กรุงเทพฯ--15 มิ.ย.--โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2552 ปริมาณการขาย 40,539 คัน ลดลง 26.2% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 17,361 คัน ลดลง 18.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 23,178 คัน ลดลง 31.1% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 20,209 คัน ลดลง 30.6%
สถิติการขายสะสมในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 มีปริมาณทั้งสิ้น 188,026 คัน ลดลง 30.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 77,310 คัน ลดลง 13.9% รถเพื่อการพาณิชย์ 110,716 คัน ลดลง 39.0% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 96,343 คัน ลดลง 38.5%
ประเด็นสำคัญ
1. ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม มีปริมาณการขาย 40,539 คัน ลดลง 26.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 และเป็นปริมาณการขายที่ต่ำกว่าสถิติการขายตามฤดูกาล โดยตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการหดตัวที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ในขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 18.3% สูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการหดตัวของยอดขายรถยนต์ของโตโยต้า ซึ่งเป็นผลมาจากการรักษาสมดุลของยอดการผลิตเพื่อการขายในประเทศกับการส่งออก ส่งผลให้มียอดค้างจองในรถยนต์นั่งบางรุ่นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ประกอบกับการลดจำนวนการผลิตของรถยนต์นั่งขนาดกลางเพื่อรอการเปิดตัวรุ่นใหม่ จึงส่งผลให้ตลาดรถยนต์นั่งและตลาดรถยนต์รวมมีอัตราการเติบโตลดลง
2. ตลาดรถยนต์ 5 เดือนมีปริมาณการขาย 188,026 คัน ลดลง 30.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 39.0% และตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 13.9% ทั้งนี้ ตลาดรถยนต์ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา มีแนวโน้มของการหดตัวลดลง เป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมีแนวโน้มดีขึ้น ความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะรถยนต์นั่งยังคงมีอยู่มาก ประกอบความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและสถานการณ์การเมืองในประเทศ
3. สำหรับตลาดรถยนต์เดือนมิถุนายน คาดว่าจะมีปริมาณการขายดีขึ้น เนื่องจากตามสถิติการขายแล้วเดือนมิถุนายนจะมียอดขายสูงสุดของไตรมาสที่สอง ประกอบกับการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อเร่งส่งมอบรถค้างจองที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อยอดขายในเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ราคาน้ำมันที่มีแน้วโน้มเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดรถยนต์ได้
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2552
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 40,539 คัน ลดลง 26.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 16,222 คัน ลดลง 32.0% ส่วนแบ่งตลาด 40.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,371 คัน ลดลง 31.6% ส่วนแบ่งตลาด 20.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,621 คัน เพิ่มขึ้น 1.3% ส่วนแบ่งตลาด 18.8%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 17,361 คัน ลดลง 18.3%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 7,268 คัน เพิ่มขึ้น 8.2% ส่วนแบ่งตลาด 41.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 6,700 คัน ลดลง 39.9% ส่วนแบ่งตลาด 38.6 %
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 996 คัน ลดลง 0.9% ส่วนแบ่งตลาด 5.7%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 20,209 คัน ลดลง 30.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,597 คัน ลดลง 25.0% ส่วนแบ่งตลาด 42.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 7,858 คัน ลดลง 33.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,454 คัน ลดลง 27.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.2 %
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 18,076 คัน ลดลง 33.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 7,484 คัน ลดลง 33.5% ส่วนแบ่งตลาด 41.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 7,310 คัน ลดลง 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.4%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,454 คัน ลดลง 27.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.0 %
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 23,178 คัน ลดลง 31.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,522 คัน ลดลง 25.2% ส่วนแบ่งตลาด 41.1 %
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,371 คัน ลดลง 31.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,463 คัน ลดลง 28.4% ส่วนแบ่งตลาด 6.3 %
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — พฤษภาคม 2552
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 188,026 คัน ลดลง 30.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 76,490 คัน ลดลง 32.6% ส่วนแบ่งตลาด 40.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 40,406 คัน ลดลง 33.7% ส่วนแบ่งตลาด 21.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 32,647 คัน ลดลง 7.2% ส่วนแบ่งตลาด 17.4%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 77,310 คัน ลดลง 13.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 33,344 คัน ลดลง 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 43.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 30,991 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 2,592 คัน ลดลง 40.9% ส่วนแบ่งตลาด 3.4%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการ ขาย 96,343 คัน ลดลง 38.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 39,002 คัน ลดลง 38.1% ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 37,954 คัน ลดลง 34.3% ส่วนแบ่งตลาด 39.4%
อันดับที่ 3 นิสสัน 7,067 คัน ลดลง 44.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.3%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 9,760 คัน
โตโยต้า 5,575 คัน — มิตซูบิชิ 2,030 คัน - อีซูซุ 1,943 คัน — ฟอร์ด 212 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 86,583 คัน ลดลง 40.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 36,011 คัน ลดลง 33.7% ส่วนแบ่งตลาด 41.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 33,427 คัน ลดลง 40.9% ส่วนแบ่งตลาด 38.6%
อันดับที่ 3 นิสสัน 7,067 คัน ลดลง 44.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 110,716 คัน ลดลง 39.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 43,146 คัน ลดลง 37.9% ส่วนแบ่งตลาด 39.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 40,406 คัน ลดลง 33.7% ส่วนแบ่งตลาด 36.5%
อันดับที่ 3 นิสสัน 7,185 คัน ลดลง 45.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.5%