กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--ปภ.
1. สถานการณ์พายุดีเปรสชั่น “ทุเรียน”
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ พายุดีเปรสชัน ‘‘ทุเรียน” บริเวณทะเลอันดามัน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 11.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 95.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลักษณะดังกล่าวทำให้ทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นลมแรงขึ้น ขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวังในระหว่างวันที่ 7-8 ธ.ค.49 สำหรับภาคใต้มีฝนลดลง และคลื่นลมในอ่าวไทยกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
2. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 07.00 น. วันที่ 6 ธ.ค.49 ถึง 07.00 น. วันที่ 7 ธ.ค.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดชุมพร (อ.ท่าแซะ) 160.4 มม. (อ.สวี) 158.2 มม.
(อ.เมือง) 116.9 มม.
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อ.บางสะพานน้อย) 128.0 มม. (อ.บางสะพาน) 90.0 มม.
จังหวัดสงขลา (อ.รัตนภูมิ) 106.5 มม.
จังหวัดพัทลุง (อ.เมือง) 48.0 มม.
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อ.พนม) 44.9 มม. (อ.เกาะสมุย) 44.5 มม.
จังหวัดภูเก็ต (อ.เมือง) 41.6 มม.
3. จากการประสานไปยังจังหวัดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชัน “ทุเรียน” แล้ว ได้รับรายงานสถานการณ์ ดังนี้
1) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอบางสะพานน้อย และอำเภอบางสะพาน ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
2) จังหวัดชุมพร หลังจากที่ฝนตกหนักในเขตจังหวัดชุมพรมีผลทำให้มีน้ำไหลหลากลงสู่ คลองท่าแซะ คลองรับร่อ ไหลมารวมเป็นคลองท่าตะเภา ที่บ้านวังครก โดยเมื่อเวลา 06.00 น. ของวันนี้ (7 ธ.ค.49) มีระดับน้ำอยู่ที่ 8.54 ม.(ระดับตลิ่ง 12.00 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 3.46 ม. กรมชลประทานได้ระบายน้ำจากคลองท่าตะเภาผ่านคลองหัววัง-พนังตัก และคลองสามแก้ว ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่เทศบาลเมืองชุมพรไม่เกิดน้ำล้นตลิ่ง โดยที่สถานีเทศบาล 2 เมื่อเวลา 06.00 น. ของวันนี้มีระดับน้ำที่ 1.28 ม.(ระดับตลิ่ง 3.80 ม.) และคาดว่าระดับน้ำ จะสูงสุดที่ 3.50 ม. ในเวลา 24.00 น. ของวันนี้ (7 ธ.ค.49) ซึ่งสภาพน้ำดังกล่าวไม่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมชุมชนในเขตเทศบาลเมืองชุมพร
4. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดลุ่มเจ้าพระยา
4.1 พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 42 จังหวัด (จังหวัดสระบุรี เข้าสู่ภาวะปกติ)
4.2 ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 5 จังหวัด ได้แก่ อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม และนนทบุรี ในจำนวน 18 อำเภอ แยกเป็น
1) จังหวัดอ่างทอง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (ตำบลมหาดไทย) และอำเภอวิเศษชัยชาญ (4 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.30 ม. ส่วนในพื้นที่การเกษตร ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-0.90 ม. ระดับน้ำทรงตัว
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดอ่างทอง อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร มูลนิธิฯ องค์กรเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จัดส่งรถผลิตน้ำดื่มเคลื่อนที่ 3 คัน เต็นท์ที่พักอาศัยชั่วคราว 190 หลัง น้ำดื่ม 502,187 ขวด ถุงยังชีพ 91,577 ชุด ยาและเวชภัณฑ์ 39,950 ชุด เรือพาย/ เรือกาชาด/เรือไฟเบอร์/เรือท้องแบน/เรือบริจาค 327 ลำ รถบรรทุกน้ำ 3 คัน รถบรรทุก 31 คัน รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก 16 คัน รถ Unimog 7 คัน เครื่องสูบน้ำ 79 เครื่อง สุขาเคลื่อนที่ 155 ห้อง แท็งค์น้ำ 2,000 ลิตร 68 ถัง
2) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมหาราช (3 ตำบล) อำเภอบางปะหัน (2 ตำบล) อำเภอบ้านแพรก (3 ตำบล) อำเภอลาดบัวหลวง (6 ตำบล) และอำเภอบางซ้าย (2 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม. (อำเภอเมืองฯ อำเภอผักไห่ และอำเภอวังน้อย เข้าสู่ภาวะปกติแต่ยังคงมีน้ำท่วมขังบางจุด)
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หน่วยทหาร อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 391,614 ชุด น้ำดื่ม 1,347,970 ขวด เต็นท์ 183 หลัง เรือท้องแบน 30 ลำ เรือไม้/เรือเหล็ก/เรือไฟเบอร์ 826 ลำ รถบรรทุกน้ำ 40 คัน รถแบ็คโฮ 10 คัน เครื่องสูบน้ำ 100 เครื่อง กระสอบทราย 820,730 ใบ รถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน ห้องสุขาลอยน้ำ 70 ห้อง กำลังพล 4,796 คน สนับสนุนหญ้าแห้งอาหารสัตว์ 63,000 กก. มอบยาเวชภัณฑ์จำนวน 20,884 ชุด
3) จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (3 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.30 ม. อำเภอบางปลาม้า (7 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.50-0.90 ม. และอำเภอสองพี่น้อง (9 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.60-1.15 ม. ระดับน้ำลดลง
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 164,064 ชุด น้ำดื่ม 7,000 ขวด ยาเวชภัณฑ์จำนวน 1,000 ชุด กระสอบทราย 300,000 ใบ เครื่องสูบน้ำ 35 เครื่อง เรือท้องแบน 22 ลำ พล ร.9 และศูนย์ ปภ.เขต 2 สุพรรณบุรี จัดรถบริการรับส่งประชาชนและเรือท้องแบนให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบภัย
4) จังหวัดนครปฐม น้ำที่ระบายจากคลองพระยาบรรลือ คลองพระพิมล คลองบางเลน ไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน (15 ตำบล) เทศบาลตำบลบางหลวง เทศบาลตำบลลำพญา และเทศบาลตำบลบางเลน ระดับน้ำสูง 0.50-0.80 ม. อำเภอนครชัยศรี (14 ตำบล) เทศบาลตำบลนครชัยศรี (ชุมชนริมคลองบางแก้วฟ้า และชุมชนคลองเจดีย์บูชา) อำเภอพุทธมณฑล (3 ตำบล) น้ำท่วมชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ ริมคลองโยง และริมคลองทวีวัฒนา และอำเภอกำแพงแสน (ตำบลห้วยม่วง หมู่ที่ 1,10) ระดับน้ำสูง 0.30-0.45 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 31,406 ชุด เรือท้องแบน 93 ลำ เครื่องสูบน้ำ 44 เครื่อง กระสอบทราย 2,379,112 ใบ รถบรรทุก 2 คัน ชุดยาเวชภัณฑ์ 24,124 ชุด ช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมสนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,692,134.40 บาท
5) จังหวัดนนทบุรี น้ำยังท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอปากเกร็ด ยังมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำสูง 0.35-0.60 ม. ส่วนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำจากทุ่งเจ้าเจ็ดผ่านคลองพระยาบรรลือ และคลองพระพิมลยังมีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางกรวย ระดับน้ำสูง 0.40-1.40 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 154 ลำ กระสอบทราย 1,768,495 ใบ เครื่องสูบน้ำ 169 เครื่อง เรือสุขา 3 ลำ ถุงยังชีพ 38,204 ชุด สร้างสะพานไม้ชั่วคราว 68 แห่ง กำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัย 1,379 นาย รวมทั้งช่วยเหลือด้านยารักษาโรค และจัดรถบริการรับส่งประชาชนและเรือท้องแบนให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบภัย
5. การให้ความช่วยเหลือแก่จังหวัดที่ประสบอุทกภัย
5.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้
(1) เครื่องจักรกล 153 คัน/เครื่อง เรือท้องแบน 142 ลำ รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน เต็นท์ยกพื้นพักอาศัยชั่วคราว 555 หลัง (อ่างทอง 177 หลัง พระนครศรีอยุธยา 142 หลัง สุโขทัย 20 หลัง นครสวรรค์ 50 หลัง อุตรดิตถ์ 70 หลัง น่าน 39 หลัง ชัยนาท 35 หลัง และ สิงห์บุรี 22 หลัง) เต็นท์อำนวยการ 15 หลัง บ้านน็อกดาวน์ 10 หลัง(เชียงใหม่) สะพานเบลี่ย์ 57 เมตร พร้อมเจ้าหน้าที่ 642 คน และสนับสนุนถุงยังชีพ 80,359 ชุด ไปปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(2) จ่ายเงินค่าจัดการศพ 263 ราย รายละ 15,000 บาท กรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว รายละ 40,000 บาท เป็นเงิน 6,845,000 บาท (คงเหลือ 53 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ) ทั้งนี้จังหวัดที่ประสบภัยได้ใช้จ่ายเงินช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ไปแล้ว 719.28 ล้านบาท
(3) จัดส่งถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้ง ผ้าขาวม้า ผ้าถุง รองเท้ายาง ไปสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัย คิดเป็นมูลค่า 41,649,800 บาท
5.2 กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัยในฤดูฝนปี 2549 ทั่วประเทศ รวม 681 เครื่อง แยกเป็นเพื่อการเกษตร 327 เครื่อง การอุปโภคบริโภค 6 เครื่อง และช่วยเหลืออุทกภัย 348 เครื่อง นอกจากนี้ได้ส่งเครื่องผลักดันน้ำช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 37 เครื่อง แยกเป็นจังหวัดนนทบุรี 6 เครื่อง กรุงเทพมหานคร 14 เครื่อง สมุทรสาคร 6 เครื่อง นครปฐม 5 เครื่อง พระนครศรีอยุธยา 6 เครื่อง
6. สภาพน้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ข้อมูลวันที่ 7 ธ.ค.49) โดยกรมชลประทาน
- ปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 568 ลบ.ม./วินาที
- ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท 90 ลบ.ม./วินาที
- ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระราม 6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 16 ลบ.ม./วินาที
- ปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 864 ลบ.ม./วินาที
7. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4,11,12 จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง เตรียมการป้องกันแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาพอากาศฝนตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ในระหว่างวันที่ 5-7 ธันวาคม 2549 เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในเขตความรับผิดชอบ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้น จัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
8. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป