กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--เซ็นทรัลพัฒนา
ชมรมไม้กินแมลง ร่วมกับ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ทาวน์ รัตนาธิเบศร์ จัดประกวดพันธุ์ไม้กินแมลง ครั้งแรกในประเทศไทย ที่นำพันธุ์ไม้กินแมลงสายพันธุ์แท้ มาประชันแข่งขัน ถึงความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ เสน่ห์ความสวยงามของพันธุ์ไม้ที่แฝงไว้ด้วยความลึกลับชวนสงสัย อาทิ หม้อข้าวหม้อแกงลิง กาบหอยแคลง ซาราซีเนีย หยาดน้ำค้าง ฯลฯ ที่ทางสมาชิกชมรมพันธุ์ไม้กินแมลงเฝ้าฟูมฟักดูแลเอาใจใส่ เผยโฉมในเวทีการประกวดพันธุ์ไม้กินแมลงครั้งแรกในประเทศไทย โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
Rare Carnivorous Plants พันธุ์ไม้กินแมลงที่หายากที่สุด
The Biggest Carnivorous Plants พันธุ์ไม้กินแมลงที่ใหญ่ที่สุด
The Smallest Carnivorous Plants พันธุ์ไม้กินแมลงที่เล็กที่สุด
The Best inshow Carnivorous Plants พันธุ์ไม้กินแมลงที่น่าสนใจ
Gorgeous Carnivorous Plants พันธุ์ไม้กินแมลงที่สวยงามที่สุด
พร้อมพบกับบอร์นิทรรศการประวัติความเป็นมาของพืชกินแมลงอย่างละเอียด ตลอดจนพบปะผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ไม้กินแมลง มาพูดคุยถึงพันธุ์ไม้มหัศจรรย์ การขยายพันธุ์ การดูแลรักษาซึ่งในปัจจุบันนี้พันธุ์ไม้กินแมลงกำลังได้รับความสนใจและมีการศึกษาถึงทำวิจัยกันหลายแห่ง และในระยะ 1-2 ปี ที่ผ่านมา มีการสั่งซื้อพันธุ์ไม้มาจากต่างประเทศมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ราคาของพันธุ์ไม้มีตั้งแต่ราคา 30 บาท ไปจนถึงหลักหมื่น ต่อต้น ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมในการนำมาจัดสวนตกแต่งบ้าน ร้านอาหาร รีสอร์ท ฯลฯ เพราะสามารถนำมาเพาะเลี้ยงขยายสายพันธุ์ได้ตามใจจินตนาการ ทำให้ได้พันธุ์ไม้ที่มีสีสันสวยงามมากมายหลากหลายยิ่งขึ้น
พลาดไม่ได้สำหรับนักนิยมพันธุ์ไม้หายาก อย่าลืมพบกันที่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ทาวน์ รัตนาธิเบศร์ ณ บริเวณ ชั้น 1 ตั้งแต่วันที่ 25-26 มีนาคม 2549
รายละเอียดเพิ่มเติมพันธุ์ไม้กินแมลง
ความเป็นมา
พืชกินแมลงมีมานานสมัยดึกดำบรรพ์แล้ว ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่น ป่าดงดิบ ตามภูเขา เกาะแก่ง หรือแม้กระทั่งทุ่งหญ้า ท้องนา ท้องไร ก็พบเห็นได้ มีรูปร่างลวดลาย สีสัน หลายแบบ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่พบ ในทวีปเอเชียมีเกือบทุกประเทศ เช่นเกาะสุมาตราอินโดนีเซีย,มาเลเซีย,พม่า,กัมพูชา,ลาว,ไทย ฯลฯ ในขระนี้ได้รับความนิยมเพาะเลี้ยงกันทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา, เยอรมัน,บราซิล,แอฟริกา,ออสเตรเลีย ซึ่งพืชกินแมลงมีหลายชนิดมาก แต่ละชนิดมีเสน่ห์ในตัวเอง เหมาสำหรับสะสมหรือเพาะเลี้ยงเป็นงานอดิเรก เพราะสามารถนำมาเพาะเลี้ยงใหม่ขยายพันธุ์ได้หลายแบบตามความชอบและตามจินตนาการทั้งยังเป็นการช่วยกันการอนุรักษ์พันธุ์ไม้กินแมลง ไว้ให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงวิวัฒนาการอันมหัศจรรย์ใจนี้
วิวัฒนาการ
พืชกินสัตว์ วิวัฒนาการของพืชเพื่อความอยู่รอด สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่ดำรงอยู่ในโลกใบนี้ ต่างมีวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอดในธรรมชาติ โยวิธีการที่เรียกว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) สิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอ และไม่สามารถปรับตัวให้อญู่ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมมีโอกาสที่จะสูญพันธุ์ หลายๆคนอาจคิดว่า พืชเป็นผู้ผลิตซึ่งต้องเป็นอาหารให้กับผู้บริโภคในลำดับที่สูงขึ้นไป แต่งความจริงยังมีพืชบางชนิดที่กินแมลง คือย่อยกินแมลงเป็นอาหาร ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่มีความเห็นว่าพืชบางชนิด เช่น ต้นหยาดน้ำค้าง (Droserd) ซึ่งขึ้นที่เกาะอังกฤษนั้นกินแมลง
พืชกินแมลงประเภทต่างๆ
1. หม้อข้าวหม้อแกงลิง(Nepenthes sp.)
ซึ่งมีลักษณะเป็นถุง ภายในมีน้ำหวานไว้สำหรับล่อแมลงให้ตกลงไป
จากข้อสันนิษฐาน การที่พืชกินแมลง เกิดจาการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เนื่องจากจะพบว่าพืชเหล่านี้มักจะขึ้นบริเวณที่ที่ขาดแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นจึงต้องปรับตัวเองให้เพื่อความอยู่รอดโดยอาศัยเทคนิคหลอกล่อจับแมลง และย่อยซากแมลง เพื่อดูดซึมแร่ธาตุไปใช้ในการเจริญเติบโตของพืชชนิดนั้นเอง ในประเทศไทยก็มีพืชหลายสกุลหลายชนิด ที่มีวิวัฒนาการในการดักจับสัตว์มาเห็นอาหาร อย่างเช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes ) หยาดน้ำค้าง (Drosera) และอีกกลุ่มเรียกว่า Uticularia ซึ่งมีชนิดย่อยๆอีกมากมายหลายชนิด ที่รู้จักก็พวก “สาหร่ายดอกเหลือง” เป็นพืชมีดอกที่ลอยอยู่ในน้ำ
2.จอกบ่วาย หรือ หยาดน้ำค้าง (Drosera sp)
ซึ่งพบที่เกาะพระทอง จ. พังงา
ทั้งหม้อข้าวหม้อแกงลิงและหยาดน้ำค้าง มีใบที่พัฒนาเป็นเครื่องจับแมลง ใบของหยาดน้ำค้างมีขนขึ้นเต็ม ตรงริมใบจะยาวมากเป็นพิเศษ ปลายขนมีสารเหนียวๆ เกาะคล้ายหยาดน้ำค้าง เมื่อแมลงโดนสารเหลวเหล่านี้ มันจะติดอยู่ตรงนั้น แล้วขนตรงริมใบจะพับหุ้มตัวแมลง กดลงไปตรงกลางใบ และปล่อยน้ำย่อยโปรตีนออกมาย่อยสลายตัวแมลง จนเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก สามารถดูดซึมไปใช้ได้
3.กาบหอยแคลง(Venus Fly Trap)
ซึ่งเป็นพืชอีกชนิดที่มีการปรับตัวให้สามารถจับแมลง และย่อยสลายเป็นแร่ธาตุ
สำหรับในหม้อข้าวหม้อแกงลิง ก็มีเทคนิคคล้ายๆกัน โดยปลายใบจะยืดยาวเป็นหนวดออกไป และตรงปลายหนวดจะพัฒนาเป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นหม้อ ภายในมีน้ำหวานใช้ล่อแมลงให้ตกลงมา นอกจากนี้ยังมีฝาปิดเพื่อป้องกันแมลงบินหนีไป หลังจากที่แมลงตกลงไปแล้ว ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำย่อยออกมาสลายตัวแมลง และดูดซึมแร่ธาตุไปใช้ แร่ธาตุที่สำคัญคือ ไนโตรเจน
ที่เล่ามาเป็นตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวเองให้อยู่รอด ซึ่งล้วนปรับตัวเองให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ของมันเอาไว้ แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ มนุษย์มีส่วนในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและรวดเร็ว ก็ไม่แน่ว่าพืชเหล่านี้จะพัฒนาการตัวเองอย่างไร เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ หรือบางทีพวกมันอาจต้องสูญเผ่าพันธุ์ไปจนหมดสิ้น เพราะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
* ข้อมูลส่วนหนึ่งได้มาจาก มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่:
แผนกประชาสัมพันธ์ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
รัชดาภรณ์ บุญต่อ (ออ) โทร. 02-264-5555 ต่อ 4104 มือถือ 01-5536797 โทรสาร 02-264-5575 pr.ho@centralplaza.co.th
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net