กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันต้องยอมรับว่า Digital Content โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อบันเทิงในรูปแบบซอฟต์แวร์เกมได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ซึ่งสื่อในรูปแบบนี้ มีทั้งประเภทที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Personal Computer (PC) และNotebook) ที่เล่นได้ทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์, โทรศัพท์เคลื่อนที่, โทรศัพท์เคลื่อนที่ แบบ PDA และ PHP, เครื่อง Console, เครื่อง Arcade หรือเกมตู้ที่เรามักจะเห็นตามห้างสรรพสินค้า และที่สำคัญซอฟต์แวร์เกมเหล่านี้ได้กลายเป็นสินค้าที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก
ทางสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมและได้การให้การสนับสนุนกับผู้พัฒนาเกมต่างๆ มาโดยตลอด แต่กระนั้นการพัฒนาเกมของไทย ยังเป็นลักษณะเป็นแบบกระจัดกระจาย คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่ามีผู้พัฒนาเกมไทยที่ความสามารถในการพัฒนาเกมได้อย่างมีคุณภาพในระดับสากลอยู่ในประเทศได้ และที่สำคัญบุคลากรที่จะมาพัฒนาเกมของไทยค่อนข้างมีจำกัด
ด้วยเหตุนี้การจัดการแข่งขันพัฒนาเกมไทย ภายใต้โครงการ “SIPA Game Contest 2009” ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันครั้งที่ 1 จึงได้ถูกจัดขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเวทีแจ้งเกิดให้กับนักพัฒนาเกมของไทยรุ่นใหม่ฯ รวมทั้งเป็นสื่อกลางระหว่าง เจ้าของบริษัทเกมต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้พัฒนาเกมไทย ผู้พัฒนาเกมอิสระ ผู้พัฒนาเกมในด้านต่างๆ นักศึกษาและผู้ที่สนใจในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกม เพื่อนำไปสู่การทำธุรกิจ รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายของผู้พัฒนาเกมไทยได้อย่างดี เพื่อให้การแข่งขันดูเข้าถึงมวงชนในวงกว้างที่ไม่จำกัดเฉพาะนักพัฒนาทางด้านโปรแกรมมิ่งและการออกแบบเท่านั้น และเพื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่างนักพัฒนาเกม ผู้เล่นเกม และผู้ปกครอง การจัดการแข่งขันครั้งนี้ จึงได้นำแนวคิดและขั้นตอนในการพัฒนาเกมในรูปแบบการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกัน มาใช้ในการจัดการแข่งขัน โดยการจัดการแข่งขันตามประเภทต่างๆ อาทิเช่น พีซีเกม (PC Game) ซึ่งเล่นได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) และแบบพกพก (Notebook) :ซึ่งเล่นได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์, เกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Game), เกมโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ PDA และ PHP ที่เรียกว่า Hand Held, เกม Console สำหรับเครื่อง PSP, เครื่อง Xbox และเกม Arcade โดยผู้ที่ชนะเลิศ จะต้องนำผลงานได้รับรางวัลชนะเลิศ ไปต่อยอดและจัดทำให้เสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากได้รับรางวัล และผลงานที่สำเร็จไปแสดงและจัดจำหน่ายจริงต่อไป
2. วัตถุประสงค์โครงการ
1. เป็นเวทีการแข่งขันเพื่อส่งเสริมให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับประเทศในอุตสาหกรรมเกม
2. กระตุ้นให้เกิดการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ เพิ่มจำนวนมากขึ้นในแต่ละปี
3. กระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เพื่อเป็นการสร้างรากฐานอุตสาหกรรมให้แข็งแรงและเติบโตยิ่งขึ้น
4. สนับสนุนเงินทุนในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นการขยายตลาดด้านเกม
5. ส่งผลให้เกิดการจ้างงานจำนวนมากขึ้น และยกระดับมาตรฐานความรู้ความสามารถของบุคลากรที่อยู่ในตลาดแรงงานของอุตสาหกรรมเกม
6. เพื่อยกระดับการผลิตผลงานทางด้านแอนิเมชั่นให้ออกสู่ตลาดอุตสาหกรรมทั้งภายในประเทศและตลาดโลก
3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับประเทศในอุตสาหกรรมเกม
2. การจัดการแข่งในแต่ละปีจะมีผลงานที่มีคุณภาพเพิ่มจำนวนมากขึ้น
3. มีจำนวนผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้รากฐานของอุตสาหกรรมแข็งแกร่งขึ้น
4. เกิดการจ้างงาน ภายใต้การจ้างงานในอุตสาหกรรมเกม
5. ผลงานที่มีคุณภาพที่เทียบเท่าระดับสากล และเพิ่มศักยภาพในการจำหน่ายออกสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ
4. ประเภทการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 4 Platform ได้แก่
1. PC Games
2. Mobile Games
3. Online Games
4. Console Games
5. กลุ่มเป้าหมาย / ตัวชี้วัด
เป้าหมายของโครงการฯ (แบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ประเภท)
- ระดับนักเรียนนักศึกษา
- ระดับบุคคลทั่วไป
ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี
โทร. 0 2554 0446