KTAMพักกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ เดินหน้าขาย RollOverในประเทศ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 24, 2009 15:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--กรุงไทย นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในรอบสัปดาห์นี้ บริษัทเปิดจำหน่าย 2 กองทุน ตราสารหนี้ในประเทศ ซึ่งเป็นกองทุนเภท Roll Over ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทยประจำ 3 เดือนคุ้มครองเงินต้น1 ( KTFIX3M1) และกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ท อินเวส 6เดือน3 ( KTSIV6M3) โดย KTFIX3M1 เป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรภาครัฐในประเทศ และเงินฝากธนาคารพาณิชย์ อายุโครงการ 3 เดือน มูลค่า 2,000 ล้านบาท เปิดจำหน่ายตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2552 โดยกองทุนจะลงทุนในพันธบัตรภาครัฐในประเทศ 98% และเงินฝากของธนาคารสินเอเชีย จำกัด(มหาชน) 2 % ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ส่งผลให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทน0.75% ต่อปี ส่วนกองทุน KTSIV6M3 เป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน และเงินฝากสถาบันการเงิน อายุโครงการ6 เดือน มูลค่า 2,000 ล้านบาท เปิดจำหน่ายถึงวันที่ 26 มิถุนายนนี้ โดยกองทุนจะลงทุนในเงินฝากธนาคารสินเอเชีย และธนาคารเกียรตินาคิน 25% หุ้นกู้ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด 25% และตั๋วแลกเงินของ บมจ. สวนอุตสาหกรรมโรจนะ และบจ.น้ำตาลมิตรผล บริษัทละ 25% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนประมาณการที่ 1.50% ต่อปี ซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนผู้ลงทุนจะไม่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ ที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ จะเปิดจำหน่ายอีกครั้งประมาณวันที่ 8-14 กรกฎาคม เป็นกองทุนที่มีอายุโครงการ 2 ปี ซึ่งปัจจุบัน การลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ ยังให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอัตราผลตอบแทนมีโอกาสที่จะลดลงได้เมื่อสถานการณ์เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ โดยเฉพาะเมื่อมีสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว และที่ผ่านมามีเงินไหลเข้าเอเชียโดยเฉพาะเกาหลีใต้ในระดับสูง นายสมชัย กล่าวถึง ภาวะการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ในประเทศ ว่า ที่ผ่านมาตลาดมีการคาดการณ์ถึงภาวะเศรษฐกิจที่แสดงสัญญาณดีขึ้น ( Bottom out) แต่ยังไม่ชัดเจนว่าลักษณะการฟื้นตัวจะยั่งยืนหรือไม่ ดังนั้น จึงทำให้คาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจะคงอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน ไว้ที่ 1.25% ต่อปี หากพิจารณาจาก Demand & Supply นับจากต้นปีที่อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้อยู่ในระดับต่ำ จึงทำให้ความต้องการลงทุนในตราสารหนี้ลดลง และเมื่อเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น นักลงทุนจึงเริ่มหันกลับไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง( Risky Asset) มากขึ้นเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ในขณะเดียวกัน รัฐบาลดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ภาครัฐต้องก่อหนี้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณพันธบัตรเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรุ่นอายุไม่เกิน 5 ปี กลยุทธ์การลงทุน ตราสารหนี้ บริษัทปรับลดความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย โดยการทยอยลด portfolio Duration ตามจังหวะตลาด และเน้นลงทุนในตราสารที่ให้ผลตอบแทนรวม ( Total Return ) ในระดับที่เหมาะสม พร้อมทั้งทยอยลงทุนในตราสาหรนี้ภาคเอกชนระยะสั้นที่ประเมินสถานะการเงินแล้วว่ามีความมั่นคง เพื่อสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม ( Spread)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ