กรุงเทพฯ--8 ก.ค.--วีม คอมมูนิเคชั่น
ประเด็นสำคัญในการลงทุนทองคำแท่ง (Gold SPOT)
ปัจจัยสำคัญด้านพื้นฐาน — วันนี้ราคาทองคำจะยังคงผันผวนสูงและมีแนวโน้มลดลงได้อีก หลังความเชื่อมั่นเรื่องการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจถดถอยลงในสหรัฐและยูโรโซน นักลงทุนเริ่มทบทวนลดความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลง แล้วเข้าซื้อพันธบัตร เงินดอลลาร์และเงินเยนในฐานะแหล่งลงทุนที่ปลอดภัยมากขึ้น
กรอบการเคลื่อนไหวเชิงเทคนิคราคาทองคำแท่ง (Gold SPOT)
ปัจจัยสำคัญด้านเทคนิคระยะสั้น — Directional Indices บ่งบอกว่าตลาดระยะสั้นยังขาดทิศทางที่ชัดเจน, MACD 30 นาทีอยู่ในแดนลบทำให้ราคาดูเป็นขาลง, MACDF อยู่ในแดนลบทำให้ราคาดูเป็นขาลงในช่วงต้นของวัน, Fast Stochastic เคลื่อนตัวขึ้นจากข้างล่างเส้น Trigger ทำให้ดูราคาเป็นบวกอยู่ในช่วงต้นของวัน, RSI 30 นาทีอยู่ที่ระดับ 31.301 ถือเป็นระดับ oversold อยู่เส็กน้อยและทำให้ดูราคาเป็นบวก, ทิศทางตลาดระยะสั้นดูเป็นตลาด Sideways-up ระหว่างแนวรับแนวต้านที่ $919-$930 ส่วนค่าเงินบาทในวันนี้อยู่ที่ระดับ ฿33.99-฿34.16
ปัจจัยสำคัญด้านเทคนิคระยะกลาง - ADX < 20 บ่งบอกว่าตลาดระยะกลางยังขาดทิศทางที่ชัดเจน, RSI อยู่ที่ระดับ 38.0956 ถือเป็นระดับ oversold อยู่เส็กน้อยและทำให้ดูราคาเป็นบวก, MACD เคลื่อนตัวอยู่ใกล้ 0 แสดงถึงตลาด Sideways, MACDF เคลื่อนตัวอยู่ใกล้ 0 แสดงถึงตลาด Sideways, Fast Stochastic เคลื่อนตัวลงทำให้ราคาดูลง, ทิศทางตลาดระยะกลางยังคงดูเป็นตลาด Sideways โดยจะใช้แนวต้านที่ $960 เป็นต้านระยะกลางที่สำคัญและแนวต้านราคาระยะกลางต่อไปอยู่ที่ $990 ส่วนแนวรับระดับกลางอยู่ที่ $912
ราคาทองคำแท่งที่ร้านค้าปลีกปิดล่าสุด (เส้นสีแดง = 15,150 บาท) ซึ่งสูงกว่าราคาทองคำแท่ง (SPOT) ในตลาดโลกเช้านี้ (เส้นสีน้ำเงิน = 14,960 หรือที่ $922.70) แสดงถึงราคาทองคำแท่ง ณ. หน้าร้านขายปลีก มีพรีเมี่ยมจากราคาในตลาดโลก อยู่ 190 บาท ขณะที่ราคาของ GFQ09 เมื่อวานนี้ปิดตลาดอยู่ที่ 15,350 บาท จะมีพรีเมี่ยมจากราคาในตลาดโลก อยู่ราว 390 บาท ซึ่งมากกว่าที่ร้านค้าปลีก ดังนั้น การเปิดสถานะขาย (Short) GFQ09 แล้ว ซื้อ (Long) ทองคำแท่งที่ร้านทอง จะทำให้มีส่วนต่างของกำไรที่คาดหวัง อยู่ที่ 390-190 = 200 บาทต่อทองคำแท่ง 1 บาท จึงยังคงคุ้มค่ากับค่าคอมมิชชั่น (ประมาณ 120 บาทต่อ 1 บาททอง) ในการหากำไรจากส่วนต่างราคาได้ในวันนี้
ข่าวสารสำคัญเพื่อประกอบการลงทุน
ปัจจัยบวก
ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ — ดัชนีผลผลิตภาคบริการเพิ่มขึ้นมาที่ 47% มากกว่าที่คาดไว้ที่ 46% และเพิ่มขึ้นถึง 3% จากที่ 44% ในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ถึงการหดตัวน้อยกว่าคาด (ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ถึงการหดตัว) หลังมียอดสั่งซื้อและการจ้างงานเพิ่มขึ้น
การประชุม G-8 (8-10 ก.ค.52) — จีนจะหยิบยกประเด็นข้อเสนอเรื่องสกุลเงินสำรองของโลกสกุลใหม่ขึ้นหารือในการประชุม กลุ่มจี-8 ในสัปดาห์หน้า โดยจีนหวังว่าจะเพิ่มความหลากหลายของระบบสกุลเงินระหว่างประเทศในอนาคต ทั้งนี้นักการธนาคารคาดว่า 70% ของทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่จีนมีอยู่ 1.95 ล้านล้านดอลลาร์นั้นอยู่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์
ค่าเงินบาท — ค่าเงินบาทปิดทรงตัว มาอยู่ที่ 34.10 บาทต่อดอลลาร์ จากที่ปิด 34.10 บาทต่อดอลลาร์เมื่อวันก่อนหน้า เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาว โดยเช้านี้เงินบาทอ่อนค่าลง +3 สต. มาอยู่ที่ 34.13 บาทต่อดอลลาร์ และมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีก หลังดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมาก โดยมีแนวรับสำคัญที่ 33.99 บาทและ 33.93 บาทตามลำดับ ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 34.16 บาทและ 34.27 บาท
ธนาคารกลางเกาหลี — เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางเกาหลีเผยเตรียมเข้าซื้อสะสมทองคำเพิ่มในรอบ 11 ปี ในปีหน้า หลังเกาหลีมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่เป็นทองคำเพียง 14.3 ตันหรือราว 0.03% เท่านั้น รั้งอันดับที่ 56 ของโลก
ราคาน้ำมันเฉลี่ย (7/7/09) — Merrill Lynch ปรับเพิ่มประมาณการราคาเฉลี่ยน้ำมันในปี 2009 เพิ่มขึ้นเป็น $58.50 จากเฉลี่ย $52 และปรับราคาเฉลี่ยในปี 2010 เพิ่มเป็น $75 จาก $62 โดยราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะสูงถึง $82 ในช่วงไตรมาส 4/10 เนื่องจากอุปทานน้ำมันนอกกลุ่ม OPEC เพิ่มขึ้นอย่างกำจัด ขณะที่อุปทานส่วนเกินของกลุ่ม OPEC ก็จะเหลือน้อยลงด้วย
ภาวะเศรษฐกิจเยอรมัน (7/7/09) — ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของเยอรมันพุ่งขึ้น 4.4% MoM ในเดือน พ.ค. มากว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ที่ 0.5% เกือบ 10 เท่า หลังยอดส่งออกเพิ่มขึ้นมาก ได้สร้างความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลับคืนมาได้บ้าง
ปัจจัยลบ
ค่าเงินดอลลาร์ — ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมา -$0.0058 เมื่อเทียบเงินยูโร มาที่ $1.3916 จากที่ปิด $1.3974 เมื่อวันก่อนหน้า หลังตัวเลขความเชื่อมั่นนักลงทุนในเขตยูโรโซนลดลงมาที่ -31 มากกว่าที่คาดไว้ที่ -25 จาก -27 ในเดือนก่อนหน้า + ตลาดคาดผลประกอบการไตรมาส 2/09 ของบริษัททั่วโลกจะลดต่ำลง ทำให้ความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกลับมามากขึ้น + ยุโรปได้เริ่มซื้อคืนพันธบัตรตามแผนการซื้อคืนรอบเดือนนี้ราว 6 หมื่นล้านยูโรแล้ว + ธนาคารกลางญี่ปุ่นเผยแม้ตัวเลขเศรษฐกิจญี่ปุ่นดีขึ้น แต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในญี่ปุ่นยังคงรุนแรง ความเป็นไปได้ที่จะลดการจ้างงานและลดการลงทุน ยังคงจะดำเนินต่อไป และสุดท้ายอินเดียได้ขยายงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดได้คาดไว้มาก ทำให้นักลงทุนเชื่อว่าการอินเดียจะถูกลดความน่าเชื่อถือในไม่ช้า ได้เสริมให้นักลงทุนออกจากสินทรัพย์เสี่ยงและกลับเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัยทั้งเงินเยน เงินดอลลาร์และพันธบัตรรัฐบาล ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินยูโร แม้ตัวเลขภาคบริการสหรัฐที่ออกมามากกว่าคาดไว้มาก + การเข้าซื้อคืนพันธบัตรของ FED + การที่อินเดียเข้าร่วมกับจีนและรัสเซียในการออกมาย้ำถึงการพึ่งพาเงินดอลลาร์มากเกินไปและเรียกร้องให้ทบทวนการใช้ดอลลาร์ พร้อมหาเงินสกุลใหม่แทน ทำให้เงินดอลลาร์อ่อนลงได้บ้าง แต่นักลงทุนก็ยังคงลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ขณะที่เช้านี้ดอลลาร์ยังแข็งค่าขึ้นอีก -$0.0019 มาที่ $1.3897 ต่อยูโร หลังความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและผลประกอบการของภาคเอกชนสหรัฐที่กำลังจะออกมาได้เพิ่มความน่าสนใจในฐานะ แหล่งลงทุนที่ปลอดภัยของทั้งเยนและดอลลาร์
ราคาน้ำมัน — ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน ส.ค. ร่วงลง -$1.13 มาปิดที่ $62.93 ต่อบาร์เรล หลังความไม่มั่นใจต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจกลับมา + อุปสงค์ที่อ่อนแอลงและปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินและน้ำมันกลั่นที่เพิ่มขึ้นมาก + ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกดิ่งลง แม้กลุ่มกบฏไนจีเรียจะโจมตีท่อส่งน้ำมันและเข้ายึดเรือส่งน้ำมันก็ตาม ทำให้อุปทานน้ำมันดิบลดลง ก็ยังไม่สามารถทำให้ราคาน้ำมันกลับขึ้นมาเป็นบวกได้ ขณะที่เช้านี้ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน ส.ค.ร่วงลงต่ออีก -$0.73 มาอยู่ที่ $62.20 ต่อบาร์เรล คาดว่าคืนนี้สหรัฐจะประกาศตัวเลขปริมาณสำรองน้ำมันดิบอาจลดลง 2.4 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 ก.ค., ปริมาณสำรองน้ำมันกลั่นอาจเพิ่มขึ้น 2.0 ล้านบาร์เรล และปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินอาจเพิ่มขึ้น 6 แสนบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจลดลง 0.1%
กองทุนทองคำ — SPDR กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. 7 ก.ค.52 ลดลง -0.36 ตันจากวันก่อนหน้า รวมถือทองคำไว้ทั้งสิ้น 1,120.19 ตัน เทียบเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.33 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 36.015 ล้านออนซ์
US CFTC (7/7/09) — คณะกรรมการควบคุมการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าเตรียมออกกฎเพื่อควบคุมการเข้าเก็งกำไรของนักลงทุนในตลาดอนุพันธ์ทั้งน้ำมันล่วงหน้า ดัชนีล่วงหน้าและกองทุนต่างๆ ซึ่งอาจจะควบคุมในแง่ของการจำกัดปริมาณสัญญาที่ถือครอง
ภาวะเศรษฐกิจอังกฤษ (7/7/09) — ยอดผลผลิตอุตสาหกรรมร่วงลง -0.5% MoM สวนทางกับนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราว 0.2% ก่อนที่ธนาคารกลางอังกฤษจะตัดสินใจในอีก 2 วันข้างหน้าว่าจะยังคงแผนอัดฉีดเงินเข้าระบบต่ออีกหรือไม่
ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น (8/7/09) — ญี่ปุ่นเผยตัวเลขยอดสั่งซื้อเครื่องจักรร่วงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยลดลงอีก 3% จากเดือน เม.ย. ที่ร่วงลง 5.4% สวนทางกับนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ก่อนหน้าว่าจะเพิ่มขึ้นราว 2% ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มขยายความฃ่วยเหลือด้านสินเชื่อออกไปอีก หลังบริษัทต่างๆ ยังคงมีปัญหาในการขอสินเชื่อ
อุปสงค์ + อุปทาน (7/7/09) — อินเดียมีแผนเพิ่มภาษีนำเข้าทองคำแท่งเพิ่มราว 2 เท่า เพื่อชดเชยรายได้ให้กับรัฐบาล หลังอินเดียขยายงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นมาก โดยในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้นำเข้าทองคำทั้งสิ้น 51.8 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีการนำเข้าราว 115 ตัน
ปัจจัยที่ต้องเฝ้าติดตาม
ธนาคารกลางอังกฤษ — เตรียมขอการสนับสนุนจากรัฐบาลในการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ โดยการพิมพ์แบงก์ใหม่ เพื่อเพิ่มการซื้อคืนพันธบัตรเป็น 1.5 — 2.0 แสนล้านปอนด์ หรือเพิ่มขึ้นจากแผนการก่อนหน้าราว 2.5 — 7.5 หมื่นล้านปอนด์ ในการกระตุ้น GDP เพิ่มเติม หลังหดตัวมากถึง -2.4% ในไตรมาส 1/09
ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ (7/7/09) — เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเตรียมเสนอประธานาธิบดีให้ออกแผนกระตุ่นเศรษฐกิจรอบ 2 โดยมุ่งเน้นไปที่การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หลังแผนกระตุ้นรอบแรกราว 7-8 แสนล้านดอลลาร์ ดูเหมือนจะน้อยเกินไป
ปฏิทินการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ