กรุงเทพฯ--21 พ.ย.--วาโซ่ เทรนนิ่ง
ขอเชิญร่วมอบรมและสัมมนาเรื่อง ความรู้เรื่องกฎหมายคุ้มครองแรงงาน Practical and Experience of Legal Issues in HRM (ชัดเจน เข้าใจง่าย พร้อมประเด็น และกรณีศึกษาที่พบบ่อย สามารถนำไปใช้งานได้ทันที )
วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2549
เวลา 09.00-16.00
ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส ถนนศรีนครินทร์ ติดกับซีคอนสแควร์
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างจึงจะทำสัญญา ทำข้อตกลงใดๆ กับลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ต่ำกว่าจดหมายฉบับนี้ แม้ลูกจ้างจะเต็มใจ และลงนามในสัญญาก็ตาม สัญญาดังกล่าวก็เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับใช้ นอกจากนั้น ผู้ที่เป็นหัวหน้างาน หากสั่งการผิด หรือกระทำการผิด ไปจากบทบัญญัติของกฎหมายฉบับนี้ ก็มีสิทธิ์ติดคุก และหรือถูกปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับได้ ดังนั้น จึงจำเป็นที่บรรดาหัวหน้างานของทุกกิจกรรม จะต้องมาทำความเข้าใจในบทบัญญัติของกฎหมายฉบับนี้ ในหลายๆ มาตรา ว่ามีความหมายและความสำคัญมากน้อยเพียงไร เพื่อมิให้ต้องพลาดพลั้งทำผิดกฎหมาย อันมาจากเหตุความไม่รู้จริงในกฎหมายนั่นเอง
กำหนดการอบรม
08.30-09.30 ลงทะเบียน
09.00-16.00
1. กรณีที่บริษัทใดทำผิด ให้ลงโทษบุคคลที่สั่งการ หรือกระทำการผิด ถึงขั้นจำคุก และหรือถูกปรับ
2. ทำไม หัวหน้างานจึงมีสถานภาพเป็นนายจ้างด้วย
3. กิจการที่ใช้วิธีการเหมาค่าแรง ก็เป็นนายจ้างด้วย
4. ความหมายของคำที่ใช้ในกฎหมายนี้มีอย่างไร เช่น ค่าจ้าง วันทำงาน วันหยุด วันลา การทำงานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย
5. แม้นายจ้างได้ประโยชน์ตามกฎหมายนี้ ก็ห้ามตัดสิทธิลูกจ้างตามกฎหมายอื่น
6. ถ้านายจ้างไม่จ่ายเงินประกัน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ฯลฯ แม้มีเหตุผลต้องเสียดอกเบี้ย 15% ต่อปี หากจงใจไม่จ่าย เสียเงินเพิ่ม 15% ทุก 7 วัน
7. กฎหมายห้ามเรียกเก็บเงินประกันกรณีใด และกรณีใดเรียกเก็บเงินประกันได้ และประกาศกระทรวงเรื่องดังกล่าวมีอย่างไร
8. เปลี่ยนตัวนายจ้างได้ แต่เปลี่ยนสิทธิให้ลูกจ้างได้น้อยลงไม่ได้
9. เลิกจ้างลูกจ้างทดลองงาน จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า มีกรณีใด และแก้ปัญหาได้อย่างไร
10. เงื่อนไขการบอกกล่าวล่วงหน้ามีอย่างไร
11. ถ้าไม่ระบุเหตุผลในการเลิกจ้าง จะยกเหตุไม่จ่ายค่าจ้างไม่ได้
12. ชั่วโมงทำงานปกติของงานธรรมดา และงานอันตราย แตกต่างกันอย่างไร
13. ห้ามมิให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ลูกจ้างยินยอม
14. ห้ามมิให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ยกเว้นกรณีใด
15. นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้าง 8 ประเภทมาทำงานในวันหยุดได้ คืองานใดบ้าง
16. ก่อนทำงานล่วงเวลา จะต้องจัดให้ลูกจ้างพักก่อน
17. วันหยุดตามประเพณี ได้แก่ 3 วันอะไร
18. ห้ามทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด ในงานอันตราย ห้ามทุกกรณีหรือไม่
19. ลูกจ้างลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง แต่ถ้าลามาก นายจ้างก็เลิกจ้างได้
20. ให้ลูกจ้างลาทำหมัน ต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่
21. ลากิจ สุดแต่ที่บังคับ,นายจ้างกำหนด ไม่ให้ก็ไม่ผิดกฎหมายใช่ไหม
22. ลารับราชการทหาร ได้ค่าจ้างตามวันในหมายเรียก หรือตามวันที่ขอลา
23. ลาเพื่อคลอดบุตร มิใช่ลาก่อนคลอด/หลังคลอด ใช่หรือไม่
24. ลาเพื่อฝึกอบรมฯ จ่ายค่าจ้างหรือไม่จ่ายค่าจ้างก็ได้ใช่ไหม
25. ห้ามลูกจ้างที่มีครรภ์ทำงานบางเวลา หรือติดไปกับยานพาหนะ ฝ่าฝืนหัวหน้างานถูกจำคุก 6 เดือน ปรับ 100,000 บาท
26. วันหยุดตามกฎหมายแรงงานมี 3 วัน อะไรบ้าง
27. ไม่ได้จัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อน จะต้องจ่ายค่าจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้หรือไม่
28. นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดตาม ม.119 ลูกจ้างจะได้ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนที่เหลือเพียงไร
29. ค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานของลูกจ้างรายเดือน ต้องหารค่าจ้างรายเดือนด้วยผลคูณของ 30 วัน จำนวนชั่วโมงทำงาน
30. อัตราค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ที่ถูกต้องตามกฎหมายคิดอย่างไร
31. ลูกจ้างเดินทางไปทำงานท้องที่อื่น ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาในระหว่างเดินทาง
32. ในกรณีที่นายจ้างหยุดกิจการทั้งหมด หรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวที่มิใช่เหตุสุดวิสัย นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง 50% ในกรณีไม่จ่ายค่าจ้างเลยนั้นทำได้ในกรณีใด
33. เมื่อประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และต้องปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยด้วย มิฉะนั้นเป็นความผิด
34. ห้ามพักงานระหว่างการสอบสวน เว้นแต่มีข้อบังคับกำหนดให้พักงานได้ โดยต้องระบุความผิดและระยะพักงานไม่เกิน 7 วัน จ่ายค่าจ้าง 50%
35. อัตราค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง, ความหมายขิงการเลิกจ้าง, ขอยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย, เงื่อนไขการไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
36. ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าลูกจ้างทำความผิด
37. ถ้านายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้งที่อื่น มีผลกระทบต่อลูกจ้างมาก นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าชดเชยปกติ และถ้าไม่บอกล่วงหน้า ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกล่วงหน้า 30 วัน
38. ถ้าเลิกจ้าง เพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงาน การผลิต การจำหน่าย หรือบริการ โดยนำเครื่องจักร หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือเทคโนโลยี จนต้องลดลูกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 60 วัน และจ่ายค่าชดเชยพิเศษอีกปีละ 15 วัน ที่มีอายุงานเกิน 6 ปี +180 วัน แต่ไม่เกินค่าจ้าง 360 วัน
39. ถาม-ตอบปัญหาข้องใจ
วิทยากร
อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
- อดีตประธานผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลาง
- ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน
ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนต่อหลักสูตร ต่อท่าน
ท่านละ 2,500 บาท + ภาษี 7 % = 2,675 บาท
กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 หมู่2 หมู่บ้านสัมมากร ซอย1/4 ถ.สามวา แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
วิธีการสำรองที่นั่ง
โทรสำรองที่นั่ง ที่ โทร.0-29062211-2
แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062231, 0-29062127 ใบสมัคร แผนที่สถานที่อบรม
E-mail: ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
วิธีการชำระเงิน
เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2
แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส แลชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 0-29062127
การแจ้งยกเลิกการอบรม
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น
กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วัน หากไม่แจ้งตามกำหนด
ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมเอกสาร เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน