กรุงเทพฯ--12 มิ.ย.--124 คอมมิวนิเคชั่นส
เป็นการสำรวจความคิดเห็นที่มีความสำคัญระดับประเทศที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่แปด โดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท มาร์เก็ตไว้ส์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการสำรวจรวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงจาก 1,000 บริษัท/องค์กรระดับแนวหน้าที่มีรายได้สูงสุดของประเทศไทย โดยโครงการ Thailand Corporate Excellence Survey 2008 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อคัดเลือกบริษัท/องค์กรดีเด่น ที่มีความเป็นเลิศในด้านการบริหารจัดการธุรกิจในสาขาต่างๆ
2. เพื่อรับทราบความคิดเห็นของผู้บริหารจากบริษัท/องค์กรระดับแนวหน้าที่ดำเนินงานในประเทศไทยที่มีต่อความเป็นเลิศในการบริหารจัดการธุรกิจ มุมมองด้านธุรกิจ และประเด็นทางธุรกิจที่สำคัญต่างๆ
3. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเปรียบเทียบ (Benchmarking) สำหรับบริษัท/องค์กรต่างๆ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบและพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจต่อไป
การสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 11 มีนาคม — 11 พฤษภาคม 2552 โดยมีผู้บริหารเข้าร่วมการสำรวจโดยการตอบกลับแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 412 ท่าน ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง อาทิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธาน รองประธาน กรรมการผู้จัดการ ผู้อำนวยการ และผู้จัดการ เป็นต้น
มุมมองด้านธุรกิจของผู้บริหาร
"จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อมุมมองทางด้านเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจ พบว่าธุรกิจไทยในปีหน้ามีแนวโน้มในทิศทางลบมากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก บริษัท/องค์กรต่างๆ ต้องรับบทหนักเพื่อรับมือจากผลกระทบดังกล่าว ด้วย 4 แนวทาง หลักได้แก่ การลดค่าใช้จ่าย การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน การระมัดระวังในการลงทุน ตลอดจนการเน้นที่ความสามารถหลักขององค์กร นอกจากนี้ การมีบรรษัทภิบาล การบริหารจัดการทางการเงินที่ดี และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล จะเป็นทางรอดที่สำคัญในการนำพาให้ประสบความสำเร็จภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน"
จากสภาพธุรกิจที่ประสบอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี ผู้บริหารบริษัทชั้นนำของประเทศไทยคาดการณ์ถึงแนวโน้มภาพรวมของธุรกิจไทย ปี 2553 ว่าจะยังอยู่ในทิศทางลบ มีเพียงธุรกิจในภาคการเกษตรที่คาดการณ์แนวโน้มดี
โดยจากการสำรวจในปีนี้มีผู้บริหารสูงถึง 87% ที่เห็นว่าธุรกิจในประเทศไทยในอีกหนึ่งปีข้างหน้าจะเป็นไปในทิศทางลบ ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจากการสำรวจในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 49% นอกจากนี้ยังเป็นที่เด่นชัดว่าผู้บริหารเห็นว่าทิศทางของธุรกิจในประเทศไทยในปีหน้าขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกอย่างสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และความมั่นคงทางการเมืองมากขึ้นกว่าในปีทีผ่านมา
เห็นได้จากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยตั้งแต่ปี 2551 ที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของธุรกิจในประเทศไทย โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2552 ที่ได้มีการสำรวจความคิดเห็น ผู้บริหาร 76% เปิดเผยว่าบริษัท/องค์กรของตนได้รับผลกระทบในระดับที่ค่อนข้างสูงจนถึงสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมเบา เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้พลาสติก ตลอดจนธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และขนส่ง ซึ่งเป็นภาคธุรกิจต้องรับผลกระทบอย่างหนักในปัจจุบัน อีกทั้งผู้บริหารยังคาดการณ์ถึงแนวโน้มในทิศทางลบต่อไปในอีกหนึ่งปีข้างหน้าอีกด้วย
สำหรับธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมหนัก การท่องเที่ยวและโรงแรม ค้าปลีก เทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ ก็รับผลกระทบมากเช่นเดียวกันแต่ยังถือว่าอยู่ในสภาวะที่ดีกว่าในกลุ่มแรก ในขณะที่ธุรกิจในภาคการเกษตรกลับเป็นที่น่าสนใจเนื่องจากได้รับผลกระทบที่น้อยและยังเป็นภาคธุรกิจเดียวที่สามารถคาดการณ์ทิศทางธุรกิจที่ดีขึ้นได้ในอีกหนึ่งปีข้างหน้า
การลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดการลงทุน และเน้นที่ความสามารถหลักขององค์กร เป็นแนวทางที่สำคัญที่บริษัท/องค์กรในประเทศไทยใช้เพื่อรับมือกับผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโลก
แผนการดำเนินงานของบริษัท/องค์กรในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลก
ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ซึ่งไม่รวมถึงการลดพนักงาน) 80%
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 68%
ลดการลงทุน 39%
เน้นที่ความสามารถหลักของบริษัท/องค์กร 35%
ปรับโครงสร้างองค์กร 27%
ออกผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ 24%
เพิ่มผลิตภาพ 20%
ลดจำนวนพนักงาน 18%
หาโอกาสในการควบรวม/ร่วมทุนกับบริษัท/องค์กรอื่น 8%
ออกจากตลาดที่ไม่มีการเติบโต 8%
จ้างบุคลากรที่มีทักษะ/ความสามารถที่บริษัท/องค์กรไม่เคยมีมาก่อน 6%
เพิ่มการซื้อขายด้วยอัตราล่วงหน้า (hedging) เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าและอัตราแลกเปลี่ยน 5%
(ฐาน) (412)
ภายใต้การคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจของผู้บริหารที่เป็นไปในทิศทางลบมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่การสำรวจในปี 2547 เราจะพบ 4 คุณลักษณะสำคัญของธุรกิจที่ควรปรับปรุง/พัฒนาเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ได้แก่
1. บรรษัทภิบาล
2. ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
3. การบริหารจัดการทางการเงิน
4. วิสัยทัศน์/มุมมองในระดับโลก
รายชื่อองค์กรที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในสาขาต่างๆ
ในการสำรวจ Thailand Corporate Excellence Survey 2008 มีหลากหลายองค์กรซึ่งมีผลงานโดดเด่นในปีที่ผ่านมาซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลความเป็นเลิศในสาขาต่างๆ ซึ่งในปีนี้มีองค์กรที่น่าจับตามองโดยได้รับการเสนอชื่อเข้ามาใหม่จากการสำรวจปีก่อนในหลากหลายสาขา อาทิ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่เข้าชิงในรางวัลสาขาความเป็นเลิศด้านการตลาด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในสาขาความเป็นเลิศด้านสินค้า/การบริการ นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ยังเป็นองค์กรที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ามาใหม่ในสาขาความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และ สาขาความเป็นเลิศด้านผู้นำ ตามลำดับอีกด้วย โดยรายชื่อองค์กรที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลประเภทต่างๆ มีดังต่อไปนี้
รายชื่อองค์กรที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในสาขาต่างๆ (ต่อ)
ความเป็นเลิศด้านการบริหารทางการเงิน
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
ความเป็นเลิศด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด
ความเป็นเลิศด้านการตลาด
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
บริษัท โออิชิกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ความเป็นเลิศด้านสินค้า/การบริการ
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ความเป็นเลิศด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
ความเป็นเลิศด้านผู้นำ
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
คณะทำงานประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณสราลิน นิตยพัฒน์
บริษัท มาร์เก็ตไว้ส์ จำกัด
โทร. 0-2259-0290-4 ต่อ 106
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนกรุณาติดต่อ
กิตติศักดิ์ อนันต์สิทธิโชค (Kittisak@124comm.com)
เอกภพ พันธุรัตน์ (Eakkapop@124comm.com)
บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัด (มหาชน)
โทร. 0-2662-2266 แฟกซ์ 0-2204-2661