หัวหน้าสาขาวิชาสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เพิ่มเติมว่าความต้องการของสังคมข่าวยุคใหม่ที่ต้องการแรงงานในภาคข่าวที่ไม่เพียงแต่เก่งในเรื่องการข่าว การรวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหา แต่ยังต้องการผู้มีความสามารถทางเทคโนโลยี เพื่อจัดการกับเนื้อข่าวได้อย่างครบวงจร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
คุณบังอร แก้วบวร : 081 904 7907คุณภาสิณี คณาเดิม : 081 178 2626
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม : โทร 02 579 1111 ต่อ 2336
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 884 3970 ใบไม้เขียว