จุฬาฯ ทึ่งหลังบินดูงาน Nestl? Research Center สิงคโปร์ มุ่งค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมควบคุมคุณภาพอาหารอย่างจริงจังเพื่อผู้บริโภค

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday November 21, 2006 16:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 พ.ย.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
หลังจากที่นักศึกษารั้วจุฬาฯ คว้าแชมป์การแข่งขันตอบปัญหาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร FoSTAT — Nestl? Quiz Bowl 2006 ไปได้ไม่นาน ก็มีโอกาสบินลัดฟ้าไปดูงานที่ Nestl? Research Center ศูนย์วิจัยและพัฒนาระดับภูมิภาคของเนสท์เล่ ณ ประเทศสิงคโปร์ ด้วยแรงสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาไทยได้เก็บเกี่ยวความรู้และสั่งสมประสบการณ์จากศูนย์วิจัยฯ แหล่งที่เปรียบเสมือนโรงงานขนาดย่อมที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกอย่าง ครบครัน เพื่อต่อยอดแนวคิดด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพเพื่อผู้บริโภค
คุณมนธชา สุดอำพัน ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า “เนสท์เล่ ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำ พร้อมก้าวเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมผลักดันด้านบุคลากรของไทยในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่ง จึงสนับสนุน FoSTAT - Nestl? Quiz Bowl ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อต่อยอดแนวคิดและสร้างความมั่นใจให้กล้าคิดกล้าตัดสินใจ ให้ก้าวเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในวงการอุตสาหกรรมอาหารต่อไป”
ในปี 2549 ทีมชนะเลิศที่ได้ศึกษาดูงาน Nestl? Research Center ณ ประเทศสิงคโปร์ คือ ทีมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยนายกิตติเดช ไตรอนันต์วุฒิกุล น.ส.สุธาวัลย์ เจริญประเสริฐ น.ส.ฐิตินาถ เลิศสุคนธรส น.ส.กรรณิการ์ สุธีรารักษ์ และ ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ อาจารย์ที่ปรึกษาภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทีมนิสิตจุฬาฯ เล่าให้ฟังว่า “พวกเรามีโอกาสเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของฝ่าย Research & Development ซึ่งแบ่งเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกเครื่องปรุงรส และห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ และชมฝ่าย Research & Development ในส่วนการผลิตจำลอง (pilot plant) และห้องปฏิบัติการของฝ่าย Quality Assurance ในการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ของเนสท์เล่ในแถบเอเชีย”
ดร. ขนิษฐา กล่าวว่า “จากการเยี่ยมชม Nestl? Research Center ทั้ง 2 ส่วน คือ Research & Development และ Quality Assurance ทำให้นิสิตเห็นถึงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากห้องปฏิบัติการ สู่ระบบการผลิตจำลอง และการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ รวมทั้งทำให้นิสิตได้เห็นถึงเทคนิคและเครื่องมือวิเคราะห์สมบัติทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพของอาหารที่ทันสมัยมากมาย ซึ่งไม่สามารถหาชมได้ในห้องปฏิบัติการทั่วไป และยังทราบถึงหลักการวิเคราะห์ของเครื่องมือบางประเภท ทำให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมคุณภาพอาหารและวัตถุดิบมากขึ้น นับว่าเป็นประโยชน์แก่นิสิตอย่างมาก ในแง่ของการเปิดมุมมองให้นิสิตได้เห็นถึงระบบการทำงาน และวิสัยทัศน์ของบริษัทที่เป็นผู้นำในการผลิตอาหารระดับโลกอย่างเนสท์เล่”
คุณมนธชา กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับเนสท์เล่แล้ว ส่วนสำคัญของการผลิตอาหารระดับอุตสาหกรรม มิได้มีเพียงแค่การควบคุมกระบวนการผลิตจริงในโรงงานเท่านั้น หากแต่ต้องเริ่มต้นจากกระบวนการค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ มีความพร้อมทั้งในด้านนักวิจัยที่มีความสามารถและเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน และยังต้องมีระบบควบคุมคุณภาพ ที่ดี ทั้งคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่วางจำหน่ายแก่ผู้บริโภค โดยปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ การลงทุนในส่วนเครื่องมือวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสูง เนสท์เล่เล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้เป็นอย่างมาก และนับเป็นความรับผิดชอบอย่างสูงต่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นไปตามปณิธาน Good Food, Good Life เน้นถึงความสำคัญของคุณภาพอาหาร ที่จะต้องมีทั้งความปลอดภัยและคุณค่าทางโภชนาการที่ดีแก่ผู้บริโภค”
อุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยนั้น ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคตอีกยาวไกล ขอเพียงความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนเข้ามาสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในด้านเทคโนโลยีการผลิต บุคลากร ตลอดจนการจัดจำหน่าย คงจะไม่นานเกินรอที่สินค้าคุณภาพของไทย จะกลายเป็นที่ประจักษ์แก่สายตานานาชาติบนเวทีการค้าระดับโลก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
กุนธิรา ณัฐวัฒนานนทน์ / บริษัท พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส จำกัด
โทรศัพท์ 0 2651 8989 ต่อ 332 โทรสาร 0 2651 9649-50
อีเมล์ khuntira@prassociates.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ