เปิดตัว ภาพยนตร์เชิงสารคดี Total Bangkok

ข่าวทั่วไป Thursday November 9, 2006 15:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 พ.ย.--Total Bangkok
เปิดตัวให้ สื่อมวลชนและแขกผู้มีเกียรติ ทีไปร่วมงานได้เห็นงานบางส่วนกันไปแล้วสำหรับ ผลงานล่าสุด “Total Bangkok” ภาพยนตร์เชิงสารคดีเรื่องแรกของผู้กำกฝีมือเยี่ยม “เป็นเอก รัตนเรือง” ผู้กำกับระดับแถวหน้าของเมืองไทย ที่บรรดาแฟนหนัง ทั้งในประเทศและต่างประเทศรู้จักและคุ้นเคยกับผลงานของเขาเป็นอย่างดี ที่Third Place ปากซอย ทองหล่อ 10 ที่ผ่านมา
กับโปรเจ็กต์ที่น่าสนใจ ในเรื่องราวเกี่ยวกับกีฬาที่ถือว่าได้รับความนิยมที่สุดในเมือง ไทยอีกหนึ่งประเภท นั่นก็คือ...ฟุตบอล แต่ความพิเศษมากกว่านั้น ก็คือ เป็นเรื่องของฟุตบอลที่ไม่ได้เตะกันในสนามใหญ่ นี่คือ “สตรีทฟุตบอล” บุคคลผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 ฝ่ายที่โคจรมาร่วมกัน ได้ขึ้นพูดคุยถึงภาพยนตร์เชิงสารคดีเรื่องนี้กันบนเวที เริ่มจาก คุณเป็นเอก รัตนเรือง ,ภาสกร ประมูล-วงศ์ Executive Producer และท่านสุดท้าย คุณภัทรินทร์ อรรคภัทร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ไนกี้ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้สนับสนุนการสร้างภาพยนตร์เชิงสารคดีเรื่องนี้
นอกจากนั้น 2 พี่น้อง ผู้ที่ชื่นชอบฟุตบอลมาตั้งแต่สมัยยังเด็กและติดตามงานหนังของผู้กำกับท่านนี้มาตลอด ทั้ง แมน ศุภกิจ ,แซน พนมกร ตังทัตสวัสดิ์ พร้อมด้วย “โก้ ศํกรินทร์ จันทร์โยธา” นักฟุตบอลไทยที่ได้ไปฝึกซ้อมในระดับอินเตอร์ ถึง เอเวอร์ตัน และ “ดา วิสุทธิ บุญเป็ง“ นักฟุตบอลเยาวชนทีมชาติไทย ก็มาร่วมชื่นชมกับผลงานของสุดยอดผู้กำกับ “เป็นเอก รัตนเรือง” ที่ทำเอาทุกคนอึ้งกับตัวอย่างหนังที่นำมาฉายให้ได้ชมกัน....!!!!!!
Total Bangkok
14 ธันวาคม
เฉพาะโรงภาพยนตร์ Lido เท่านั้น
(ภาพยนตร์สั้นก่อนภาพยนตร์ที่ฉายปกติในทุกโรงของลิโด)
ภาพยนตร์สารคดีสั้นโดย
เป็นเอก รัตนเรือง
โปรเจคภาพยนตร์สารคดีสั้นจากคน “บ้าบอล” (เป็นเอก รัตนเรือง)
“แฟนบอล” (ภาสกร ประมูลวงศ์) และ ผู้ที่ทำภาพฝันให้กลายเป็นภาพเคลื่อนไหวและสัมผัสได้ ในโลกเซลลูลอยด์ (ไนกี้ ประเทศไทย)
ขอบคุณ @ ใจ พิชัย พันธ์จิอะ ประชาสัมพันธ์ ภาพยนตร์เชิงสารคดีสั้น 081-929-1169 E-MAIL pr_chai @ yahoo.com
Total Bangkok
“ถ้าคุณมีร่างกาย คุณคือนักกีฬา”
-มร. บิล บาวเวอร์แมน- ผู้ร่วมก่อตั้งไนกี้
“สำหรับผม การ “บ้าบอล” ก็โอเคแล้ว“
-เป็นเอก รัตนเรือง- ผู้กำกับ
ที่มาที่ไป
‘Total Bangkok’ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างไนกี้ (ประเทศไทย) เป็นเอก รัตนเรือง และ ภาสกร ประมูลวงศ์ บุคคลสามฝ่ายที่มีที่มาต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ“ความหลงใหลในมนต์เสน่ห์ของเกมลูกหนัง”
วิสัยทัศน์ของไนกี้
“เพื่อนำเสนอแรงบันดาลใจและนวัตกรรมกีฬาใหม่ๆให้แก่นักกีฬาทุกคนในโลกนี้”
“อุปสรรคสำคัญที่สุดของบรรดาเด็กไทยที่ชอบเล่นฟุตบอลคือ ความไม่มั่นใจ โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาไม่สามารถเล่นฟุตบอลได้ดี จะรู้สึกกดดันและท้อใจ จนมีเยาวชนจำนวนมากตัดสินใจเลิกเอาดีทางฟุตบอลและหันไปทำอย่างอื่นแทน” นับจากนี้จนถึงปี 2550 ไนกี้จะปลุกจิตวิญญาณแห่ง “Just Do It” ขึ้นมาใหม่ และมอบแรงบันดาลใจให้เด็กไทยที่รักในกีฬาฟุตบอลทุกคนเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และเล่นฟุตบอลเพื่อแสดงความเป็นตัวตนรวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ของตนเองออกมาอย่างเต็มที่
‘Total Bangkok’ คืออะไร
Total Bangkok’ คืองานภาพยนตร์สารคดีสั้นที่ เป็นเอก ถ่ายทอดความหมายและความประทับใจของเขาที่มีต่อคำว่า ’Just do it’ สำหรับเป็นเอกแล้ว คำว่า ‘Just do it’ ก็คือ “การได้ทำอะไรในสิ่งที่เราต้องการด้วยความรักที่จะทำ ถึงแม้บางทีสิ่งนั้นอาจจะไม่ได้ช่วยให้คุณมีเงินมากมายหรือทำให้ชีวิตดีขึ้น แต่คุณรู้สึกได้ถึงความสุขที่ได้ทำก็เพียงพอแล้ว”
สารคดีนี้ จะบอกให้เราออกไปเล่นฟุตบอลเพราะว่าใจรัก เพราะว่ามันทำให้เรามีความสุขในแบบที่ไม่มีอะไรมาแทนได้ การได้รับรางวัลหรือการติดทีมชาติคือผลพลอยได้ทีจะได้รับจากการฝึกฝนอย่างหนัก
ทั่วทุกมุมโลก เราได้เห็นผู้คนเล่นฟุตบอลในที่แปลกๆมากมาย สำหรับกรุงเทพฯอาจจะแตกต่างไปบ้าง เราจะเล่นเวลากลางคืน เราสามารถเห็นการแข่งบอลในเวลากลางคืนในหลายๆสถานที่ในกรุงเทพฯ
กรุงเทพฯไม่เคยหลับ...ฟุตบอลก็เช่นกัน
มิดไนท์ฟุตบอล
มันคือเรื่องที่เกี่ยวกับคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯที่ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขด้วยฟุตบอล ผู้คนที่มีใช้ชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่ง ทำงานและใช้ชีวิตอย่างปกติในเวลากลางวัน แต่เมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า พวกเขาก็จะออกไปเล่นฟุตบอล ในขณะที่พวกเขากำลังเล่น จะไม่มีอะไรอยู่ในหัวเลย งาน การเมือง แม้กระทั่งปัญหาครอบครัวต่างๆที่เจอมา สิ่งเดียวที่คิดอยู่ก็คือ ฟุตบอลและฟุตบอล...
การถ่ายทำ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้จะเน้นไปที่ผู้คนที่คลั่งไคล้ฟุตบอลและทุ่มเทให้กับการเล่นบอลอย่างไม่คิดถึงสิ่งอื่นใด มันจะทำให้เราได้รู้ว่าฟุตบอลสำคัณสำรับพวกเขามากแค่ไหน สถานที่ถ่ายทำก็คือลานฟุตบอลใต้ทางด่วน ทำไมต้องเป็นทางด่วน ??? ผู้กำกับเชื่อว่า “ทางด่วน” ก็เปรียนเสมือน “แม่น้ำ” ในสมัยก่อน ที่นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าและความมั่งคั่งให้กับทุกๆที่ที่แม่น้ำไหลผ่าน
การถ่ายทำจากชีวิตจริง คนจริง และเรื่องจริง ที่ท่าทอดบรรยากาศของความสุข ความอบอุ่น และความสนุกสนานโดยไม่มีสคริปท์ โดยมี อนาวิน จูจิน นักกีฬาจากไนกี้ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง การถ่ายถาพและการดำเนินเรื่องจะดัดแปลงมาจากการถ่ายทำสารคดีแต่จะไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า ภาพยนตรืจะดำเนินไปโดยไม่ใช้เสียงพากย์(หรือใช้น้อยที่สุด) แต่จะใช้วิธีตัดต่อผสมกับการใส่ตัวหนังสือและดนตรีประกอบ (ทำ post production โดยทีมงานจาก ‘Invisible Waves’)
แนวความคิดของตัวละคร
ความแตกต่างของแต่ละตัวละครจะถูกซ่อนอยู่ในผู้เล่นแต่ละคนในทีมที่เล่นฟุตบอลกลางคืน สำหรับตัวละครในเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นตามข้อเท็จจริงเหล่านี้
ผู้คุมกฎ/กรรมการ
ผู้ชายธรรมดาๆที่ทำงานปกติในเวลากลางวันแต่กลายมาเป้นกรรมการในเวลากลางคืน คอยจัดระเบียบของลานฟุตบอลคอนกรีตสำหรับทุกๆทีมที่เข้ามาเล่น
ตัวเอก
คนที่เล่นฟุตบอลเก่ง มีทักษะและชั้นเชิง
ตัวรอง
คนที่เล่นเอาความสนุก ไม่มีทักษะและชั้นเชิง เท่าไหร่
อำนาจมืด
คนที่มีอำนาจในการหยุดการแข่งขันเมื่อไหร่ก็ได้ที่พวกเขาต้องการ
(เหล่าภรรยาหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดต่างๆ)
คนแปลกหน้า
ทีมใหม่ๆผู้เล่นหน้าใหม่ๆที่เราเรียกว่าพวก “ลองมาเล่นกันมั๊ย”
มือปืนรับจ้าง
คนที่เล่นเพื่อค่าจ้าง
เหล่าผู้สนับสนุน
สาวๆที่เกาะรั้วดูการแข่งขัน ร้านคาราโอเกะที่ปล่อยไฟฟ้าให้สนามใช้แต่ต้องจ่ายค่าไฟให้ และร้านขายน้ำให้กับที่ผู้ที่มาเล่นฟุตบอล
คุยกับผู้กำกับ
- สารคดีเรื่องนี้ไม่ใช่สารคดีฟุตบอลหวือหวา มันเป็นการสื่อความหมายของคำว่า “just do it” ว่าหมายถึง ความสุข มากกว่าเรื่อง ambition หรือทักษะการเล่นฟุตบอลที่เก่งกาจ ผมว่าอารมณ์แบบ lay back หน่อยๆ (คือเรื่องราวไม่ได้แสดงออกถึงความมุ่งมั่นจริงจังที่จะก้าวเป็นนักเตะระดับชาติ) ผมว่ามันไทยดี คำว่า “just do it” เมื่อไปอยู่ในวัฒนธรรมของประเทศไหน มันก็ถูก design ไปตาม context ของ culture นั้น คนไทยมี mentality ที่แตกต่างกับคนต่างประเทศในเรื่องการฝันให้ไกลไปให้ถึง แต่ก็ไม่แฟร์ที่จะไป criticize ว่า การไม่ทะเยอทะยานเป็นสิ่งผิด สำหรับผม การ “บ้าบอล” ก็โอเคแล้ว อย่างที่บอกว่า just do it มันต้องอยู่ที่ context ของแต่ละประเทศ
- คนที่มารวมตัวกันที่สนามฟุตบอลแห่งนี้มี passion กับฟุตบอลจริงๆ ไม่ได้อยากเก่งถึงขั้นเป็นทีมชาติ แต่เป็น community ที่คนมารวมกันแล้วมีความสุข มีการจัดการภายในกันเอง โดยตัวละครหลักๆจะมีประมาณ 4-5 คน เช่น 1. คนเก่ง ที่เล่นฟุตบอลเก่ง รับจ้างเล่น พอแข่งเสร็จก็มีการจัดคลินิคฟุตบอลสอนเด็กๆแถวนั้น 2. คนขายผลไม้ที่ตกกลางคืนรับหน้าที่ดูแลสนาม เค้าเป็นคนอายุมากที่สุด เป็นคนคอยเปลี่ยนหลอดไฟ เก็บเงินค่าเล่น (คนละ 2 บาท) เป็นกรรมการ คอยรับโทรศัพท์พวกที่โทรมาจองเล่นตอนดึกๆตี 2 ตี 3
- เรื่องราวที่ได้ไปถ่ายมาผมว่ามันมีหลายอย่างที่มัน unique เช่น มาคนเดียวมาขอเตะบอลด้วยเค้าก็ให้เตะ ไม่มีทีมก็หาทีมให้ เตะเสร็จเก็บแค่ 2 บาท
- สิ่งที่คิดว่าคนมาดูสารคดีเรื่องนี้จะได้รับหลังจากดูจบ ก็คือ รู้สึกดีๆ เพราะ subject ของหนังมันดี เป็นเรื่อง midnight football ซึ่งสำหรับผม การเตะฟุตบอลตอนดึกๆ มันเป็นอะไรที่ exotic ไอ้การเตะฟุตบอลตามสถานที่แปลกๆที่เราเห็นในประเทศอื่นๆมันไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ทุกประเทศมันมีอยู่แล้ว สำหรับผมความ unique คือการเตะตอนเที่ยงคืน ขณะที่คนกลุ่มหนึ่งเลือกที่จะไปเที่ยวผับ บาร์ อะโกโก้ แต่มีคนอีกกลุ่มนึงเลือกที่จะมาเตะบอล
- ผมว่าพอสารคดีเสร็จแล้ว เราจะได้หนังที่เราดูแล้วรู้สึกว่าเราชอบคนกลุ่มนี้ มัน inspire เราได้เหมือนกัน คนกลุ่มนี้มันทำให้เรารู้สึกดี คนเราชอบ associate กีฬากับความสำเร็จหรือล้มเหลว เพราะฝรั่งทำให้เรารู้สึกอย่างนั้น การที่เราไม่ไปตรงนั้นอาจจะ unique ก็ได้ คือ คนกลุ่มนี้เตะบอล for the sake of it จริงๆ (บางทีฝนตก มันยังมาดูเลยว่า มีใครเล่นมั้ย) ถ้าเป็นไปได้ผมอยากจะเติม sense of humour ลงไปเพราะมันเป็น character ของคนไทย
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ