เด็กรับสารตะกั่วเกินมาตรฐานมีผลต่อพัฒนาการ

ข่าวทั่วไป Wednesday May 27, 2009 16:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 พ.ค.--กทม. ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 61 และฉบับที่ 135 กำหนดให้มีสารตะกั่วปนเปื้อนในน้ำดื่มไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร และมาตรฐานของ US.EPA กำหนดให้มีการปนเปื้อนได้ไม่เกิน 0.015 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนสารตะกั่วในน้ำดื่มจากเครื่องทำน้ำเย็น เกิดจากการบัดกรีด้วยตะกั่ว ณ จุดหรือบริเวณที่มีโอกาสสัมผัสน้ำดื่ม ซึ่งตัวอย่างหรือขั้นตอนที่มีความเสี่ยง ได้แก่ บริเวณมุมขอบภายในของเครื่องทำเย็นด้วยตะกั่ว การเชื่อมถังน้ำดื่ม การขึ้นรูปเครื่องทำน้ำเย็นส่วนที่เก็บน้ำ และการเชื่อมลูกลอยกับก้านส่วนที่สัมผัสกับน้ำดื่ม เป็นต้น โดยหากร่างกายได้รับสารตะกั่วส่วนใหญ่จะไปสะสมที่กระดูก ส่วนที่เหลือจะไปสะสมที่ตับไต กล้ามเนื้อและระบบส่วนประสาท ทำให้เกิดอาการ เช่น ชาตามปลายมือ ปลายเท้า ระบบทางเดินอาหารและระบบเลือดทำให้โลหิตจาง สำหรับในเด็กซึ่งมีการดูดซึมดีกว่าผู้ใหญ่ประมาณ 40 % จะเข้าไปทำลายสมอง ส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็ก ทำให้สติปัญญาด้อย เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี มีโอกาสเกิดความผิดปกติในการพัฒนาการทางด้านภาษาและมีลักษณะบกพร่องในการใช้สายตาและมือ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ