กรุงเทพฯ--25 มิ.ย.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
ประธานฝ่ายเทคโนโลยีชี้แนวทางการวิจัยที่มุ่งเน้นความสำคัญของการผลักดันให้เกิดการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในทุกกลุ่ม
จากงานนิทรรศการ Research Intel Day ที่จัดขึ้นเป็นประจำปีทุกปี ณ เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนียประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น ได้จัดแสดงส่วนหนึ่งของแนวคิดและนวัตกรรมแห่งอนาคตกว่า 40 โครงงาน ซึ่งครอบคลุมในเรื่องต่างๆ อันได้แก่ เทคโนโลยีสำหรับสิ่งแวดล้อม อินเทอร์เน็ตแบบ 3D ระบบไอทีสำหรับองค์กร รวมทั้งเทคโนโลยีโมบิลิตี้แบบไร้สาย นอกจากนั้นอินเทลยังได้เปิดตัวเว็บไซต์ที่เปิดให้ผู้สนใจทดลองใช้งาน (beta) โดยผู้ใช้งานสามารถเล่น “point, counterpoint” ได้ เพียงส่งข้อความที่พบบนระบบออนไลน์ เพื่อทดสอบความเท็จจริงของข้อความดังกล่าว
นอกจากนี้ผู้เข้าชมงานดังกล่าว ยังได้พบกับสองนักวิจัยคนเก่งได้แก่ อาเจย์ บัทท์ ซึ่งเป็นผู้ที่ร่วมคิดค้นประดิษฐ์ยูเอสบี ที่ได้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆเข้ากับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันและ โจชัว สมิทธ์ ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีส่งผ่านพลังงานแบบไร้สายและหุ่นยนต์ ซึ่งนักวิจัยทั้งสองท่านยังรับบทบาทเป็นตัวเอกให้กับโฆษณาชุดใหม่ล่าสุดที่มีชื่อว่า “Rock Star” ที่อยู่ภายใต้แคมเปญทางการตลาดล่าสุดที่มีชื่อว่า “Sponsors of Tomorrow” ของอินเทลอีกด้วย
จัสติน แรทเนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินเทลกล่าวว่า “ผมหวังว่าผู้เข้าร่วมงานทุกท่านจะได้พบและพูดคุยกับร็อคสตาร์จากห้องทดลองของอินเทล ซึ่งสิ่งที่เหล่านักวิจัยกำลังมุ่งมั่นพัฒนาในทุกวันนี้ ในที่สุดแล้วจะช่วยให้วิทยาการคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในอนาคตเป็นไปอย่างรวดเร็ว ง่ายดาย เปี่ยมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมทั้งให้ผลลัพธ์ที่สำคัญต่อชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของผู้คนในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน”
แรทเนอร์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับอาวุโส ซึ่งทำหน้าที่ทั้งรองประธานและผู้อำนวยการห้องทดลองของอินเทล ได้ร่วมบรรยายถึงกำหนดการและลำดับของความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการทำวิจัยภายในห้องทดลองของอินเทลในเร็วๆ นี้ สิ่งที่เหล่านักวิจัยกำลังทำการค้นคว้าในวันนี้มีเป้าหมายคือการพัฒนาผลลัพธ์ที่จะเป็นไปได้และปรับให้สอดคล้องกับแนวทางการเติบโตขององค์กรในด้านต่างๆ ของบริษัท เช่น โมบิลิตี้ การประมวลผลด้วยภาพ เทคโนโลยีการออกแบบแบบซิสเต็ม-ออน-ชิป (System-on-chip: SOC) ซึ่งเป็นการนำเอาการทำงานด้านต่างๆ ของคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมารวมไว้ในชิปเพียงตัวเดียว โดยหน่วยงานใหม่ของอินเทลที่เรียกว่าห้องทดลองของอินเทลนี้ จะบ่งชี้ถึงโอกาสในการเดินเกมด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีที่แปรเปลี่ยนไป รวมทั้งการค้นพบล้ำสมัยใหม่ๆ ในด้านต่างๆ ดังที่กล่าวมา
ทั้งนี้ ภายในงานยังจัดแสดงนวัตกรรมการวิจัยใหม่ๆ รวมทั้งการสาธิตถึงโครงงานต่างๆ ที่ครอบคลุมถึงเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานของอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตแบบพกพา ประสบการณ์การเชื่อมต่อแบบแท้จริง โมบิลิตี้และระบบไอทีองค์กรอีกด้วย
การพัฒนาภายในห้องทดลองของอินเทล จะทำให้อุปกรณ์อุปกรณ์โมไบล์อินเทอร์เน็ต(Mobile Internet Devices หรือ MIDs) และสมาร์ทโฟนที่ใช้ อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ (Intel Atom processor) สามารถนำเสนอเทคนิคใหม่ๆ ได้ในอนาคต
เมื่อปีที่แล้วในนิทรรศการเดียวกันนี้ ได้มีการนำเสนอผลการวิจัยที่มีชื่อว่า แพลตฟอร์ม พาวเวอร์ แมเนจเมนท์ (Platform Power Management หรือ PPM) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการบริหารจัดการพลังงานที่เป็นพื้นฐานของความสำเร็จของแพลตฟอร์ม “มอรส์ทาวน์” (Moorestown) ซึ่งเป็นชื่อรหัสของสมาชิกใหม่ในตระกูลอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ที่มุ่งเน้นสำหรับรองรับการใช้งาน MID และในงานนี้นอกจากแรทเนอร์แล้วยังมีทิกกี้ ทักการ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารและผู้อำนวยการด้านสถาปัตยกรรมแพลตฟอร์มของกลุ่มอัลตร้าโมบิลิตี้กรุ๊ป ที่มาร่วมเผยให้ทราบถึงงานวิจัยชิ้นนี้ว่าได้ช่วยให้สามารถลดการใช้พลังงานในช่วงที่แพลตฟอร์มไม่มีการใช้งานได้มากถึง 50 เท่า เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มที่ใช้อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์รุ่นปัจจุบัน โดยผลลัพธ์ที่ได้คืออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ยาวนานมากขึ้น
ทั้งนี้ เทคนิคในการลดการใช้พลังงานนี้ โดยพื้นฐานแล้วเป็นที่มาของความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ โดยเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีบทบาทหลักในการลดการใช้พลังงาน และด้วยวิธีการใหม่ดังกล่าวนี้ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จะนำแนวทางการใช้พลังงานใหม่ๆ ที่ระบบ ปฏิบัติการกำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ในการบริหารจัดการการใช้พลังงาน โดยใช้เวลาที่น้อยกว่ามากและมีความละเอียดของถี่ถ้วนมากขึ้น คอมพิวเตอร์จะสามารถลดการใช้พลังงานได้อย่างรวดเร็ว และชาญฉลาดมากขึ้น หรือแม้แต่การปรับเข้าสู่ภาวะใช้พลังงานต่ำของระบบในขณะที่ไม่ได้ใช้งาน เช่นเดียวกับ wireless radio หรือระบบย่อย input / output (I/O Subsystem) และกลับเข้าสู่ภาวะการใช้พลังงานปกติเมื่อต้องการใช้งาน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์การใช้งาน ซึ่งเทคโนโลยี PMP นี้อาจสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของอินเทลในอนาคต ตั้งแต่อุปกรณ์ MIDs ไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูงเลยก็เป็นได้
Dispute Finder: มั่นใจมากขึ้นว่าจริงหรือเท็จ
ในปัจจจุบัน “เว็บไซต์” จัดว่ามีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “ข่าวสารข้อมูล” มากขึ้น และแม้ว่าข้อมูลส่วนใหญ่จะมีประโยชน์ แต่อาจมีบางส่วนที่จัดว่าเป็นเท็จ สร้างความเข้าใจผิดหรือไม่เป็นกลางได้ Dispute Finder เป็นความพยายามในการทำวิจัยจากห้องทดลองของอินเทลที่ยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้น ที่จะช่วยให้เหล่านักท่องอินเตอร์เน็ตสามารถกรองข้อมูลที่ขัดแย้งกันได้ง่ายดายยิ่งขึ้น
ขณะที่ผู้ใช้งานกำลังอ่านบทความข่าวออนไลน์ บล็อก หรือ เว็บไซต์ ก็จะมีข้อความอธิบายแสดงขึ้นมาทันที เพื่อเน้นย้ำให้เห็นว่าพบข้อมูลจากเว็บอื่นที่ขัดแย้งกับข้อมูลที่กำลังอ่านอยู่หรือไม่ เมื่อผู้ใช้งานคลิกไปยังข้อความอธิบายที่ไฮไลท์ ตัวอย่างเช่นข้อความว่า “การดื่มไวน์วันละแก้วจะดีต่อสุขภาพ” ก็จะพบว่ามีกราฟข้อมูลของข้อโต้แย้ง ที่แสดงให้เห็นแหล่งที่มาของข้อมูลอีกด้านหนึ่ง โดยผู้ใช้งานเองจะเป็นผู้สร้างทุกๆ การกล่าวอ้างและหลักฐาน ในลักษณะเดียวกับการทำงานของวิกิพีเดีย (Wikipedia) และได้รับการเก็บรักษาไว้ใน ฐานข้อมูลกลาง (central venue) แบบออนไลน์ที่ทุกคนสามารถร่วมกันสร้างได้
อนาคตของอินเทอร์เน็ต: สัมผัสกับประสบการณ์การใช้งานที่มีภาพมากขึ้นและตัวอักษรน้อยลง
ในขณะที่มีการพัฒนาโปรเซสเซอร์ของอินเทลให้มีจำนวนคอร์เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ฝ่ายทีมวิจัยจากห้องทดลองของอินเทลเชื่อว่าการเปลี่ยนเข้าสู่เทคโนโลยีการประมวลผลแบบคู่ขนาน (Parallel Computing) อย่างแท้จริง จะนำไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ตในอนาคตที่มีการใช้ภาพกราฟฟิกแบบสามมิติเพิ่มมากขึ้น และใช้ตัวอักษรน้อยลง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสัมผัสประสบการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบสมจริงมากยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยีแสดงผลด้วยภาพ (Visualization) แบบ 3 มิติที่สมจริงเป็นพิเศษ และอินเตอร์เฟซที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ลองนึกถึงเว็บไซต์ท่องเที่ยวที่คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของคุณ เช่น มหานครนิวยอร์กได้มากกว่าเดิม ก่อนที่คุณจะไปถึงที่นั่นจริงๆ ดังนั้นนอกจากจะสามารถเดินทางไปรอบๆ ห้องพักในโรงแรมแบบเสมือนจริงได้แล้ว ผู้ใช้ยังสามารถเค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น ย่านไทมส์สแควร์ โรงแรม และโรงภาพยนตร์บริเวณใกล้เคียง หรือแม้แต่ลองเดินไปยังเส้นทางแบบเสมือนจริงเพื่อให้ทราบระยะห่างจากโรงแรมได้อีกด้วย
โดยในขั้นแรกอินเทลได้เริ่มสร้างแบบจำลองโลกในระบบอินเทอร์เน็ตแบบ 3 มิติที่เหมือนจริงก่อน โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ไซน์ซิม (ScienceSim) โดยในโลกจำลองดังกล่าวเป็นสถานที่ในโลกอินเทอร์เน็ตที่นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างสรรค์การจำลองแบบเสมือนจริงในแบบออนไลน์ พร้อมทั้งทำงานร่วมกันได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยสมรรถภาพของระบบที่มีอยู่ แนวความคิดดังกล่าวนี้จะทำให้การวิจัยพัฒนาไปได้มากขึ้นด้วยการเทคโนโลยีการใช้ภาพในการแสดงผล ในลักษณะเดียวกับแบบจำลองของขอบชายฝั่งและกระแสน้ำ เพื่อศึกษาผลที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
สร้างสรรค์อินเทอร์เน็ตที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นได้ด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานทั่วไป
นักออกแบบระบบอินเทอร์เน็ตในช่วงแรกๆ อาจคาดไม่ถึงว่าอินเทอร์เน็ตจะได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จอย่างน่าเหลือเชื่อ ทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตที่ออกแบบมาให้ต้องอาศัยอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่มีความสามารถเฉพาะสูง และบ่อยครั้งที่ได้รับการรองรับด้วยเข้ารหัสแบบตายตัว (hard coded) เพื่อให้กับชุดความสามารถในการค้นหากลุ่มข้อมูลที่ได้กำหนดไว้ก่อนแล้ว จึงเป็นความท้าทายสำหรับผู้ที่มีความต้องการใช้งานในด้านแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่มีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว นักวิจัยของ อินเทล จึงได้นำเสนอ เรท์เตอร์ บริกส์ (Router Bricks) ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่ใช้งานง่ายแต่มากด้วยประสิทธิภาพ ที่จะช่วยให้สามารถสร้างระบบเครือข่ายด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานทั่วไปแทนที่จะใช้เครื่องมือเฉพาะด้าน ซึ่งมีการนำโซลูชั่นดังกล่าวมาสาธิตประสิทธิภาพในการสร้างอุปกรณ์เราท์เตอร์ความเร็วสูงโดยเป็นการทำงานของอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้อินเทลTM ซีออนTM โปรเซสเซอร์ และใช้ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส ซึ่งเทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยให้นักเขียนโปรแกรมระบบในอนาคตจะสามารถสร้างโปรแกรมฟังก์ชั่นการใช้งานของเราท์เตอร์ใหม่ได้ โดยใช้คอมพิวเตอร์ธรรมดาเป็นแพลตฟอร์ม โดยไม่ต้องเสียเวลารอให้มีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เราท์ติ้งที่มีคุณสมบัติการใช้งานเฉพาะขึ้นมาซึ่งอาจใช้เวลาอีกหลายปีในการพัฒนาให้เสร็จสมบูรณ์
เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล (NASDAQ:INTC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรมซิลิกอน สร้างสรรค์เทคโนโลยี สินค้า รวมทั้งการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างต่อเนื่อง ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทลได้ที่ www.intel.com/th, www.intel.com/pressroom และ blogs.intel.com
Intel Microelectronics (Thailand) Ltd.
87 M. Thai Tower, 9th Floor
All Seasons Place, Wireless Road, Lumpini
Tel: (662) 648-6000
Patumwan, Bangkok 10330
Fax: (662) 654-0666 Thailand
ติดต่อ:
คุณดรรชนีพร พฤกษ์วัฒนานนท์ คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: dudchaneeporn.pruckwattananon@intel.com e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk
หากท่านมีข้อสงสัย หรือ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่าวประชาสัมพันธ์นี้ กรุณาติดต่อ
คุณนิดา ภู่วนิชย์ หรือ คุณสายวรุณ ถิรนันท์รุ่งเรือง โทรศัพท์หมายเลข 02-627-3501 ต่อ 108 หรือ 213
อีเมล npuwanich@carlbyoir.com หรือ saiwaroon@carlbyoir.com
Waree Poonsitthisak
Receptionist / Admin
Hill & Knowlton Thailand
T: +66 (0) 2627 3501
F: +66 (0) 2627 3510
M: +66(0) 89443 1166
wpoonsitthisak@th.hillandknowlton.com