การสำรวจผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจที่มีต่อระดับความเชื่อมั่นและทัศนคติของผู้ประกอบการในปี 2552

ข่าวทั่วไป Tuesday June 2, 2009 15:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 มิ.ย.--Spa-Hakuhodo ความไม่แน่นอนในสภาวะทางเศรษฐกิจอาจทำให้ผู้ประกอบการต้องะมัดระวัง ทั้งในด้านการจ้างงาน การขยายตลาด และการเพิ่มกำลังการผลิต ผู้ประกอบการอาจมีความเชื่อมั่นที่แตกต่างกันไปตามลักษณะหรือประเภททางธุรกิจ ความเชื่อมั่นไม่ว่าจะเป็นไปในทางบวกหรือทางลบย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยโดยภาพรวมอย่างแน่นอน Creative Entrepreneurship Development Institute (CEDI) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น (CEDI Poll) เรื่อง “การสำรวจผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจที่มีต่อระดับความเชื่อมั่นและทัศนคติของผู้ประกอบการในปี 2552” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจาก กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วน หรือเจ้าของกิจการ ที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารเท่านั้น ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 380 ราย เป็นผู้ก่อตั้งธุรกิจ ร้อยละ 75 ทายาทธุรกิจ ร้อยละ 18.7 และเป็นผู้ที่ซื้อช่วง ผู้มอบหมาย หรือผู้ถือหุ้น ร้อยละ 6.3 ผู้ให้สัมภาษณ์ ? ผู้ก่อตั้ง ร้อยละ 75.0 ? ทายาทธุรกิจ ร้อยละ 18.7 ? ซื้อช่วงกิจการ ผู้รับมอบหมาย ผู้ถือหุ้น ร้อยละ 6.3 ประเภทธุรกิจ ? ภาคผลิต-อุตสาหกรรม ร้อยละ 51.1 ? ภาคการบริการ ร้อยละ 29.2 ? ภาคการเกษตร ร้อยละ 4.2 ? ซื้อมาขายไป ร้อยละ 3.2 ? นำเข้า ร้อยละ 0.5 ? ไม่ตอบ ร้อยละ 11.9 ตลาดที่ทำการจำหน่าย/บริการ ? ภายในประเทศและต่างประเทศ ร้อยละ 50.5 ? ภายในประเทศเท่านั้น ร้อยละ 31.1 ? ต่างประเทศเท่านั้น ร้อยละ 16.3 ? ไม่ตอบ ร้อยละ 2.1 1) ระยะเวลาที่คาดการณ์ว่าวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ จะคลี่คลาย จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในครั้งนี้จะคลี่คลายภายในระยะเวลามากกว่า 2 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.7 คลี่คลายภายในระยะเวลา 2 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.6 และคลี่คลายภายในระยะเวลา 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 23.4 ตามลำดับ วิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้ จะคลี่คลายภายในระยะเวลา 1 ปี 23.4 2 ปี 31.6 มากกว่า 2 ปี 43.7 ไม่ตอบ 1.3 รวม 100.0 2) ภาพรวมปี 2552 ผู้ประกอบการคาดว่าวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของโลก จะมีผลกระทบต่อกิจการ จากผลการสำรวจ พบว่า ภาพรวมทั้งปีวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจจะมีผลกระทบต่อธุรกิจในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 43.2 มีผลกระทบในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 37.6 มีผลกระทบในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 12.9 และไม่มีผลกระทบ คิดเป็นร้อยละ 6.1 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามประเภทของธุรกิจ พบว่า ภาคผลิต-อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จะได้รับผลกระทบอยู่ในระดับมาก และกลุ่มภาคการเกษตร ภาคการบริการ และซื้อมา-ขายไป จะมีผลกระทบในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตามลำดับ ภาพรวมทั้งปี วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของโลก มีผลกระทบต่อธุรกิจ น้อย 12.9 ปานกลาง 37.6 มาก 43.2 ไม่มีผลกระทบ 6.1 ไม่ตอบ .3 รวม 100.0 3) แผนการขยายตลาด ขยายกำลังการผลิต และการจ้างงานของผู้ประกอบการปี 2552 จากผลการสำรวจ พบว่า ภาพรวมทั้งปี ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีแผนการขยายตลาดทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งไม่มีแผนการขยายกำลังการผลิตและการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อจำแนกตามประเภทของธุรกิจ พบว่า ภาคการเกษตร มีแผนที่จะขยายกำลังการผลิต ร้อยละ 68.8 ของทั้งกลุ่ม ในขณะที่ภาคบริการ มีแผนที่จะขยายกำลังการผลิต เพียงร้อยละ 18 ของทั้งกลุ่มโดยที่ภาคการเกษตร มีแผนที่จะจ้างงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 68.8 ในขณะที่ ภาคการบริการ มีแผนที่จะจ้างงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตามลำดับ ภาพรวมทั้งปี ตลาดในประเทศ ตลาดต่างประเทศ กำลังการผลิต การจ้างงาน มี 38.7 34.5 27.1 31.3 ไม่มี 61.3 65.5 72.9 68.7 รวม 100.0 100.0 100.0 100.0 4) โดยภาพรวมปี 2552 ผู้ประกอบการคาดว่ายอดขายจะมีแนวโน้มที่จะ … จากปี 2551 จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่ายอดขายมีแนวโน้มที่จะลดลง ร้อยละ 58.7 ยอดขายคงที่ ร้อยละ 23.7 และยอดขายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.6 โดยภาพรวมทั้งปี ผู้ประกอบการคาดว่า ยอดขายมีแนวโน้มที่จะ …. จากปี 2551 เพิ่มขึ้น 17.6 ลดลง 58.7 คงที่ 23.7 รวม 100.0 รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ 1. เพื่อศึกษาถึงผลกระทบผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจที่มีต่อระดับความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในปี 2552 2. เพื่อศึกษาถึงผลกระทบผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจที่มีต่อทัศนคติของผู้ประกอบการในปี 2552 3. เพื่อศึกษาถึงการจ้างงาน และการขยายกำลังการผลิตของผู้ประกอบการในปี 2552 ระเบียบวิธีการสำรวจ การวิจัยในครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random จากรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้มีการจดทะเบียนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วน หรือเจ้าของกิจการ ที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารเท่านั้น ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 380 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 58.7 และเพศหญิง ร้อยละ 41.3 ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 5.5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ Telephone Survey ประกอบด้วยคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องก่อนการบันทึกข้อมูลและประมวลผล ข้อมูลประชากรศาสตร์และรูปแบบกิจการ เพศ ชาย 58.7 หญิง 41.3 รวม 100.0 อายุ ต่ำกว่า 30 ปี 7.9 31-40 ปี 23.4 41-50 ปี 32.1 มากกว่า 50 ปีขึ้นไป 36.6 รวม 100.0 ผู้ประกอบการ ร้อยละ ผู้ก่อตั้ง 75.0 ทายาทธุรกิจ 18.7 ซื้อช่วงกิจการ ผู้รับมอบหมาย ผู้ถือหุ้น 6.3 รวม 100.0 ประเภทกิจการ ภาคผลิต-อุตสาหกรรม 51.1 ภาคการบริการ 29.2 ภาคการเกษตร 4.2 ซื้อมาขายไป 3.2 นำเข้า .5 ไม่ตอบ 11.8 รวม 100.0 ตลาดที่ทำการจัดจำหน่าย/การบริการ ภายในประเทศและต่างประเทศ 50.5 ภายในประเทศเท่านั้น 31.1 ต่างประเทศเท่านั้น 16.3 ไม่ตอบ 2.1 รวม 100.0 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ภาสประภา ตระกูลอินทร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร 02-350-3500 ต่อ 1636

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ