เจ้าของธุรกิจในประเทศจีนมีทัศนคติในเชิงบวก(Optimistic) ต่อแนวโน้มการเติบโต มากกว่าประเทศอื่นใดในโลก แต่ทางนักธุรกิจในประเทศไทยมีความกังวลดังนี้

ข่าวทั่วไป Wednesday April 12, 2006 09:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 เม.ย.--แกรนท์ ธอนตัน
เจ้าของธุรกิจในประเทศจีนมีทัศนคติในเชิงบวก(Optimistic) ต่อแนวโน้มการเติบโต มากกว่าประเทศอื่นใดในโลก แต่ทางนักธุรกิจในประเทศไทยมี
ความกังวลดังนี้
เริ่มกังวลต่อจีนในเรื่องการแข่งขันภายในประเทศและเงินทุนในการขยายกิจการ
จากการสำรวจ ประมาณ 1 ใน 5 ของธุรกิจ เป็นการนำเข้าจากจีน
ผู้นำทางธุรกิจไทยกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจ อันเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
ผลการวิจัยแสดงว่าธุรกิจในประเทศจีนเติบโตรุดหน้าอย่างรวดเร็วในปี 2006
ผลการสำรวจขององค์กรวิจัยอิสระอันแรกต่อเจ้าของธุรกิจในประเทศจีนแสดงว่า บรรดาเจ้าของธุรกิจชาวจีน เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่มีความ
มั่นใจต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ ด้วยตัวเลขบาลานซ์ +79 % (จากตารางที่ 1) ทั้งนี้มีเพียง 3 ประเทศ จากการสำรวจ 30 ประเทศ คือ อินเดีย ไอร์แลนด์
แอฟริกาใต้ ที่มีทัศนในแง่บวกทางเศรษฐกิจ มากกว่าจีน
ตารางที่ 1: ทัศนะที่ดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ ใน 12 เดือนข้างหน้า
ที่มา : Grant Thornton International Business Owners Survey 2006
ตารางแสดงเปอร์เซ็นต์ ค่าบาลานซ์ ระหว่างทัศนะที่ดี ต่อ ไม่ดี
แต่หากถามในแง่การเติบโตด้านการค้าอย่างรวดเร็ว ในปี 2006 จีนอยู่ระดับสูงสุดในตาราง ด้วยตัวเลขบาลานซ์ +86 % ซึ่งนับเป็นประเทศที่มี
ทัศนะในเชิงบวก(optimistic)สูงสุดในการสำรวจเรื่องนี้
ข้อบ่งชี้ทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติอีกอันหนึ่ง แสดงว่า “ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ” ในจีน ไม่ได้เกิดแค่กับธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น แต่หยั่ง
ลึกลงไปถึงระดับพื้นฐาน — เช่นธุรกิจขนาดกลาง ซึ่งมีผลงานในระดับดีเยี่ยม ดังต่อไปนี้
ธุรกิจขนาดกลางในจีน ต่างมั่นใจมากต่อการส่งออกในปีต่อไป ผลการสำรวจแสดงตัวเลข บาลานซ์ +26% ซึ่งจีนเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่มีความ
มั่นใจสูงสุด จากการสำรวจ 30 ประเทศ
ทัศนเรื่องการจ้างงาน อยู่ในระดับดีมาก ผู้ตอบการสำรวจ 49% เชื่อว่าจะมีการจ้างงานที่สูงขึ้น
การลงทุนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย 58% มีแนวโน้มจะลงทุนด้านตึกก่อสร้าง และ 53% ลงทุนด้านโรงงานและเครื่องจักรกล
ผลการวิจัยแสดงว่า 40% ขอธุรกิจขนาดกลางในจีน ทำการส่งออก ซึ่งตัวเลขนี้ใกล้เคียงกับ ทาง อียู (สหภาพยุโรป) นาฟตา (อเมริกา แคนาดา
เม็กซิโก) และค่าเฉลี่ยทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เปอร์เซ็นต์ซึ่งมากกว่า 1/4 ของยอดการส่งออก คือ 45% ซึ่งต่ำกว่าของอียู
อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจรู้สึกหนักใจในการจะขึ้นราคา ซึ่งคาดไว้จะขึ้นถึง 16% ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในนาฟตา และ อียู
นายเกเบรียล อเซโด ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเซียแปซิฟิค แกรนท์ ธอนตัน อินเตอร์เนชันแนล กล่าวว่า “ผลวิจัยระบุว่า ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจใน
จีน ไม่ได้เอื้อประโยชน์แค่กับธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น แต่รวมลงไปถึงบรรดาบริษัทขนาดกลางด้วย ผลวิจัยยังระบุว่า เจ้าของธุรกิจในจีน ต่างมีทัศนที่
ดี(optimistic)ต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่ยังกังวลเกียวกับความสามารถในการขยายกิจการ ใครจะรู้ว่านี่อาจคือสัญญาณแรกที่บอกว่า จีนอาจจะไม่สามารถ
บรรลุเป้าหมาย การเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกได้ ในปี 2050”
ปัญหาภายใต้สถานการณ์นี้
แม้ว่าเจ้าของธุรกิจในประเทศจีนจะแสดงทัศนะที่ดี(optimistic) แต่ทว่าก็ยังมีข้อกังวลในเรื่องการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ข้อจำกัดด้านการขยายธุรกิจ
ตารางที่ :ข้อจำกัดด้านการขยายธุรกิจ
ต้นทุนด้านการเงิน การขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน การขาดแคลนเงินทุนระยะยาว กฎเกณฑ์/ ความล่าช้า จำนวนแรงงานที่มีทักษะ ยอดสั่งชิ้อลดลง
การจัดอันดับของจีน 4 2 5 15 9 4
เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามในจีนที่หนักใจ* 39 39 32 34 37 44
เปอร์เซ็นต์ผู้ตอบทั่วโลกที่หนักใจ* 21 22 19 35 32 29
* เปอร์เซ็นต์ผู้ตอบ เรตติ้งความหนักใจที่ 4 หรือ5 โดยที่ 1น้อยสุด และ 5 มากสุด
ที่มา : Grant Thornton International Business Owners Survey 2006
มีสัดส่วนสูงของธุรกิจขนาดกลางในจีน ที่กังวลในเรื่องปัจจัยการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกังวลติดระดับสูงของโลก
ในลิสต์ 30 ประเทศ จีนอยู่ลำดับที่ 4ในเรื่อง “ต้นทุนด้านการเงิน” ชึ่งเป็นความอุปสรรคต่อการขยายธุรกิจ, เป็นอันดับที่ 2 เรื่อง “การ
ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน”, ที่ 5 เรื่อง “ การขาดแคลนเงินทุนระยะยาว” ที่ 9 เรื่อง “จำนวนแรงงานที่มีทักษะ”
39% ของเจ้าของธุรกิจกังวลเรื่อง “ต้นทุนด้านการเงิน” ชึ่งเป็นความอุปสรรคต่อการขยายธุรกิจ, 39% กังวลเรื่อง “การขาดแคลนเงินทุน
หมุนเวียน” , 32% กังวลเรื่อง“ การขาดแคลนเงินทุนระยะยาว”และ 37% กังวลเรื่อง “จำนวนแรงงานที่มีทักษะ”
34% กังวลเรื่อง กฎเกณฑ์และความล่าช้า และเกือบครึ่งหนึ่ง (44%) กังวลเรื่อง ยอดสั่งชื้อลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลดลงจากการเพิ่มขึ้นของ
การแข่งขันภายในปนะเทศ
การมีส่วนร่วมของนานาชาติในจีน (International engagement with Mainland China) ได้ทำการสอบถามบรรดาเจ้าของธุรกิจทั่วโลก เรื่องผลกระทบ
จาก การบูมของเศรษฐกิจในจีน ต่อธุรกิจของตนเอง นักธุรกิจจากกลุ่ม 12 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากยุโรปบอกว่า ไม่ได้รับผลกระทบ แต่อีก 13 ประเทศ ได้
รับผลกระทบในทางบวก
ตารางที่ : ผลกระทบจาก การบูมของเศรษฐกิจในจีน ต่อธุรกิจของตนเอง (เปอร์เซ็นต์ บาลานซ์ *)
ธุรกิจดีขึ้น ส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบ ธุรกิจแย่ลง
53 ฮ่องกง 7 แคนาดา -9 โปแลนด์
22 มาเลเซีย 1 ไอร์แลนด์ -16 ตุรกี
19 ออสเตรเรีย 1 อังกฤษ -31 บอสวานา
19 อเมริกา 0 กรีซ -39 ไทย
15 อินเดีย -2 ลักซ์เซมเบอร์ก
15 สิงคโปร์ -2 รัสเซีย
13 เนเธอร์แลนด์ -4 ญี่ปุ่น
13 ฟิลิปปินส์ -4 ไต้หวัน
12 เยอรมัน -6 ฝรั่งเศส
10 เม็กซิโก -6 สเปน
10 สวีเดน -7 แอฟริกาใต้
9 อาร์เจนตินา -7 อิตาลี
8 นิวซีแลนด์
*บาลานซ์คือจำนวนต่างระหว่างสัดส่วนธุรกิจที่ดีขึ้น กับ ธุรกิจที่แย่ลง
ที่มา : Grant Thornton International Business Owners Survey 2006
ผู้ตอบการสำรวจจากประเทศไทยแสดงทัศนในแง่ลบมากที่สุดต่อเรื่อง การบูมของเศรษฐกิจในจีน ซึ่งเป็นในด้านลบมากที่สุดในประเทศเพื่อนบ้าน
เช่น สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ ซึ่งล้วนได้รับผลดีทางเศรษฐกิจจากการบูมของเศรษฐกิจในจีนนี้
ปีเตอร์ วอคเกอร์, หุ้นส่วน แกรนท์ ธอนตัน ประเทศไทย , ให้ความเห็นว่า จากงานวิจัยบ่งชี้ว่าผู้นำทางธุรกิจไทยจำเป็นต้องใช้ความพยายาม
มากขึ้นในด้านกลยุทธ์ต่อการบูมของจีน ขณะที่ผู้นำทางธุรกิจไทยบางกลุ่มมองว่าเป็นโอกาสอันดี มากว่าจะเป็นภัย นักธุรกิจหลายคนเห็นว่าธุรกิจของตนแย่
ลง เป็นผลโดยตรงจากการเติบโตของจีน เห็นได้ชัดว่าจีนจะรักษาสถานการณืนี้ต่อไป, ดังนั้นธุรกิจไทยต้องเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันให้ทันกับข้อดีข้อ
เสียของจีน
เมื่อถูกถามว่า จีนเป็นประโยชน์หรือภัย ต่อธุรกิจ, 35% ของนักธุรกิจไทยตอบว่าเป็นประโยชน์ และ 22% ตอบว่าเป็นภัย ข้อคิดสำหรับ
ประเทศไทยคือ จงมุ่นมั่นไปที่โอกาส และพร้อมรับมือกับผลกระทบแง่ลบ
การค้าระหว่างประเทศกับจีน(International trade with Mainland China)
การเติบโตของจีนในสายตาการค้านานาชาติ เห็นได้ชัดว่าประมาณ 1/5 ของธุรกิจในโลกต่างนำเข้ามาจากจีน จากการสำรวจ, ธุรกิจทั่วโลก 14% ส่ง
ออกมาที่จีน ที่ไต้หว้น, อเมริกา, เยอรมัน, อิตาลี ตัวเลขขึ้นมาถึง 20% จากผลสำรวจ จีนเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศเป้าหมายการส่งออก เปรียบเทียบกับ
ลำดับ 6 ในปี 2003
การสำรวจเปิดเผยว่า 1ใน 10 ของธุรกิจทั่วโลก ได้ใช้สินค้าหรือแรงงานจากต่างประเทศ ฮ่องกงได้ใช้มากที่สุด ( 26% ของธุรกิจ) ตามด้วยอมริ
กา (18%) แหล่งแรงงานหรือสินค้าที่สำคัญในโลกก็คือ จีน 1ใน 3 หรือ 31% ของผู้ตอบการสำรวจได้ย้าย หรือเตรียมการย้ายการดำเนินงานแล้ว ประเทศถัดไป
คือ อินเดีย (27%) ผู้ตอบการสำรวจน้อยกว่า 4% พิจารณาประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าหรือแรงงาน
ปีเตอร์ วอคเกอร์ สรุปว่า ประเทศไทยรวมถึงบรรดาบริษัทเอกชน ต้องพิจารณาอย่างจริงจังถึงความสัมพันธ์ กับจีน และสถานการณ์เศรษฐกิจใน
ปัจจุบัน ประเทศไทยต้องมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันหลายอย่าง ซึ่งเหล่านี้จะช่วยผลักดันให้มีข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจ, ส่งเสริมการส่งออก, ส่งเสริม
ความร่วมมือ และ โอกาสในการเป็นแหล่งผลิตสินค้าหรือแหล่งแรงงาน ตัวอย่างเหล่านี้รวมถึง บริการด้านการแพทย์, การศึกษา, พืชผลการเกษตร, การ
ท่องเที่ยว ทางเรา แกรนท์ ธอนตัน ขอแนะนำให้บรรดาบริษัทไทย พิจารณาอย่างจริงจังในเรื่องการปรับกลยุทธ์ในการแข่งขันกับจีน
โน๊ตถึงบรรณาธิการ
*บาลานซ์คือจำนวนต่างระหว่างสัดส่วนธุรกิจที่มีทัศนคติในเชิงบวก(optimistic) กับ ธุรกิจที่มีทัศนคติในเชิงลบ(pessimistic) หรือ
ระหว่างสัดส่วนธุรกิจที่ดีขึ้น กับ ธุรกิจที่แย่ลงเป็นครั้งแรกที่ ได้รวมประเทศจีนเข้าไว้ในการสำรวจ นับว่าเป็นการปฏิวัติการทำการสำรวจแนวใหม่
ด้วยการใช้ข้อมูลจาก 300 บริษัท ซึ่งเลือกจากทั่วประเทศ และจำเป็นต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลจีนก่อนนำมาใช้
บันทึกถึงบรรณาธิการ
The Grant Thornton International Business Owners Survey (IBOS) ได้ทำการสำรวจบรรดาเจ้าของธุรกิจกว่า 7,000 รายจาก 30 ประเทศ
ในระหว่างปี 2548 ที่ผ่านมา IBOS เริ่มต้นขึ้นในปี 2545 ต่อเนื่องจาก European Business Survey (EBS) ซึ่ง Grant Thornton ดำเนินการ
ตั้งแต่ปี 2536 ถึง 2544 โดยมีการทำการวิจัยโดย Experian Business Strategies Limited และ Harris Interactive
ข้อมูลเกี่ยวกับ Grant Thornton International
Grant Thornton International เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีบริษัทสมาชิกซึ่งมีเครือข่ายทั่วโลกแต่ละประเทศมีเจ้าของและดำเนินการโดย
อิสระจากกัน
ข้อมูลเกี่ยวกับ Grant Thornton ประเทศไทย
Grant Thornton ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่ให้บริการด้านวิชาชีพชั้นนำในประเทศไทย ได้จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย
ตั้งแต่ปี 2534 ให้บริการให้คำปรึกษาทางด้าน IT และธุรกิจ ระบบการบัญชี การตรวจสอบบัญชีและการตรวจสอบภายใน การวางแผนด้านภาษีภายในประเทศและ
ระหว่างประเทศ การให้คำปรึกษาด้านการเงินของบริษัท การปรับโครงสร้างหนี้และการปรับโครงสร้างองค์กร การจัดหาผู้บริหาร การวางแผนผู้สืบทอด
ธุรกิจและผลตอบแทน
ท่านสามารถเข้าไปในเว็บไซต์ www.gt-thai.com เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทของเรา
กรุณาติดต่อบุคคลด้านล่างนี้เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
ในกรุงเทพฯ
ปีเตอร์ วอร์คเกอร์ หรือนนทกร กิจธนไพศาล Grant Thornton ประเทศไทย
โทร. 02-654-3330 หรือ perer,walker@gt-thai.com
หรือในลอนดอน
นัน วิลเลี่ยมส์ หรือ เกรก มัวร์ Grant Thornton International Press Office
โทร. 0870 420 3256 / 07774 518 หรือ gti@fourple.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ