การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของโลกขึ้นอยู่กับแรงขับดันและการเจริญเติบโตของวงการอุตสาหกรรมการบินผลต่อระดับโลก

ข่าวทั่วไป Monday June 15, 2009 15:21 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 มิ.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ การจ้างงานกว่า50 ล้านงาน และ กว่า 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐของ จีดีพีโลก จะมาจากวงการอุตสาหกรรมการบินในปีพ.ศ. 2569 การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการบินเพียงแค่ร้อยละ 1 จากอัตราแนวโน้มที่เป็นอยู่เช่นปัจจุบันจะมีมูลค่าที่เกี่ยวข้องกับงานในวงการการบินถึง 6 ล้านงานและรวมเป็นมูลค่าจีดีพีถึง 600 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลระดับภูมิภาค-เอเชียแปซิฟิก ในอีก 20 ปีข้างหน้า เกือบ 20 ล้านงานในภูมิภาคเอเชียแปคซิฟิกจะ อยู่ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ในปัจจุบันภาคการขนส่งในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิคมีมูลค่าประมาณ 170 ล้านเหรียญสหรัฐ รายงานใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับ ผลทางสังคมและเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมการบินที่มีชื่อว่า “Aviation: The Real World Wide Web” ออกวางจำหน่าย ณ กรุงลอนดอนในวันนี้โดย Oxford Economics ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและทำนายอนาคตทางเศรษฐกิจ รายงานของ the Oxford Economics ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลของอุตสาหกรรมการบินที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลกและความมั่งคั่งของสังคม โดยในขณะเดียวกันก็พิจารณาว่าอะไรคือสิ่งสำคัญสำหรับแต่ละประเทศ ภูมิภาค เมือง ครอบครัวและชุมชน โดยรายงานได้พบว่า การขนส่งทางอากาศได้มีการจ้างงานคนมากว่า 5.5 ล้านคน และมีปริมาณมูลค่า 425 ล้าน เหรียฐสหรัฐของจีดีพีโลก ซีงมีมูลค่ามากกว่าสมาชิกของ จี20 จีดีพีของอุตสาหกรรมการบินมีมูลค่ามากกว่าหนึ่งครึ่งของอุตสาหกรรมยา (270 พันล้านเหรียญสหรัฐGDP) หรืออุตสาหกรรมสื่งทอ (286 พันล้านเหรียญสหรัฐGDP) และมากกว่า 3 เท่าของวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ ( 322พันล้านเหรียญสหรัฐGDP) โดยถ้ารวมกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและที่เกี่ยวข้องกับการบิน จะมีมูลค่าการจ้างงายถึง 33 ล้านงาน หรือ 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ของจีดีพี โดยประมาณร้อยละ 35 ของการขนส่งสินค้าทั้งหมด (โดยมูลค่า) ขนส่งด้วยทางอากาศ หรือมีมูลค่ากว่า 3.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมการบินสร้างมูลค่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐของจีดีพีทั้งหมดของทวีปแอฟริกา โดยมีการคาดคะเนว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีการจ้างงานจากภาคอุตสาหกรรมการบินถึง 5 ล้านงานในภูมิภาคนี้ ถ้าการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการบินต่ำกว่าปัจจุบันร้อยละ 1 ของอัตราปัจจุบัน จะมีสูญเสียงาน กว่า 6 ล้านงาน โดยจะเป็นในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค 2 ล้านงาน 1.5 ล้านงานในยุโรปและอเมริกาเหนือ 4 แสน-5 แสนงานในทวีปแอฟริกาและลาตินอเมริกา และมากว่า 20000 งานในภูมิภาคตะวันออกกลาง อุตสาหกรรมการบินมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากการกระตุ้นการขนส่งสินค้าและการลงทุนนานาชาติ การจ้างงานที่ยั่งยืนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นโดยบริษัทขนาดเล็กและธุรกิจเกษตรกรรมขนาดเล็กในประเทศกำลังพัฒนาที่พึ่งพาอุตสาหกรรมการบิน ( สามารถพบข้อมูล ในรายงานหน้า 81 สำหรับตัวอย่างของประเด็น 'food miles' หรือผลกระทบของประชาชนอาทิ กลุ่ม the Kinangop ในประเทศเคนยา สำหรับทุก 100 ล้านเหรียญสหรัฐที่ลงทุนในวงการอากาศยาน จะสร้างมูลค่าจีดีพีเพิ่มขึ้น 70ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากปีหนึ่งผ่านไป ปัจจุบันวงการอุตสาหกรรมอากาศยานปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ทั้งหมดร้อยละ 2 ของการปล่อยที่มนุษย์สร้างขึ้น และในปีพ.ศ. 2593 จะไม่มากกว่าร้อยละ 3 การเดินทางมากกว่า 1,500 กิโลเมตร ซึ่งไม่มีทางเลือกอื่น นับเป็นร้อยละ 80 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขณะที่การเจริญเติบโตลดลงจะส่งผลกระทบต่ออัตราการจ้างงานระดับโลก การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทางสังคม ในที่นี้มิได้หมายความว่าจะสามารถลดปริมาณของเสียที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมอื่นๆที่เข้ามาทดแทนหรือการขนส่งแบบอื่นเข้ามาแทนที่ (ซึกษาได้จากหน้า 54 ของรายงาน) แอนเดรีย คอปเปอร์ ผู้จัดการใหญ่ของ Oxford Economics ได้กล่าวแทน Oxford Economics เมื่อเสร็จสิ้นการจัดทำรายงานฉบับดังกล่าวและค้นพบว่า “เมื่อทำการวิเคราะห์เชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของวงการการบินในแต่ละอุตสาหกรรม เราจะยิ่งเข้าใจและเห็นความสำคัญของมัน การเจริญก้าวหน้าของแต่ละภาคธุรกิจทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาจะพบได้ว่าภาคการบินมีส่วนเกี่ยวข้องเสมอ ซึ่งแสดงเห็นได้ชัดว่าการก้าวหน้าของเศรษฐกิจโลกขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของภาคการบินด้วยเช่นกัน” “ขณะที่โมเดลทางเศรษฐศาสตร์ได้แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงที่สนับสนุนความคิดเห็นดังกล่าว ยังมีข้อได้เปรียบอื่นๆอีกมากที่ไม่สามารถวัดออกมาได้อย่างแน่ชัด แต่ในบางเรื่องอาทิ การเดินทางที่รวดเร็วจากอีกทวีปไปสู่อีกทวีป มันเป้นการชี้ถึงข้อสรุปในบทบาทความสำคัญของวงการอุตสาหกรรมการบินทีเพิ่มมาตรฐานในการดำรงชีวิตให้สูงขึ้น” ในรายงานได้ชี้ถึงประโยชน์ดังนี้ : ประชากรของโลดสามารถเดินทางโดยอากาศยานสามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยประชากรกว่า 2.5 พันล้านคนหรือ การขนส่งสินค้ากว่า 50 ล้านตันได้เกิดขึ้นทั่วโลกในทุกๆปี นอกเหนือจากประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การขนส่งทางอากาศได้เปลี่ยนแปลงการดำเนินการทางเศรษฐกิจของแต่ละสังคม ด้วยการทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ การแลกปลี่ยนสินค้าเกิดได้ง่ายขึ้น การแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านการวิจัย การพัฒนาและนวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้ผู้ใช้แรงงานในประเทศที่กำลังพัฒนานั้น มีรายได้ที่แน่นอนในขณะเดียวกันยังคงรักษาไว้ซึ่งสภาพท้องถิ่นเดิมและช่วยทำให้ประชาชนตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป รายงานคงชี้แจงเรื่องผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่เกิดโดยวงการการบิน โดยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่สำคัญที่ประชาชนบยโลกจะได้รับ โดยกรณีศึกษาเป็นตัวอย่างอธิบายถึงต้นทุนที่แท้จริงในการจำกัดการเจริญก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการบิน แต่ก็ได้ให้ทางเลือกอื่นๆที่เป็นไปได้ โดยทางแก้ไขของ Oxford Economics คือ การสร้างนโยบายที่ยั่งยืนที่เป็นกลางระหว่างวงการการบินและผลกระทบต่อการเจริญเติบโต รายงานจัดทำโดย แอร์บัส ซึ่งมีสายการบินบริทิช แอร์เวย์ส และ อีซี่ย์ เจ็ท สนับสนุน แต่ผลของรายงานนั้นเป็นไปตามความ แอนเดรีย คอปเปอร์ ผู้จัดการใหญ่ของ Oxford Economics กล่าวs “ผลสรุปและข้อมูลในรายงานเป็นที่ยอมรับเพราะการใช้โมเดลทางเศรษฐศาสตร์อธิบาย และด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญของ Oxford Economics ในเรื่องวงการอุตสาหกรรมการบิน เราพิจารณาทั้งในแง่ ประสิทธิภาพ ผลผลิต การค้า การติดต่อ การลงทุน การท่องเที่ยว และคุณภาพชีวิต และสิ่งที่สำตัญที่สุดคือการอธิบายด้วยกรณีศึกษาเพื่อใช้อธิบายประโยชน์ที่ประชาชนในแต่ละซีกโลกได้รับ” Oxford Economics เป็นสถาบันวิจับอิสระระดับโลกด้วยคุณภาพที่สูง การวิเคราะห์เชิงปริมาณและกรณีศึกษาทางธุรกิจและคำแนะนำทางนนโยบายสาธารณะ สามารถเยี่ยมชมบทความในรูปแบบเต็มที่: www.oxfordeconomics.com/free/pdfs/oeaviationweb09.pdf ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ เดชาวุธ วุฒิศิลป์ +66 2 260 5820 ต่อ 120

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ