กรุงเทพฯ--17 ก.ค.--โตโยต้า มอเตอร์
มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยสถิติการขายรถยนต์ในครึ่งปีแรกของปี พ.ศ.2552 มีปริมาณทั้งสิ้น 231,428 คัน ลดลง 28.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คาดครึ่งปีหลังสถานการณ์ตลาดหดตัวน้อยลง พร้อมปรับเป้าหมายการขายลง คาดตลาดรถยนต์รวมมีปริมาณการขาย 480,000 คัน
มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กล่าวว่า “ตลาดรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกนั้น ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากวิกฤติการณ์การเงินโลกที่ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยหดตัว ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้ตลาดรถยนต์มีอัตราเติบโตลดลง 28% ปริมาณการขายรวม 231,428 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 96,056 คัน และรถเพื่อการพาณิชย์ 135,372 คัน โดยเป็นรถกระบะขนาด 1 ตันในเซกเม้นท์นี้ 117,696 คัน ในช่วงครึ่งปีแรก ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราหดตัว 13% ขณะที่รถกระบะขนาด 1 ตัน มีอัตราการหดตัวมากถึง 35.3% เป็นผลมาจากการหดตัวของการลงทุนและราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ”
สถิติการขายรถยนต์ ตั้งแต่เดือนมกราคม — มิถุนายน 2552
ตลาดรถยนต์รวม 231,428 คัน ลดลง 28.0%
รถยนต์นั่ง 96,056 คัน ลดลง 13.0%
รถเพื่อการพาณิชย์ 135,372 คัน ลดลง 35.9%
รถกระบะขนาด 1 ตัน 117,696 คัน ลดลง 35.3%
“สำหรับปริมาณการขายของโตโยต้านั้น ลดลงด้วยเช่นกัน โดยมียอดขายรวม 95,334 คัน ลดลง 29.9 % แบ่งออกเป็นรถยนต์นั่ง 41,541 คัน และรถเพื่อการพาณิชย์ 53,793 คัน และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเม้นท์นี้ 48,678 คัน โดยมีส่วนแบ่งตลาด 43.2% และ 39.7% และ 41.4% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามโตโยต้ายังครองอันดับ 1 ในด้านการขายในทุกตลาด”
“ในด้านการส่งออกรถยนต์ของเราใน 6 เดือนแรก มีปริมาณส่งออกทั้งสิ้น 102,179 คัน ลดลง 33% การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่เป็นจำนวน 10,255 คอนเทนเนอร์ รวมมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 65,000 ล้านบาท ลดลง 24% เป็นผลกระทบจากวิกฤติการณ์การเงินโลก
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า 6 เดือนแรกของปี 2552
ปริมาณการขาย 95,334 คัน ลดลง 29.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.2 %
รถยนต์นั่ง 41,541 คัน ลดลง 23.1% ส่วนแบ่งตลาด 43.2%
รถเพื่อการพาณิชย์ 53,793 คัน ลดลง 34.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.7%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 48,678 คัน ลดลง 34.7% ส่วนแบ่งตลาด 41.4 %
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 41,827 คัน ลดลง 37.9% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
สำหรับแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในช่วงหลังของปี 2552 มร.ทานาดะ กล่าวว่า “วิกฤติการณ์การเงินโลก และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ ดังเช่นต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากยอดขายรถยนต์ 6 เดือนที่ผ่านมานั้น จะพบว่าตลาดรถยนต์มีอัตราการหดตัวน้อยลง และจะเป็นแรงบวกต่อเนื่องในช่วงเวลาที่เหลือ คาดว่าตลาดรถยนต์ในปีนี้ จะมีอัตราการเติบโตลดลงประมาณ 22% ปริมาณการขาย 480,000 คัน ลดลงจากการประมาณการเมื่อตอนต้นปี 7.7% โดยแบ่งออกเป็นรถยนต์นั่ง 202,000 คัน ลดลง 10.9% เนื่องจากยังคงมีความต้องการในรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ในขณะที่ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ 278,000 คัน ลดลง 28.4% รวมถึงรถกระบะขนาด 1 ตันในเซกเม้นท์นี้ 241,000 คัน ลดลง 27.8% ทั้งนี้ การชะลอตัวของภาวะเศษฐกิจ ยังคงส่งผลลบต่อเนื่องต่อตลาดรถเพื่อการพาณิชย์และตลาดรถกระบะมากกว่าตลาดรถยนต์นั่ง”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ ประจำปี 2552
ปริมาณการขายรวม 480,000 คัน ลดลง 22%
รถยนต์นั่ง 202,000 คัน ลดลง 10.9%
รถเพื่อการพาณิชย์ 278,000 คัน ลดลง 28.4%
ด้านเป้าหมายการขายและการส่งออกของโตโยต้า มร.ทานาดะ กล่าวว่า “ในปี2552 โตโยต้า ตั้งเป้าหมายการขายไว้ที่ 205,000 คัน ลดลง 21.8% คาดว่าจะครองส่วนแบ่งตลาด 42.7% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 90,500 คัน ส่วนแบ่งตลาด 44.8% และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 114,500 คัน ส่วนแบ่งตลาด 41.2% โดยเป็นรถกระบะไฮลักซ์ วีโก้และฟอร์จูนเนอร์ 104,000 คัน ส่วนแบ่งตลาด 43.2% ในด้านการส่งออกเราตั้งเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปไว้ที่ 222,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 96,600 ล้านบาท และชิ้นส่วนอะไหล่มูลค่า 40,000 ล้านบาท รวมมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 136,600 ล้านบาท ลดลง 25.4%”
ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้า ปี 2552
ปริมาณการขายรวม 205,000 คัน ลดลง 21.8% ส่วนแบ่งตลาด 42.7 %
รถยนต์นั่ง 90,500 คัน ลดลง 15.3% ส่วนแบ่งตลาด 44.8%
รถเพื่อการพาณิชย์ 114,500 คัน ลดลง 26.3% ส่วนแบ่งตลาด 41.2 %
“เรายังคงมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการขายของเราในปีนี้ โดยให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องในการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ซึ่งประสบความสำเร็จโดยได้รับรางวัล เจ ดี พาวเวอร์ จากผลการสำรวจความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าด้านบริการถึง 2 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้ เราให้ความสำคัญต่อกิจกรรมลดต้นทุน และจัดกิจกรรมการตลาดอย่างเข้มข้นต่อเนื่องในการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ของเรา อาทิ คัมรี ไฮบริดใหม่ที่จะเปิดตัวในปลายเดือนกรกฏาคมนี้ และที่สำคัญ เรายังคงให้การส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและประโยชน์ต่อสังคมไทย”
“เราจะให้ความสนับสนุนแก่รัฐบาลในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศษฐกิจเพื่อสร้างความมั่นใจและอำนาจซื้อให้กับผู้บริโภค ตลอดจนมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมถึงการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยี ไฮบริดที่จะมาช่วยกระตุ้นตลาด ทั้งนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ยังคงมีความแข็งแกร่งและเคยผ่านสถานการณ์ที่ตลาดตกลงในช่วงครึ่งปีแรกมาแล้ว การปรับเป้าหมายการขายของโตโยต้าและอุตสาหกรรมยานยนต์ในครั้งนี้ พิจารณาจากสถานการณ์ตลาดที่เกิดขึ้น และมองเห็นสัญญาณที่ดี อาทิ ราคาน้ำมันที่ไม่ผันผวน และคาดว่า ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตันจะฟื้นตัว และความมั่นใจของผู้บริโภคจะมีมากขึ้น” มร.ทานาดะ กล่าวในที่สุด
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนมิถุนายน 2552
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 43,402 คัน ลดลง 13.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 18,844 คัน ลดลง 16.2% ส่วนแบ่งตลาด 43.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,452 คัน ลดลง 17.4% ส่วนแบ่งตลาด 19.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,320 คัน ลดลง 8.0% ส่วนแบ่งตลาด 16.9%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,746 คัน ลดลง 8.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,197 คัน ลดลง 17.6% ส่วนแบ่งตลาด 43.7%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 6,803 คัน ลดลง 7.1% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 1,237 คัน เพิ่มขึ้น 21.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.6%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 21,353 คัน ลดลง 15.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,676 คัน ลดลง 16.5% ส่วนแบ่งตลาด 45.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 7,920 คัน ลดลง 18.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,363 คัน เพิ่มขึ้น 20.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,126 คัน
โตโยต้า 1,276 คัน — มิตซูบิชิ 419 คัน - อีซูซุ 405 คัน — ฟอร์ด 26 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 19,227 คัน ลดลง 20.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,400 คัน ลดลง 21.9% ส่วนแบ่งตลาด 43.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 7,515 คัน ลดลง 19.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,363 คัน เพิ่มขึ้น 20.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.1%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 24,656 คัน ลดลง 16.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,647 คัน ลดลง 15.2% ส่วนแบ่งตลาด 43.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,452 คัน ลดลง 17.4% ส่วนแบ่งตลาด 34.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,425 คัน เพิ่มขึ้น 21.8% ส่วนแบ่งตลาด 5.8 %
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — มิถุนายน 2552
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 231,428 คัน ลดลง 28.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 95,334 คัน ลดลง 29.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 48,858 คัน ลดลง 31.4% ส่วนแบ่งตลาด 21.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 39,967 คัน ลดลง 7.3% ส่วนแบ่งตลาด 17.3%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 96,056 คัน ลดลง 13.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 41,541 คัน ลดลง 23.1% ส่วนแบ่งตลาด 43.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 37,794 คัน เพิ่มขึ้น 0.8% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 3,829 คัน ลดลง 29.1% ส่วนแบ่งตลาด 4.0%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการ ขาย 117,696 คัน ลดลง 35.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 48,678 คัน ลดลง 34.7% ส่วนแบ่งตลาด 41.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 45,874 คัน ลดลง 32.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน 8,430 คัน ลดลง 39.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 11,886 คัน
โตโยต้า 6,851 คัน — มิตซูบิชิ 2,449 คัน - อีซูซุ 2,348 คัน — ฟอร์ด 238 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 105,810 คัน ลดลง 38.0%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 43,526 คัน ลดลง 31.6% ส่วนแบ่งตลาด 41.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 41,827 คัน ลดลง 37.9% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 3 นิสสัน 8,430 คัน ลดลง 39.2% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 135,372 คัน ลดลง 35.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 53,793 คัน ลดลง 34.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 48,858 คัน ลดลง 31.4% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 8,610 คัน ลดลง 39.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%