กรุงเทพฯ--15 พ.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
สถาบันคริสโซไทล์ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย เพื่อแสดงให้ถึงความแตกต่างระหว่างแร่ใยหิน (แอสเบสทอส) 2 ประเภท นั่นคือคริสโซไทล์ (สีขาว) ที่มีอันตรายน้อยที่สุด (ถ้าใช้อย่างรับผิดชอบ) เปรียบเทียบกับเส้นใยแอสเบสทอส แอมฟิโบล (สีน้ำเงินและน้ำตาล) ซึ่งมีอันตรายมากๆ วัตถุประสงค์ของงานสัมมนา ในกรุงเทพฯ ครั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคริสโซไทล์นั้นสามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัยและไม่มีความเสี่ยงถ้ามีการใช้อย่างรับผิดชอบ ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการใช้คริสโซไทล์ในปัจจุบันของสาธารณชน ถูกนำมาเชื่อมโยงกับ ศัพท์แอสเบสทอส (Asbestos) ซึ่งใช้เป็นชื่อทางการค้า ไม่ใช่ชื่อทางวิทยาศาสตร์ และมีการนำไปใช้โดยขาดการพิจารณา ซึ่งส่งผลให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงที่ไม่สมบูรณ์และไม่เพียงพอ
ศาสตราจารย์ ดร. เดวิด เบิร์นสไตน์ ที่ปรึกษาชาวสวิสในสาขาวิชาพิษวิทยา จะนำเสนอการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลใหม่นี้ ทั้งนี้ ดร. เดวิดได้ทำการศึกษาหลายโครงการเกี่ยวกับพิษที่เกี่ยวกับเส้นใยในช่วงเวลากว่า 35 ปี ในอาชีพของท่าน นอกจากนี้ ดร. เดวิด เบิร์นสไตน์ ยังเป็นสมาชิกในสมาคมในองค์กรนานาชาติต่างๆ และภาครัฐบาล ซึ่งรวมถึง USEPA (The United States of America Environmental Protection Agency) และองค์การอนามัยโลก (WHO)
แร่ใยหินสีขาว หรือคริสโซไทล์ เป็นแร่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก คริสโซไทล์มักจะถูกนำรวมกับความกลัวทั่วๆ ไปเกี่ยวกับแอสเบสทอส ความกลัวดังกล่าวเนื่องมาจากผลกระทบของอันตรายอย่างมากของเส้นใยแอสเบสทอสในตระกูลแอมฟิโบล การค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์ชี้นใหม่นี้มุ่งเน้นไปที่การใช้งานคริสโซไทล์อย่างรับผิดชอบในปัจจุบัน ซึ่งผลการค้นคว้าแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการใช้งานคริสโซไทล์ในปัจจุบันไม่แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ด้วยความพยายามของบางสถาบันที่ยังใช้ข้อมูลเก่าๆ และประเด็นคำถามทางวิทยาศาสตร์ ทำให้สหภาพยุโรป (EU) ได้ห้ามให้มีการใช้แร่ใยหิน (ซึ่งได้รวมคริสโซไทล์เข้ากับแร่ใยหินชนิดอื่นๆ) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นมา
“ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ไม่สนับสนุนต่อการปฏิบัติต่อคริสโซไทล์ในแบบเดียวกันกับเส้นใยของแร่ใยหินในกลุ่มแอมฟิโบล (Amphibole) ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องให้ความรู้และกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการการฟุ้งกระจายของผุ่นจากแร่ชนิดต่างๆ ซึ่งรวมถึงคริสโซไทล์ในระหว่างการทำงาน และบริหารความผิดพลาดในอดีตที่เกี่ยวข้องกับแอมฟิโบล (blue asbestos)” ดร. เบิร์นสไตน์ กล่าวเสริม
“ประสบการณ์ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และรัสเซีย ล้วนสนับสนุนแนวทางการนำคริสโซไทล์ไปใช้อย่างปลอดภัยและรับผิดชอบ และด้วยความห่วงใยใน ‘สุขภาพ’ ของผู้ปฏิบัติงาน ดร.เบิร์น สไตล์กล่าวเพิ่มเติม ทั้งนี้ ดร. เบิร์นสไตล์ยังได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างคริสโซไทล์และแอมฟิโบลระหว่างการนำเสนอข้อมูลด้านการคงตัวในสิ่งมีชีวิต ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเส้นใยคริสโซไทล์สามารถถูกย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วจากปอด และไม่สร้างสารพิษในขณะที่แอมฟิโบลนั้นยังคงตกค้างในปอด และทำให้เกิดโรคปอดอักเสบอย่างรุนแรง
ประวัติความเป็นมา:
การผลิตคริสโซไทล์ใน 25 ประเทศ รวมถึงแคนาดา รัสเซีย จีน บราซิล และคาซัคสถาน มีการนำคริสโซไทล์ไปใช้งานอย่างแพร่หลายในวัสดุก่อสร้างต่างๆ เช่น ท่อประปาคอนกรีต ผลการศึกษาหลายชิ้นสรุปว่า คริสโซไทล์ที่ใช้ในวัสดุก่อสร้างไม่เป็นอันตราย
คำว่าแร่ใยหิน หรือแอสเบสทอส เป็นคำทั่วไปที่นำใช้ในทางการค้า โดยครอบคลุมแร่ซิลิเกต (Silicate) สองกลุ่มที่แตกต่างกันอย่างมาก นั่นคือ กลุ่มเซอร์เพนไทน (Serpentine) ซึ่งเป็นแร่ใยหินสีขาว (White Asbestos) หรือคริสโซไทล์ และกลุ่มแอมฟิโบล (Amphibole) ผลการประเมินความเสี่ยงหลายๆ ครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำหรับแร่ใยหินสองกลุ่ม ยืนยันว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้คริสโซไทล์ค่อนข้างจะแตกต่างจากแร่ใยหินในกลุ่มแอมฟิโบล กล่าวคือ แร่ใยหินในกลุ่มแอมฟิโบลเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ มากกว่าคริสโซไทล์ เมื่อเส้นใยทั้งสองประเภทถูกใช้งานในลักษณะเดียวกัน แต่กระนั้น หน่วยงานกำกับดูแลของยุโรปกลับดำเนินการต่อแร่ใยหินทั้งสองกลุ่มในลักษณะเดียวกัน
ดร. เบิร์นสไตน์ มีประสบการณ์กว่า 35 ปี ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ (Inhalation Toxicology) โดยได้ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่เพื่อสร้างคุณูปการให้แก่หน่วยงานราชการ บริษัทยา บริษัทเคมี และบริษัทผู้ผลิตเส้นใยทั่วโลก ดร. เบิร์นสไตน์ เริ่มต้นการศึกษาในสาขาวิชาฟิสิกส์ของแข็ง จากนั้นจึงได้มุ่งเน้นสาขาวิชาพิษวิทยาในระหว่างที่ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก และได้พัฒนาไปสู่วิชาพิษวิทยาที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.chrysotile.com/en/index.aspx
Gabriele Cirieco +39 348 07 00 416
หรือ
สุชาย เฉลิมธนศักดิ์
โทร 02-971-371