กรุงเทพฯ--25 พ.ค.--Savvy Communication
“พรทิวา นาคาศัย” เจ้ากระทรวงพาณิชย์มอบรางวัล SR Mark แก่ผู้ประกอบการและผู้ส่งออก ที่มีการซื้อขายเป็นธรรมกับเกษตรกร เผยปีแรกมีผู้ประกอบการ 15 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ช่วยเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 13.000 ราย คิดเป็นมูลค่า 1,600-1700 ล้านบาท ชี้อนาคต SR Mark จะทำให้สังคมโลกตื่นตัว ได้รับความสนใจทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
Responsibility Mark (SR Mark) ประจำปี 2552 ว่าการมอบเครื่องหมาย SR Mark ให้กับผู้ประกอบการและ ผู้ส่งออก โดยกรมส่งเสริมการส่งออกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือและแสดงความรับผิดชอบ ที่ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกมีต่อสังคมในการช่วยเหลือเกษตรกร โดยมีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ และได้รับรางวัลครั้งแรกนี้ จำนวน 15 ราย ได้แก่ บริษัท ยูเนี่ยนโฟรเซ่นโปรดักซ์ จำกัด , บริษัท เถกิงอุตสาหกรรมสัปปะรดกระป๋อง จำกัด ,บริษัท กรีนสปอต จำกัด,บริษัท เอ็กเซล ฟรุตส์ จำกัด, บริษัท สวิฟท์ จำกัด , บริษัท เค แอนด์ ยู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด , บริษัท ริเวอร์แคว อินเตอร์เนชั่นแนล อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด ,บริษัท มาลี สามพราน จำกัด (มหาชน) Srithaimai Rice Co.,Ltd , บริษัท ทิปโก้ ฟู้ด จำกัด (มหาชน) , Bangkok Rance Public Company Limited , บริษัท PFD จำกัด ,บริษัท แอคโกร-ออม (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด , บริษัท เอกชัย ดิสทริบิวเตอร์ จำกัด
“ผู้ประกอบการ และผู้ส่งออก ที่ได้รับรางวัลทั้ง 15 ราย ในวันนี้ มีส่วนช่วยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกว่า 13,000 ราย เช่น การทำ Contract Farming กับสินค้าผักและผลไม้ รวม 485,000 ตัน และสินค้ากุ้ง 1,600 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ1,600-1,700 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่ง นอกจากนี้ตรา SR Mark ยังให้ประโยชน์จากการที่สังคมโลกตื่นตัวในด้านการทำประโยชน์ให้กับสังคม การซื้อขายสินค้าเกษตรที่เป็นธรรม ทำให้สินค้าได้รับความสนใจจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ช่วยภาคส่งออกนำรายได้เข้าประเทศมากขึ้น และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญรุดหน้าต่อไป” นางพรทิวา กล่าว
สำหรับขั้นตอนการดำเนินการต่อไป ทางกระทรวงพาณิชย์จะทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ ว่าสินค้าที่ได้รับ SR Mark จะเป็นสินค้าที่นำมาซึ่งความยั่งยืนของเกษตรกรในระยะยาว โดยเงินที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าที่ได้รับ SR Mark จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสินค้าเกษตร และทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสม นำไป
พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ภาครัฐ ไม่จำเป็นต้องนำภาษีเข้าไปอุดหนุนสินค้าเกษตรอีกต่อไป และเมื่อประชาชนเข้าใจ และช่วยกันร่วมมืออุดหนุนซื้อสินค้าที่ได้รับ SR Mark ก็จะยิ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้สินค้าเกษตร หันมาทำ Contract Farming มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาการทำสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือ Contract Farming เกิดขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกฝ่าย ได้รับทราบทั้งด้านราคา ความต้องการของตลาดล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในส่วนของเกษตรกรได้รับทราบราคาที่เป็นธรรมไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ สามารถนำเงินที่ได้อย่างเป็นธรรมไปพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ส่วนผู้ประกอบการ ก็สามารถควบคุมคุณภาพและต้นทุนสินค้าของตัวเอง แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ นับว่าเป็นวัฎจักรของการเกื้อกูลกันอย่างยั่งยืน โดยภาครัฐสามารถลดงบประมาณในการประกันราคาสินค้าเกษตร สามารถนำภาษีไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้มากขึ้น ซึ่งในระยะยาว โครงการ SR Mark จะทำให้การบริหารจัดการสินค้าเกษตรของรัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีการประกันสินค้าอีกต่อไปในอนาคต
สำหรับผู้ประกอบการ และผู้ส่งออกที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการส่งออก สำนักงานบริการ ส่งออก 1 , เว็บไซต์ของกรมส่งเสริมการส่งออก www.depthai.go.th หรือ โทร : 02-512-0093-104 ต่อ 223,404,654
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ Savvy Communication Co.,Ltd โทร.02-196-2235-7
ธนะพน เขียวหวาน 081-614-9334 / ศรัญญรัตน์ สุวรรณคาม 081-423-4121