การสำรวจผลการทบของวิกฤติเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของ ปี 2552

ข่าวทั่วไป Tuesday June 2, 2009 15:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 มิ.ย.--Spa-Hakuhodo จากวิกฤติเศรษฐกิจที่มีจุดเริ่มต้นจากประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยที่มีการคาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบเช่นกัน เพื่อสะท้อนภาพผลกระทบที่มีต่อผู้ประกอบการไทยในมิติต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อการจ้างงานและความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทย Creative Entrepreneurship Development Institute (CEDI) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น (CEDI Poll) เรื่อง “ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจาก กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วน หรือเจ้าของกิจการ ที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารเท่านั้น ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 380 ราย เป็นผู้ก่อตั้งธุรกิจ ร้อยละ 75 ทายาทธุรกิจ ร้อยละ 18.7 และเป็นผู้ที่ซื้อช่วง ผู้มอบหมาย หรือผู้ถือหุ้น ร้อยละ 6.3 ผู้ให้สัมภาษณ์ ? ผู้ก่อตั้ง ร้อยละ 75.0 ? ทายาทธุรกิจ ร้อยละ 18.7 ? ซื้อช่วงกิจการ ผู้รับมอบหมาย ผู้ถือหุ้น ร้อยละ 6.3 ประเภทธุรกิจ ? ภาคผลิต-อุตสาหกรรม ร้อยละ 51.1 ? ภาคการบริการ ร้อยละ 29.2 ? ภาคการเกษตร ร้อยละ 4.2 ? ซื้อมาขายไป ร้อยละ 3.2 ? นำเข้า ร้อยละ 0.5 ? ไม่ตอบ ร้อยละ 11.9 ตลาดที่ทำการจำหน่าย/บริการ ? ภายในประเทศและต่างประเทศ ร้อยละ 50.5 ? ภายในประเทศเท่านั้น ร้อยละ 31.1 ? ต่างประเทศเท่านั้น ร้อยละ 16.3 ? ไม่ตอบ ร้อยละ 2.1 1) วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ในช่วงไตรมาสแรกของปี จากผลการสำรวจ พบว่า ในไตรมาสแรก วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อธุรกิจในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 43.4 มีผลกระทบในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 35.8 มีผลกระทบในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 11.6 และไม่มีผลกระทบ คิดเป็นร้อยละ 9.2 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามประเภทของตลาดที่ทำการจำหน่ายและบริการ พบว่า กลุ่มกิจการที่ทำธุรกิจกับต่างประเทศเท่านั้น จะได้รับผลกระทบอยู่ในระดับมาก และกลุ่มกิจการที่ทำการค้าภายในประเทศเท่านั้น จะมีผลกระทบในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในช่วงไตรมาสแรกของปี วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกมีผลกระทบต่อธุรกิจ ร้อยละ น้อย 11.6 ปานกลาง 43.4 มาก 35.8 ไม่มีผลกระทบ 9.2 รวม 100.0 2) การพึ่งพาเงินทุนของผู้ประกอบการในช่วงไตรมาสแรกของปี จากผลการสำรวจ พบว่า ในไตรมาสแรก กิจการพึงพาวงเงินหมุนเวียน OD มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 59.4 รองลงมาได้แก่วงเงินกู้ระยะยาว ร้อยละ 20.9 เงินทุนของบริษัท ร้อยละ 17.6 และ วงเงินกู้นอกระบบ ร้อยละ 2.1 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามประเภทของธุรกิจ พบว่า กลุ่มกิจการที่ทำธุรกิจภาคบริการ จะมีการเลือกใช้เงินทุนของบริษัท มากกว่า กลุ่มอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไตรมาสแรกของปี ร้อยละ กิจการพึ่งพา - วงเงินหมุนเวียน OD 59.4 กิจการพึ่งพา - วงเงินกู้ระยะยาว 20.9 กิจการพึ่งพา - เงินทุนของบริษัทเอง 17.6 กิจการพึ่งพา - วงเงินกู้นอกระบบ 2.1 รวม 100.0 3) การเปรียบเทียบการพึ่งพาเงินทุนของผู้ประกอบการในช่วงไตรมาสแรกของปี เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา จากผลการสำรวจ พบว่า ในไตรมาสแรก กิจการพึงพาวงเงินหมุนเวียน OD เท่าเดิมร้อยละ 72.3 ลดลงร้อยละ 16.0 และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ตามลำดับ / กิจการพึ่งพาวงเงินกู้ระยะยาว เท่าเดิมร้อยละ 65.1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 และ ลดลงร้อยละ 11.1 / กิจการพึงพาเงินกู้นอกระบบ ลดลงร้อยละ 55.6 เท่าเดิมร้อยละ 22.2 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 ตามลำดับ ไตรมาสแรกของปี วงเงิน OD วงเงินกู้ระยะยาว เงินกู้นอกระบบ เท่าเดิม 72.3 65.6 22.2 ลดลง 16.0 11.1 55.6 เพิ่มขึ้น 11.3 18.9 11.1 ไม่ตอบ 0.4 4.4 11.1 รวม 100.0 100.0 100.0 4) การจ้างงาน การปลดพนักงาน และการลดเงินเดือน จากผลการสำรวจ พบว่า ในไตรมาสแรก กิจการไม่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 71.1 และมีการจ้างงานเพิ่ม คิดเป็นร้อยละ 28.9 ตามลำดับ / กิจการไม่มีการปลดพนักงาน คิดเป็นร้อยละ 90.3 และมีการปลดพนักงาน คิดเป็นร้อยละ 9.7 ตามลำดับ / กิจการไม่มีการลดเงินเดือนพนักงาน คิดเป็นร้อยละ 92.1 และมีการลดเงินเดือน คิดเป็นร้อยละ 7.9 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามประเภทของธุรกิจ พบว่า กลุ่มกิจการที่ทำธุรกิจในภาคการเกษตร เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.5 ของทั้งกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไตรมาสแรกของปี การจ้างงานเพิ่ม การปลดพนักงาน การลดเงินเดือน มี 28.9 9.7 7.9 ไม่มี 71.1 90.3 92.1 รวม 100.0 100.0 100.0 รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ 1. เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีที่มีต่อผู้ประกอบการ 2. เพื่อศึกษาถึงการใช้วงเงินของผู้ประกอบการในไตรมาสแรกของปี 3. เพื่อศึกษาถึงการจ้างงาน และการขยายกำลังการผลิตในไตรมาสแรกของปี ระเบียบวิธีการสำรวจ การวิจัยในครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random จากรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้มีการจดทะเบียนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วน หรือเจ้าของกิจการ ที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารเท่านั้น ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 380 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 58.7 และเพศหญิง ร้อยละ 41.3 ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 5.5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ Telephone Survey ประกอบด้วยคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องก่อนการบันทึกข้อมูลและประมวลผล ข้อมูลประชากรศาสตร์และรูปแบบกิจการ เพศ ชาย 58.7 หญิง 41.3 รวม 100.0 อายุ ต่ำกว่า 30 ปี 7.9 31-40 ปี 23.4 41-50 ปี 32.1 มากกว่า 50 ปีขึ้นไป 36.6 รวม 100.0 ผู้ประกอบการ ร้อยละ ผู้ก่อตั้ง 75.0 ทายาทธุรกิจ 18.7 ซื้อช่วงกิจการ ผู้รับมอบหมาย ผู้ถือหุ้น 6.3 รวม 100.0 ประเภทกิจการ ภาคผลิต-อุตสาหกรรม 51.1 ภาคการบริการ 29.2 ภาคการเกษตร 4.2 ซื้อมาขายไป 3.2 นำเข้า .5 ไม่ตอบ 11.8 รวม 100.0 ตลาดที่ทำการจัดจำหน่าย/การบริการ ภายในประเทศและต่างประเทศ 50.5 ภายในประเทศเท่านั้น 31.1 ต่างประเทศเท่านั้น 16.3 ไม่ตอบ 2.1 รวม 100.0 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ภาสประภา ตระกูลอินทร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร 02 350 3500 ต่อ 1636

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ