กรุงเทพฯ--2 ก.ค.--วีม คอมมูนิเคชั่น
ประเด็นสำคัญในการลงทุนทองคำแท่ง (Gold SPOT)
ปัจจัยสำคัญด้านพื้นฐาน — ราคาทองคำในวันนี้จะยังคงผันผวนสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในเขตเอเชีย สหรัฐและยูโรโซนปรับตัวดีขึ้น ได้ช่วยหนุนความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น (ดูข่าวสารสำคัญเพื่อการลงทุนในหน้าถัดไป)
กรอบการเคลื่อนไหวเชิงเทคนิคราคาทองคำแท่ง (Gold SPOT)
Daily
30 Min
ปัจจัยสำคัญด้านเทคนิคระยะสั้น — Directional Indices บ่งบอกว่าตลาดระยะสั้นเป็นขาขึ้น, MACD 30 นาทีตัดเส้น Trigger จากด้านบนทำให้ดูว่าราคาจะเคลื่อนตัวลง, MACDF อยู่ในแดนลบทำให้ราคาดูเป็นขาลง, Fast Stochastic เคลื่อนตัวขึ้นทำให้ดูราคาเป็นบวกอยู่ในช่วงต้นของวัน, RSI 30 นาทีอยู่ที่ระดับ 55.808 ถือเป็นระดับ Neutral และไม่บ่งบอกถึงทิศทางที่ชัดเจน, ทิศทางตลาดระยะสั้นดูเป็นตลาด Sideways ระหว่างแนวรับแนวต้านที่ $928-$949 ส่วนค่าเงินบาทในวันนี้อยู่ที่ระดับ ฿33.94-฿34.13
ปัจจัยสำคัญด้านเทคนิคระยะกลาง - ADX < 20 บ่งบอกว่าตลาดระยะกลางยังขาดทิศทางที่ชัดเจน, RSI อยู่ที่ระดับ 54.324 ถือเป็นระดับ Neutral และไม่บ่งบอกถึงทิศทางที่ชัดเจน, MACD เคลื่อนตัวอยู่ใกล้ 0 แสดงถึงตลาด Sideways, MACDF เคลื่อนตัวอยู่ใกล้ 0 แสดงถึงตลาด Sideways, Fast Stochastic แสดงถึงตลาด Sideways, ทิศทางตลาดระยะกลางยังคงดูเป็นตลาด Sideways โดยจะใช้แนวต้านที่ $960 เป็นต้านระยะกลางที่สำคัญและแนวต้านราคาระยะกลางต่อไปอยู่ที่ $990 ส่วนแนวรับระดับกลางอยู่ที่ $912
ตาราง 3 : แนวรับ-แนวต้านที่สำคัญ
Source: YLG’s estimations
พิจารณาตารางที่ 3 และกราฟด้านซ้ายมือ พบว่าราคาทองคำแท่งที่ร้านค้าปลีกปิดล่าสุด (เส้นสีแดง = 15,100 บาท) ซึ่งต่ำกว่าราคาทองคำแท่ง (SPOT) ในตลาดโลกเช้านี้ (เส้นสีน้ำเงิน = 15,240 หรือที่ $941.00) แสดงถึงราคาทองคำแท่ง ณ. หน้าร้านขายปลีก มีส่วนลดจากราคาในตลาดโลก อยู่ 140 บาท ขณะที่ราคาของ GFQ09 เมื่อวานนี้ปิดตลาดอยู่ที่ 15,440 บาท จะมีพรีเมี่ยมจากราคาในตลาดโลก อยู่ราว 200 บาท ซึ่งมากกว่าที่ร้านค้าปลีก ดังนั้น การเปิดสถานะขาย (Short) GFQ09 แล้ว ซื้อ (Long) ทองคำแท่งที่ร้านทอง จะทำให้มีส่วนต่างของกำไรที่คาดหวัง อยู่ที่ 140+200 = 340 บาทต่อทองคำแท่ง 1 บาท จึงยังคงคุ้มค่ากับค่าคอมมิชชั่น (ประมาณ 120 บาทต่อ 1 บาททอง) ในการหากำไรจากส่วนต่างราคาได้ในวันนี้
ข่าวสารสำคัญเพื่อประกอบการลงทุน
ปัจจัยบวก
ภาวะเศรษฐกิจจีน — ดัชนีผู้จัดการของจีนขยับขึ้นมาที่ 53.2 จาก 53.1 ในเดือนก่อนหน้า บ่งบอกถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น จากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลราว 5.85 แสนล้านดอลลาร์และการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นมากของธนาคารในจีน ซึ่งส่งผลให้หลายสำนักในสหรัฐปรับเพิ่มประมาณการเติบโตของ GDP ใน 2Q09 ของจีนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 0.4% - 0.9% ส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนลง หลังนักลงทุนในภูมิภาคนี้ต้องการเสี่ยงมากขึ้น โดยการขายเยนแล้วเข้าซื้อยูโรกับดอลลาร์
ภาวะเศรษฐกิจออสเตเลีย — ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้นมาที่ 1% ในเดือน พ.ค. จาก 0.3% ในเดือน เม.ย. และเป็นการเพิ่มขึ้นราว 2 เท่าจากที่คาดไว้ที่ 0.5% โดยเป็นการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในห้างสรรพสินค้าและที่ร้านอาหาร หลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 9.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐของรัฐบาลเริ่มออกฤทธิ์ควบคู่ไปกับการลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางออสเตเลีย ส่งผลให้ IMF มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มอัตราการเติบโตเศรษฐกิจ (GDP) ของออสเตเลียใน 2Q09 และความเชื่อมั่นผู้บริโภคในออสเตเลียพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 22 ปีในเดือน มิ.ย. ขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจก็เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 ปีอีกด้วย ส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนลง หลังนักลงทุนในภูมิภาคนี้ต้องการเสี่ยงมากขึ้น โดยการขายเยนแล้วเข้าซื้อยูโรกับดอลลาร์
ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น — ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่สำหรับไตรมาส 2Q09 ในญี่ปุ่นออกมา -48 ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ -43 แต่ก็ดีขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้าที่ -58 ขณะที่ดัชนีวัดเงินลงทุนใหม่ๆ ออกมา -9.4% แย่กว่าที่คาดไว้ที่ -6.9% จากไตรมาสแรกที่ -6.6% หลังผู้ผลิตเตรียมลดรายจ่ายและการลงทุนลงอีก ทำให้ความเชื่อมั่นเรื่องเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น นักลงทุนจึงมีปฏิกิริยาต่อตัวเลขที่ออกมา โดยการเพิ่มการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจยูโรโซน — GDP 1Q09 ของอังกฤษลดลง -2.4% QoQ และลดลง -4.9% YoY ซึ่งเป็นการลดลงมากกว่าที่คาดไว้ที่ -2.1% QoQ และ -4.3% YoY ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคในเขตยูโรโซนลดลง -0.1% YoY น้อยกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลง -0.2% จึงเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ายังไม่มีสัญญาณของภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่ภาคการผลิตของยูโรโซนชะลอการลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน + ยอดสั่งซื้อใหม่หดตัวในอัตราที่ชะลอลง แสดงว่ายูโรโซนจะหดตัวน้อยกว่าคาดในไตรมาส 2 นอกจากนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของยูโรโซน ได้เพิ่มขึ้นมาที่ 42.6 ในเดือนมิ.ย. ที่อยู่ที่ 40.7 ในเดือนพ.ค. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 42.4 แต่ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งแบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและหดตัว ได้ส่งผลให้ยูโรแข็งค่าขึ้นได้
ค่าเงินดอลลาร์ — ดอลลาร์อ่อนค่าลง +$0.0111 เมื่อเทียบเงินยูโร มาที่ $1.4144 จากที่ปิด $1.4033 เมื่อวันก่อนหน้า หลังนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นทั้งในสหรัฐ ญี่ปุ่นและยุโรป หลังได้เศรษฐกิจจีนและออสเตเลียเป็นตัวนำ ทำให้นักลงทุนได้ปรับเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ขณะที่เช้านี้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น -$0.0012 มาที่ $1.4132 ต่อยูโร
ค่าเงินบาท — ค่าเงินบาทปิดอ่อนค่าลง +1 สต. มาอยู่ที่ 34.05 บาทต่อดอลลาร์ จากที่ปิด 34.04 บาทต่อดอลลาร์เมื่อวันก่อนหน้า หลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้าแทรกแซง เพื่อชะลอการแข็งค่า ไม่ให้ต่ำกว่า 34.00 บาท เชื่อว่าในระยะยาวยังจะแข็งค่าผ่านระดับดังกล่าวได้” โดยเช้านี้เงินบาทอ่อนลงอีก +1 สต. มาที่ 34.06 บาทต่อดอลลาร์ และมีแนวรับสำคัญที่ 33.94 บาทและ 34.84 บาทตามลำดับ ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 34.13 บาทและ 34.22 บาท
ปัจจัยลบ
ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ — ยอดค้าปลีกของห้างขนาดใหญ่ในสหรัฐขยายตัว +1.6% WoW แต่ยอดค้าปลีกของร้านค้าที่เป็น Chain Store กลับหดตัวลง -4.3% WoW ซึ่งมากกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าที่หดตัว -4.2% WoW ส่วนดัชนีราคาบ้านล่าสุด -18.12% บ่งบอกถึงราคาบ้านที่ลดลงอย่างมากในช่วงก่อนหน้าเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นและเป็นการลดลงน้อยกว่าคาดที่ -18.55% จากงวดก่อนหน้าที่ลดลง -18.7% ขณะที่ดัชนีวัดความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐกลับลดลงมาที่ 49.30 จากที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาที่ 57.00 และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 54.90 สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการจัดซื้อที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดมาที่ 39.9 แต่ยังเพิ่มขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 34.90 ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ แม้ว่าต่ำกว่าระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ 17 เดือนติดต่อกันก็ตาม ขณะที่สถาบันเพื่อการบริหารจัดการชัพพลาย (ISM)ได้รายงานตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นมาที่ 44.8 ในเดือนมิ.ย.จาก 42.8 ในเดือน พ.ค. ได้ช่วยกลบผลสำรวจตัวเลขการจ้างงานอันน่าผิดหวังจากภาคเอกชนของสหรัฐฯได้มีการปลดพนักงานอีกถึง 4.73 แสนตำแหน่ง
ราคาน้ำมัน — ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน ส.ค. ร่วงลง -$0.62 มาปิดที่ $69.31 ต่อบาร์เรล หลัง รมว.น้ำมันของคูเวตเผยว่าตลาดน้ำมันมีปริมาณล้นตลาดและอุปสงค์ยังอ่อนแอ พร้อมทั้งยังไม่แน่ใจว่า โอเปก จะปรับเพิ่มการผลิตในอนาคตอันใกล้ + คลังน้ำมันเบนซิน เพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ด้านคลังน้ำมันกลั่นสำรอง ในจำนวนนั้นรวมไปถึงดีเซล เพิ่มขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรล ขณะที่ปริมาณสำรองน้ำมันดิบเท่านั้นที่ลดลง -3.7 ล้านบาร์เรล ขณะที่เช้านี้ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน ส.ค.ขยับขึ้น +$0.29 มาอยู่ที่ $69.60 ต่อบาร์เรล
กองทุนทองคำ — SPDR กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. 30 มิ.ย.52 ลดลงราว 5.19 ตันจากวันก่อนหน้า รวมถือทองคำไว้ทั้งสิ้น 1,120.55 ตัน เทียบเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.36 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 36.03 ล้านออนซ์
ปัจจัยที่ต้องเฝ้าติดตาม
ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ — สหรัฐจะประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร + อัตราการว่าง + ผู้ขอรับสวัสดิการใหม่ + ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานและปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในคืนนี้
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) — ตลาดรอดูผลการซื้อคืนพันธบัตรอายุที่เหลือไม่เกิน 5 ปี ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะมีการซื้อคืนราว 6 หมื่นล้านยูโร (8.4 หมื่นล้านดอลลาร์) ในเดือนนี้ + การประชุมกำหนดดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 2 ก.ค.นี้
ปฏิทินการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ
Source : Bloomberg
หมายเหตุ : ข้อมูลที่นำเสนอในรายงานดังกล่าว นี้เป็นเพียงความคิดเห็นซึ่งนำเสนอโดย บริษัท YLG Bullion International จำกัด โดยบริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบใดๆ จากความเสียหายที่เกิดจากการใช้รายงานหรือข้อความจากรายงานฉบับนี้
ข้อมูลจาก YLG ศูนย์รับซื้อ-ขายทองคำแท่ง มาตรฐาน LBMA 653/14
ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ปากซอย 9) แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
Tel: 0-2287-1155, 0-2677-5520 Fax: 0